เสนอห้ามนำผู้ต้องหาแถลงข่าว ชี้เป็นการละเมิดสิทธิฯ
เฟซบุ๊คจากเพจ จริยธรรมสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ได้เเชร์ ข้อมูลเกี่ยวกับ การรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน เพื่อ ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจงดการนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวในทางที่อาจเป็นการ ละเมิดสิทธิ และให้พิจารณาประเด็นประโยชน์สาธารณะอย่างเคร่งครัด อันจะเป็นการตัดต้นตอของปัญหาในการรายงานข่าวได้ และเพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อได้ทราบสิทธิของผู้ต้องหา องค์กรวิชาชีพสื่อ โดยมีเนื้อหาดังนี้
ไม่ต้องให้ผู้ต้องหาออกมาแถลงข่าว
.
5/9/59-0955> “น่าจะแถลงผลการดำเนินการเท่านั้น โดยไม่ต้องให้ผู้ต้องหามาออกแถลงข่าว” คือบันทึกของนายกรัฐมนตรี ต่อท้ายหนังสือที่ ยธ ๐๔๐๖/๕๘๔๕ ลงวันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง รายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน ระหว่าง ๒๓ - ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ลงนามโดยนางฐะปาณีย์ อาจารวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร มีไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม แล้วพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา รมว. ยุติธรรม ได้มีบันทึกต่อท้ายหนังสือไปยังพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อันเป็นที่มาของความเห็นข้างต้น
.
เรื่องเดียวกันนี้ องค์กรวิชาชีพสื่อเคยปรึกษาหารือกับผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติผ่านการ ประชุมรับฟังความคิดเห็น โดยมีนายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชน ร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจงดการนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวในทางที่อาจเป็นการ ละเมิดสิทธิ และให้พิจารณาประเด็นประโยชน์สาธารณะอย่างเคร่งครัด อันจะเป็นการตัดต้นตอของปัญหาในการรายงานข่าวได้ และเพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อได้ทราบสิทธิของผู้ต้องหา องค์กรวิชาชีพสื่อ
โดย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกันออกแนวปฏิบัติการได้มาและการนำเสนอข่าวและภาพข่าวของสื่อมวลชนโดยไม่ ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ตกเป็นข่าว
.
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่ในหมวด ๑ ผู้ปฏิบัติงานข่าว ข้อ ๑ ในการทำข่าวบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีอาญา (๑) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา และจำเลย (๒) ผู้ปฏิบัติงานข่าวพึงระมัดระวังการตั้งคำถามและกระทำการใด ๆ ในลักษณะชี้นำ กดดัน ซ้ำเติม หรือเป็นการดูถูกเหยียดหยามผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหา และจำเลย
.
บันทึกของนายกรัฐมนตรี คงจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้วิจารณญาณในการนำผู้ต้องหามาแถลงข่าวเคร่ง ครัดขึ้น และช่วยให้การละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องหาจากการรายงานข่าวและภาพโดย อ้างว่าตำรวจเป็นผู้นำมาแถลงข่าวลดน้อยลง
.
บรรยงค์ สุวรรณผ่อง
ประธานกรรมการจริยธรรมวิชาชีพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
กรรมการควบคุมจริยธรรม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
๕ กันยายน ๒๕๕๙
แหล่งที่มา: จริยธรรมสื่อวิทยุและโทรทัศน์
https://www.facebook.com/1538257479741342/photos/a.1538356943064729.1073741827.1538257479741342/1805415843025503/?type=3&theater
ภาพประกอบ(ผู้ต้องหา ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าว) จาก http://www.inv.p2.police.go.th/web/index.php/component/content/article/2-news/75-2011-12-08-07-59-06