กระหึ่มโลกเมื่อฟิลิปปินส์ประกาศไม่ต้องการเป็น“ลูกไล่”(A little brown brother)ของอเมริกาอีกต่อไป คำพูดดูถูกเหยียดหยามนี้เป็นมาอย่างไร
นายร้อดริโก้ ดูเตอร์เต้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์
ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์ประกาศชัดเจนไม่ต้องการ เป็น“ลูกไล่”ของอเมริกาอีกต่อไป เริ่มจากด่าทูตสหรัฐประจำมะนิลาเป็นเกย์และลูก...(son of a whore) ตามด้วยด่าบารัค โอบามาว่าเป็น“ลูก...” (son of a bitch)
จากนั้นประกาศขับไล่ทหารอเมริกันออกจากเกาะมินดาเนา สั่งให้รัฐมนตรีกลาโหมพิจารณาซื้ออาวุธจากจีนและรัสเซียแทนซื้อจากสหรัฐ ล่าสุดรัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์บอกว่าสหรัฐอย่าคิดว่าฟิลิปปินส์ เป็น“ลูกไล่”(A little brown brother)ของอเมริกา แสดงให้เห็นว่าฟิลิปปินส์ต้องการสลัดแอกออกจากสหรัฐแท้จริง
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2016 ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการต่างประเทศ (the Center for Strategic and International Studies = CSIS) แห่งกรุงวอชิงตันดีซีได้เชิญนายเพอร์เฟคโต้ ยาเซย์ จูเนียร์ (Perfecto Yasay, Jr.) รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐไปพูดในโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อให้ผู้ ฟังได้ซักถามเกี่ยวกับนโยบายของประธานาธิบดีร้อดริโก้ ดูเตอร์เต้ ที่มีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
นายเพอร์เฟคโต้ ยาเซย์ จูเนียร์ ได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีดูเตอร์เต้ให้เป็นรัฐมนตรีต่างประเทศเมื่อ วันที่ 30 มิถุนายน 2016 ก่อนหน้านี้เคยเป็นประธานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ระหว่างปี 1995-2000 ภายใต้ประธานาธิบดีฟิเดล วี. รามอส พื้นฐานของนายยาเซย์เป็นนักกฎหมายเชี่ยวชาญในกฎหมายองค์กร(corporate law )และกฎหมายตลาดหลักทรัพย์
คาดว่าหลังจากพูดที่วอชิงตันดีซีแล้วเขาจะเข้าร่วมประชุมสามัญประจำปีองค์การสหประชาชาติที่นิวยอร์ก เหมือนประเทศสมาชิก UN อื่นๆที่ทยอยเดินทางไปประชุมในช่วงเดือนกันยายน
นายยาเซย์เปิดฉากด้วยการเตือนว่าสหรัฐจะต้องไม่มองฟิลิปปินส์เหมือนเป็น“ลูกไล่” (a little brown brother)ของสหรัฐอยู่ร่ำไปและจะต้องไม่มาเลกเชอร์เรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย “ผม อยากจะขอร้องเพื่อนอเมริกัน,ผู้นำอเมริกัน มองเห็นปณิธานของเรา เราไม่อาจเป็นลูกไล่ (น้องคนเล็ก)ของอเมริกา....เราจะต้องพัฒนาประเทศ เราจะต้องเติบโตและกลายมาเป็นพี่ใหญ่ในหมู่ประชาชนของเราเอง”
“คุณจะต้องแก้ไขให้ถูกต้อง คุณไม่จำเป็นต้องไปฟิลิปปินส์แล้วก็พูดว่า “ผมจะให้บางอย่างแก่คุณ ผมจะช่วยให้คุณเติบโต เรื่องนี้เป็นสิ่งที่คุณจะต้องรับฟังและทำตาม....เราจะเลกเชอร์คุณเรื่องสิทธิมนุษยชน” สำนักข่าวรอยเตอร์โค้ดคำพูดของนายยาเซย์
ยาเซย์กล่าวว่ารัฐบาลกรุงมะนิลายึดมั่นในพันธะที่จะเป็นมิตรกับอเมริกาในระยะยาว แต่จะไม่ยอมให้ใครมาสอนเรื่องสิทธิมนุษยชนรวมทั้งจะ
ไม่ยอมให้ฟิลิปปินส์ถูกปฏิบัติราวกับเป็น “ลูกไล่” หรือเป็น“น้องคนเล็กของสหรัฐฯ”ในเอเชีย
ประเด็นที่ประธานาธิบดีดูเตอร์เต้โมโหก็คือนโยบายของเขา จะปราบปรามกลุ่มค้ายาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรม เหมือนที่เขาเคยทำมาอย่างสงบราบคาบในเมืองดาเวาที่เขาเป็นนายกเทศมนตรีมา นานกว่า 20 ปี แต่เมื่อเขาลงมือทำก็ถูกสหรัฐอเมริกา,องค์การสหประชาชาติและกลุ่มสิทธิมนุษย ชนออกมากล่าวประณามว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีการทำวิสามัญฆาตกรรม ดูเตอร์เต้ตอบกลับว่าไปห่วงอะไรกับคนค้ายาเสพติด ทำไมไม่ห่วงประชาชนที่ถูกยาเสพติดฆ่าไปมากมาย
หลายองค์กรเป็นห่วงเรื่องสิทธิมนุษยชนมากกว่าเรื่องการระบาดของยาเสพติด ดังนี้
หน่วยงาน UNODC ด้านยาเสพติดของ สหประชาชาติ กล่าวว่า ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากมาตรการของเจ้าหน้าที่ฟิลิปปินส์สร้างความกังวลอย่าง มาก และเจ้าหน้าที่สหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนเคยเรียกร้องให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ และตำรวจยุติการทำวิสามัญฆาตกรรม
กลุ่ม Human Rights Watch ทำงาน ด้านสิทธิมนุษยชน กล่าวว่ารู้สึกตระหนกเมื่อเห็นการใช้อำนาจในทางที่ผิดของตำรวจฟิลิปปินส์ เพราะตำรวจไม่ได้ทำตามแนวทางการปฏิบัติขั้นพื้นฐาน เช่น ออกหมายจับ หรือหมายค้นตามที่ควรจะเป็น ขณะที่ตำรวจฟิลิปปินส์โต้กลับข้อกล่าวหานี้ว่า หากมีเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุจะถูกสอบสวน
นโยบายของฟิลิปปินส์ที่นายดูเตอร์เต้และนายยาเซย์กล่าวพอสรุปได้ว่า
1.ต้องการรักษาสถานะพันธมิตรกับอเมริกา รวมถึงกับประเทศอื่นๆ
2.ฟิลิปปินส์ต้องการรักษาความสัมพันธ์ด้านกลาโหมกับ สหรัฐฯ แต่ไม่ต้องการเข้าร่วมการซ้อมลาดตระเวนกับอเมริกาในน่านน้ำของทะเลจีนใต้ ที่มีความขัดแย้งกับจีน
3.ฟิลิปปินส์ไม่ต้องการให้สหรัฐมาสั่งสอนเรื่องสิทธิมนุษยชน (เพราไม่ใช่ธุระ)
4.สหรัฐอาจถูกห้ามไม่ให้เข้าไปใช้ฐานทัพในฟิลิปปินส์ ซึ่งปัจจุบันสหรัฐเข้าได้ถึง 5 แห่งตามสัญญาที่ลงนามกันไปเมื่อปี 2014 สมัยที่นายอากีโนเป็นประธานาธิบดี
กรณีนี้อาจเป็นเพราะในช่วงปี 1898-1946 ฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมของสหรัฐฯ แม้ว่าจะประกาศเอกราชแล้วก็ตาม สหรัฐยังถือ“วิสาสะ”ใน ฐานะเป็นประเทศเมืองขึ้นมาก่อนจะกระทำการอันใด รัฐบาลฟิลิปปินส์ในอดีตก็ไม่มีใครลุกขึ้นมาคัดค้านหรือลุกขึ้นหือ สหรัฐเองจึงยังมองว่าฟิลิปปินส์เป็น“น้องคนเล็ก”หรือนัยยะของคนไทยก็คือเป็น“ลูกไล่”ของตนอยู่ร่ำไป
คราวนี้มาดูคำว่า little brown brother เป็นมาอย่างไร
คำนี้เป็นคำแสลงที่คนอเมริกันใช้กับคนฟิลิปปินส์ในช่วง ที่สหรัฐเข้าครอบครองเป็นอาณานิคมระหว่างปีค.ศ.1898-1946 หลังจากมีการทำสนธิสัญญาปารีสระหว่างสเปนกับสหรัฐ (สเปนเป็นเจ้าอาณานิคมฟิลิปปินส์มาก่อน)และหลังสงครามสหรัฐ-ฟิลิปปินส์
