ดัชนีความเท่าเทียมทางเพศของเกาหลีใต้ ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์
วันนี้ [ตามเวลาท้องถิ่น] รัฐบาลเกาหลีใต้ประกาศว่า "ดัชนีความเท่าเทียมทางเพศแห่งชาติในปี 2023 อยู่ที่ 65.4 ลดลง 0.8 จากปีก่อน" และ "ถือเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 13 ปี นับตั้งแต่การสำรวจครั้งแรกในปี 2010"
กระทรวงความเสมอภาคทางเพศและครอบครัว ได้รวบรวมความเสมอภาคทางเพศโดยรวมของประเทศ โดยวัดอัตราความเสมอภาคในขอบเขตต่างๆของสังคม โดยอิงตามพระราชบัญญัติกรอบความเสมอภาคทางเพศ โดยที่ 100 หมายถึง "ความเสมอภาคอย่างสมบูรณ์ระหว่างสองเพศ" ตัวเลขในปี 2010 อยู่ที่ 66.1 และ เพิ่มขึ้นทุกปีเป็น 75.4 ก่อนที่จะมีการปรับปรุงดัชนีในปี 2021 ซึ่งใช้ระบบใหม่
ดัชนีแรกตามเกณฑ์ใหม่คือ 65.7 และ เพิ่มขึ้นเป็น 66.2 ในปีถัดมา ปี 2023 ถือเป็นครั้งแรกที่ ดัชนีความเท่าเทียมทางเพศระดับชาติ ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
เจ้าหน้าที่กระทรวงสังเกตว่า "ถึงแม้ว่าตัวเลขรายปี จะไม่เคยบันทึกการลดลง แต่การเปรียบเทียบตัวเลขปี 2020 กับตัวเลขความเท่าเทียมทางเพศในปีก่อนๆเป็นเรื่องยาก เนื่องจากระบบดัชนีเอง ก็ผ่านการปรับปรุงใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปี 2022
"การศึกษา" เป็นหมวดหมู่ที่มีคะแนนความเท่าเทียมทางเพศสูงสุด ในปี 2023 ที่ 95.6 รองลงมาคือ "สุขภาพ" ที่ได้ 94.2 รองลงมาคือ "รายได้", "การจ้างงาน" และ "การตระหนักรู้ถึงความเท่าเทียมทางเพศ" ที่คะแนน 79.4, 74.4 และ 73.2
หมวดหมู่ "การดูแล" ซึ่งครอบคลุมถึงการทำงานในบ้าน "การดูแลเด็ก" และการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว และ หมวดหมู่ "การตัดสินใจ" ได้รับคะแนนต่ำที่สุด โดยได้คะแนน 32.9 และ 32.5 ตามลำดับ
เกาหลีใต้พบว่าคะแนนด้านการตระหนักรู้ ถึงความเท่าเทียมทางเพศลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยลดลง 6.8 คะแนนเมื่อเทียบกับปีก่อน คะแนนด้านการตระหนักรู้ถึงความเท่าเทียมทางเพศในอคติ เกี่ยวกับบทบาททางเพศภายในครอบครัว ถือเป็นคะแนนที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดในกลุ่มย่อย โดยลดลงจาก 60.1 เหลือ 43.7 คะแนนภายในเวลาเพียงปีเดียว
เจ้าหน้าที่โต้แย้งว่า "เป็นเรื่องยากที่จะระบุสาเหตุที่แน่ชัดของการลดลง เนื่องจากหมวดหมู่นั้นถูกกำหนดโดยความคิดเห็นส่วนตัว ของผู้ตอบแบบสอบถาม พวกเขาสังเกตว่าการลดลงเล็กน้อยในหมวดหมู่การดูแล ซึ่งจาก 33 ในปี 2022 เป็น 32.9 ในปี 2023 อาจมาจากการปิดสถานดูแล และ การเรียนแบบออนไลน์ ในช่วงที่การระบาดของโควิดรุนแรงที่สุด แรงงานดูแลสตรีที่บ้านเพิ่มขึ้น รวมถึงความจริงที่ว่าผู้หญิงจำนวนมากขึ้น ใช้ระบบสนับสนุนการดูแลเด็กของรัฐ เช่น การลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร"
เชื่อกันว่าประเทศเกาหลีมีความก้าวหน้าอย่างมาก ในด้านความเท่าเทียมทางเพศในด้านการศึกษา โดยข้อมูลของสถาบันพัฒนาการศึกษาเกาหลี แสดงให้เห็นว่าผู้หญิงร้อยละ 76.9 ได้รับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งสูงกว่าผู้ชายร้อยละ 73.1 ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ผู้หญิงในประเทศนี้มีเปอร์เซ็นต์การศึกษา ในระดับสูงกว่าผู้ชายทุกปี
แต่การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่า "ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศอย่างรุนแรง ยังคงมีอยู่ในพื้นที่อื่น เช่น ช่องว่างค่าจ้างระหว่างชายและหญิงของเกาหลีใต้ ที่ 29.3 เปอร์เซ็นต์" ซึ่งถือเป็นช่องว่างค่าจ้างระหว่างชายและหญิง ที่สูงที่สุดใน 38 ประเทศสมาชิกของ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา...