นักวิชาการกฎหมาย ชี้ กรณีสมรักษ์ถูกกล่าวหาว่าอนาจารเด็กและพรากผู้เยาว์อายุ 17 ปี ต้องพิสูจน์ว่าสำคัญผิดหรือไม่
""_____ ถ้าเอาเฉพาะประเด็นว่า ""รู้ว่าอายุ 17 หรือไม่"" ถือว่าประเด็นนี้เป็นปัญหาข้อเท็จจริง ที่จะต้องมีการพิสูจน์ต่อศาล โดยทั่วไปแล้วในการฟ้องคดีประเภทนี้ #คำฟ้องของโจทก์ก็จะถือว่าได้บรรยายไว้แล้วโดยปริยาย ว่าจำเลยทราบถึงอายุของผุ้เสียหายแล้วว่าไม่เกิน 18 ปี
ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ว่า จำเลยไม่ทราบว่าผู้เสียหายอายุควาไม่เกิน 18 ปี จำเลยจะต้องนำพยานหลักฐานมานำสืบด้วย #และต้องนำสืบเสียตั้งแต่ศาลชั้นต้น จะมายกประเด็นนี้ขึ้นในศาลสูงมิได้ เพราะถือว่ามิใช่ข้อเท็จจริงที่ผ่านการว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 4147/2550,6632/2540,1514/2532)
สำหรับการอ้างว่าไม่รู้อายุของผู้เสียหายนั้น จะต้องอ้างในทำนองว่า
"" ..... เข้าใจหรือสำคัญผิดไปว่าผู้เสียหายอายุเกิน 18 ปีแล้ว #โดยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรประกอบด้วย จะอ้างลอยๆไม่ได้ .....""
(เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 5547/2550)
ในส่วนของเหตุผลที่จำเลยจะใช้อ้างนั้น จะต้องเป็นเหตุผลที่รับฟังได้ว่า #ทำให้จำเลยเข้าใจผิดในอายุของผู้เสียหายจริงๆ
>> ตัวอย่างที่ #พอฟังขึ้น ว่าจำเลยสำคัญผิด <<
- #ผู้เสียหายมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าเด็กวัยเดียวกัน จึงเชื่อว่าทำให้ำจเลยสำคัญผิดได้ (ฎ.6419/2537)
- ผู้เสียหายทำงานอยู่ในร้านอาหาร โดยร้านอาหารดังกล่าวมีป้ายแสดงไว้ว่า ห้ามบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าไปใช้บริการ เมื่อประกอบกับผู้เสียหายไม่ใช่ผู้เข้าไปใช้บริการ #แต่เป็นพนักงานอยู่ในร้านเลย จึงเชื่อว่าทำให้จำเลยสำคัญผิดในอายุได้ (ฎ.9285/2556)
- ผู้เสียหายเป็นพนักงานและ #ทำงานอยู่ในร้านนวดแผนโบราณ จึงเป็นเหตุให้จำเลยสามารถสำคัญผิดได้ว่า ผู้เสียหายอายุเกิน 18 ปีแล้ว (ฎ.8023/2549)
- ผู้เสียหาย #มีรูปร่างที่สมบูรณ์กว่าเด็กทั่วไป ทำให้จำเลยสำคัญผิดในอายุได้ (ฎ.6419/2537)
- ผู้เสียหายรูปร่างสูงใหญ่ #ผิวพรรณเมื่อดูจากภายนอกแล้ว ทำให้เข้าใจได้ว่าน่าจะอายุเกิน 18 ปี อีกทั้งผู้เสียหายยังทำงานเป็นเด็กเสริฟ์ จึงเชื่อว่าจำเลยสำคัญผิด (ฎ.11683/2556 , 19960/2555)
>> ตัวอย่างที่ #ฟังไม่ขึ้น ว่าจำเลยสำคัญผิด<<
- จำเลยรับราชการครูมาก่อน #เคยแต่งงานและมีบุตรมาก่อน ผ่านร้อนผ่านหนาวและมีประสบการณ์ในชีวิตมาก่อน ข้ออ้างว่าสำคัญผิดในอายุของผู้เสียหายจึงฟังไม่ขึ้น (ฎ.15239/2557)
- #ผู้เสียหายสูงกว่าเด็กวัยเดียวกันเล็กน้อย และจากภาพใบหน้าของผู้เสียหายก็พบว่ามีใบหน้าที่อ่อนวัยมาก ข้ออ้างของจำเลยที่อ้างว่าสำคัญผิดจึงฟังไม่ขึ้น (ฎ.12675/2555)
- จำเลยรู้จักกับผู้เสียหายอยู่แล้ว #เคยไปบ้านของผู้เสียหาย ดังนั้น แม้ผู้เสียหายจะมีรูปร่างโตกว่าเด็กวัยเดียวกัน แต่ก็เชื่อว่าจำเลยทราบดีว่าผู้เสียหายอายุไม่เกิน 18 ปี (ฎ.12675/2555)
ดังนั้น การที่ศาลจะเชื่อว่าจำเลยสำคัญผิดหรือไม่นั้น จำเลยจะต้องมีข้อเท็จจริงให้ศาลพิจารณาประกอบด้วย และข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานดังกล่าวนั้น ก็จะต้องทำให้ศาลเชื่อว่าทำให้จำเลยสำคัญผิดเช่นกัน หากพิสูจน์ได้จำเลยก็รอดในข้อหานี้ ถ้าพิสูจน์ไม่ได้จำเลยก็ไม่รอด
แต่ ADMIN ขออธิบายว่า แนวฎีกาเป็นเพียงตัวอย่างของคดีเท่านั้น จะนำมาเทียบเคียงกับคดีนี้ได้หรือไม่ ก็ต้องดูจากข้อเท็จจริงทั้งหมดทั้งปวง และไม่มีอะไรรับประกันทั้งสิ้นว่า ข้ออ้างต่างๆของจำเลยนั้นจะได้ผลหรือไม่ได้ผล #เป็นเรื่องที่ต้องวัดดวงเอาเอง _____""
#คดีโลกคดีธรรม
อ้างอิงจาก: fb คดีโลก คดีธรรม
