คำพูด little brown brother เป็นคำพูดของนายวิลเลียม ฮาวเวิร์ด ทาฟท์ (William Howard Taft) ผู้ว่าการทั่วไปฟิลิปปินส์คนแรกหรือผู้ปกครองอาณานิคมระหว่างปี 1901-1904 ต่อมานายทาฟท์เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 27 คำพูดนี้เป็นเหมือนการ“ดูถูกเหยียดหยาม”คนฟิลิปปินส์โดยตรง ความหมายของนายทาฟท์ได้รับการอธิบายในหนังสือ Benevolent Assimilation ระบุ ว่า นายทาฟท์ให้ความมั่นใจกับประธานาธิบดีแมคคินลีย์(ประธานาธิบดีสหรัฐสมัย นั้น) ว่าน้องชายคนเล็กผิวสีน้ำตาลคนนี้ต้องการให้เราเข้าปกครองระหว่าง 50 ถึง 100 ปีเพื่อที่จะได้พัฒนาพื้นฐานทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยและให้มีทักษะทาง การเมือง (Anglo-Saxon political principles and skills) ทำให้ทหารอเมริกันที่ประจำอยู่ในฟิลิปปินส์ตอบรับคำพูดนี้ด้วยความยินดี
เมื่อปี 1961 หนังสือชื่อ Little Brown Brother กล่าวถึงสหรัฐเข้าครอบครองฟิลิปปินส์ด้วยการซื้อหมู่เกาะนี้ครบรอบ 100 ปี ต่อมาในปี 1962 หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล Francis Parkman Prize โดยสมาคมประวัติศาสตร์อเมริกันว่าเป็นหนังสือดีที่สุดเล่มหนึ่งในแง่ของการเขียนบันทึกประวัติศาสตร์อเมริกัน
ในปี 2001 หนังสือฉบับปรับปรุงได้เพิ่มเติมความโหดร้ายและป่าเถื่อนที่ทหารอเมริกันได้ กระทำต่อชาวฟิลิปปินส์ในช่วงสงครามฟิลิปปินส์-สหรัฐ ดังที่นายดูเตอร์เต้ได้นำภาพความป่าเถื่อนที่ทหารอเมริกันสังหารชาวมุสลิม ฟิลิปปินส์แล้วขุดหลุมฝังรวมกันโดยมีทหารอเมริกันยืนดูอยู่รอบๆปากหลุม ประเด็นนี้เองเราอาจตีความได้ว่านายดูเตอร์เต้ยังคงมีความเก็บกดและฝังใจที่ อเมริกันกระทำต่อบรรพบุรุษของเขา
คนอเมริกันมักจะดูถูกคนชาติอื่นๆด้วยการแยกผิวเช่นคนผิว ขาวจะประเสริฐสุด,ผิวดำยังเป็นทาส,คนเอเชียส่วนใหญ่จะถูกมองว่าเป็นคนผิว เหลือง,ส่วนคนผิวน้ำตาลดังเช่นคำว่า little brown brother นั้นมักจะใช้กับคนละตินอเมริกันหรือคนที่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศสเปนมาก่อน
ดังนั้นใครที่ยกย่องอเมริกันว่าเป็นนักสิทธิมนุษยชนดี เลิศประเสริฐศรีก็ให้ดูฟิลิปปินส์เป็นตัวอย่าง เหมือนพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ทรงเตือนไว้ว่า
ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส
เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย
เขาจะเห็นแก่หน้าค่าชื่อ จะนับถือพงศ์พันธุ์นั้นอย่าหมาย
ไหนจะต้องเหนื่อยยากลำบากกาย ไหนจะอายทั่วทั้งโลกา
โดย.....ประพันธ์ สานแสงทอง
คำพูดดูถูก Little Brown Brothers อีกนัยหนึ่งเป็นเมืองขึ้นที่สหรัฐเข้าไปครอบครองสหรัฐเข้าไปจัดระบบโรงเรียน Public School system เหมือนสหรัฐ จะต้องใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน สอนวิชาประวัติศาสตร์อเมริกัน (จึงทำให้คนฟิลิปปินส์พูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าคนชาติอื่นในละแวกเดียวกัน) ปัจจุบัน ระบบโรงเรียนของฟิลิปปินส์เพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์ฟิลิปปินส์และภาษาตากา ล้อกแก่นักเรียนด้วย ภาพการ์ตูนนี้แสดงให้เห็นว่าคนฟิลิปปินส์ยังป่าเถื่อน ถึงกับถูกออกกฎว่าห้ามเดินตามท้องถนนหากไม่สวมเสื้อผ้าให้เรียบร้อย