หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

‘หลุมดำมวลยวดยิ่ง’ ยักษ์หลับใจกลางกาแล็กซี

โพสท์โดย SpiderMeaw
 
 
เอริน คารา นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ในเมืองคอลเลจปาร์ค รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่ากำลังดำเนินการศึกษาวิจัยการตรวจสอบพบปรากฏการณ์สำคัญทางด้านดาราศาสตร์ นั่นคือปรากฏการณ์หลุมดำขนาดยักษ์ใจกลางกาแล็กซีแห่งหนึ่งตื่นขึ้นจากสภาพหลับไหลกลืนกินดาวฤกษ์ดวงหนึ่งที่พลัดหลงเข้าไปในพื้นที่อิทธิพลแรงดึงดูดของมัน
 
โดยทั่วไปแล้วในแทบจะทุกกาแล็กซีจะมีหลุมดำขนาดยักษ์ที่มีชื่อทางวิชาการด้านดาราศาสตร์ว่า “หลุมดำมวลยวดยิ่ง” หรือ “ซุปเปอร์แมสซีฟแบล็กโฮล” ซึ่งเป็นชนิดของหลุมดำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจักรวาล หลุมดำชนิดนี้มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ศูนย์กลางของสุริยะจักรวาลมากถึงหลายล้านเท่าไปจนถึงหลายพันล้านเท่า ทำให้นักดาราศาสตร์ตั้งสมมุติฐานว่า พลังงานมหาศาลที่กระจายออกมาจากหลุมดำมวลยวดยิ่งนี้ สามารถส่งอิทธิพลสูงต่อวิวัฒนาการของกาแล็กซีแต่ละแห่งที่มันตั้งอยู่
 
แม้ว่าตามทฤษฎีแล้ว ไม่มีสรรพสิ่ง แม้แต่แสง สามารถเล็ดลอดออกมาเมื่อตกลงไปในใจกลางของหลุมดำได้ แต่มีความเป็นไปได้ที่วัตถุต่างๆ ซึ่งหมุนวนอยู่โดยรอบหลุมดำสามารถปลดปล่อยแสงออกมาโดยการแผ่รังสีทำให้นักดาราศาสตร์สามารถพบเห็นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่มีความเคลื่อนไหวรุนแรงในบริเวณปากหลุมดำที่มวลก๊าซและฝุ่นหมุนวนแผ่ออกเป็นลักษณะจานกลมเรียกกันว่า “แอคครีชั่นดิสก์” หรือ “จานสะสมมวล” นั้นสามารถก่อให้เกิดแสงสว่างเจิดจ้า หรือไม่ก็มีลำของมวลก๊าซและฝุ่นถูกเหวี่ยงหลุดออกมาด้วยความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสงให้สังเกตเห็นได้
 
ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงสามารถใช้เหตุการณ์การกลืนกินหรือการสะสมมวลดังกล่าวนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมและวิวัฒนาการของหลุมดำได้ อย่างไรก็ตามหลุมดำมวลยวดยิ่ง ที่เคลื่อนไหวหรือมีกิจกรรมเหล่านี้คิดเป็นเพียง 10 เปอร์เซ็นต์หรือน้อยกว่านั้น ในขณะที่อีก 90 เปอร์เซ็นต์ของหลุมดำมวลยวดยิ่ง จะอยู่ในสภาพสงบนิ่ง ไม่แสดงพฤติกรรมการกลืนกินหรือการสะสมมวลใดๆ ทำให้ไม่ก่อให้เกิดเหตุที่จะทำให้ตรวจพบและศึกษาหลุมดำเหล่านั้นได้
 
แต่บางครั้งเมื่อดาวบางดวงเคลื่อนเข้าใกล้หลุมดำขนาดยักษ์นี้มากจนเกินไปจนเผชิญกับแรงดูดเข้าไปเพื่อทำลายก่อให้เกิดการปะทะกันกับมวลเดิมในจานสะสมมวลทำให้เกิดประกายเจิดจ้าแผ่รังสีออกมา กลายเป็นโอกาสที่ช่วยให้นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับหลุมดำที่เป็นยักษ์หลับเหล่านี้ได้
 
เอริน คารา ชี้ว่า การศึกษาเหตุการณ์ดังกล่าวนี้อาจช่วยให้นักดาราศาสตร์เข้าใจหลุมดำทั้งหมดได้มากขึ้น และอาจช่วยไขความลับดำมืดที่ว่าหลุมดำในจักรวาลขยายตัวได้อย่างไรจนมีขนาดมหึมาดังกล่าวนี้ นอกจากนั้นยังต้องการทำความเข้าใจมากเป็นพิเศษว่า หลุมดำทั้งที่นิ่งสงบและกำลังตื่นอยู่นั้นมีอัตราการหมุนอย่างไร เพราะในขณะนี้มีแนวความคิดที่ขัดแย้งกัน 2 แนวทางที่ทำให้การคาดการณ์ถึงอัตราการหมุนแตกต่างกันออกไป
 
ทำให้เกิดความแตกต่างในเรื่องทฤษฎีการขยายตัวของขนาดของหลุมดำอีกด้วย
ขอบคุณที่มา: http://ufocia.blogspot.com/2016/06/blog-post.html
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
SpiderMeaw's profile


โพสท์โดย: SpiderMeaw
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
12 VOTES (4/5 จาก 3 คน)
VOTED: เอ๋ง ไม่ดัดจริต, ไทยเฉย, นางเบิร์ด
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ญี่ปุ่นได้รับเลือกให้เป็นประเทศที่ดีที่สุดในโลกอีกแล้ว!!หนุ่ม 15 ถูกแทง 50 แผล และ ถูกเผาทั้งเป็น ในเมืองมาร์กเซยอหิวาต์ระบาดหนักในไนจีเรีย ติดเชื้อเกินหมื่นและดับนับร้อย
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ด่วน! ไฟไหม้รถบัสนักเรียน ถนนวิภาวดี เสียชีวิต 23 ราย นายกฯ ยื่นมือช่วยค่ารักษา (คลิป)
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
รัฐฟลอริดาอ่วม ซากความเสียหายจากเฮอริเคนเฮลีน ยังเคลียร์ไม่ทันเสร็จ พายุลูกใหม่อย่างมิลตัน เตรียมเข้าถล่มอีกแล้วเด็กหญิงวัย 13 ปีเสียชีวิตหลังพลัดตกจากอาคารเรียนในกัวลาลัมเปอร์ พ่อโศกเศร้ากับการสูญเสียและตั้งคำถามช้างอาสา!ส่งเสบียงให้มนุษย์ในวิกฤตน้ำท่วม!เจ้าบ่าวชาวมาเลเซียจัดงานแต่งงานต่อแม้เจ้าสาวไม่ปรากฏตัว ทำให้ชาวเน็ตแสดงความเห็นใจ
ตั้งกระทู้ใหม่