วันนี้คุณทานส้มตำแล้วหรือยัง
หมวดหมู่: บทความสุขภาพทั่วไป
“วันนี้คุณทานส้มตำแล้วหรือยังค่ะ” ตั้งคำถามให้ผู้อ่านงงกันแน่ ๆ ว่า ทำไมเราถึงต้องทานส้มตำกัน ปฏิเสธไม่ได้นะคะว่า ปัจจุบันนี้ ‘ส้มตำ’ ครองโลกแล้วค่ะ เรามาดูกันดีกว่านะคะว่า ส้มตำนั้นให้คุณค่าอะไรกับร่างกายเราบ้างค่ะ
ทานส้มตำ จะได้คุณค่าทางอาหารอย่างไร ก่อนอื่นเรามารู้จักส่วนผสมของส้มตำกันก่อนดีกว่านะคะ ว่าในส้มตำ 1 จาน ที่เราทานนั้นมีพืชผักสวนครัวที่ให้คุณค่าอะไรกับเราบ้างค่ะ
-
มะละกอสับตามยาว : 1 ถ้วย ประมาณ 100 กรัม สรรพคุณของมะละกอ คือ มะละกอ ผลดิบ ต้มกินเป็นยาบำรุงน้ำยม ขับพยาธิ แก้บิด แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้ริดสีดวงทวาร ช่วยย่อยอาหาร ขับน้ำดี น้ำเหลือง
-
มะเขือเทศสีดา : 3 ลูก ประมาณ 30 กรัม มะเขือเทศมีรสเปรี้ยว เป็นผักที่ใช้แต่งสีและกลิ่นอาหาร ที่สำคัญช่วยระบายบำรุงผิว
-
มะละกอกสุก 1 ลูก ประมาณ 10 กรัม มะกอกนั้นมีรสเปรี้ยว ฝาด และหวาน แก้โรคธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ แก้บิด แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน ผลสุกของมะกอกทำให้ชุ่มคอและแก้กระหายน้ำ
-
พริกขี้หนูสด 10 เม็ด หรือ 15 กรัม (แบบนี้คงจะผัดนะคะ ผู้เขียนแค่เม็ดเดียวก็ร้องไห้แล้วค่ะ) รสเผ็ดร้อนของพริกขี้หนูจะช่วยเจริญอาหารขับลมและช่วยย่อย
-
กระเทียม 10 กลีบ หรือ 30 กรัม รสเผ็ดร้อนนิด ๆ ของกระเทียมนั้น ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยย่อยอาหาร แก้โรคผิงหนัง น้ำมันกระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อรา แบคทีเรียและไวรัส ลดน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในหลอดเลือด (สรรพคุณของกระเทียมครอบจักรวาลจริง ๆ นะคะ)
-
น้ำมะนาว 1 – 2 ช้อนโต๊ะ ประมาณ 30 กรัม สรรพคุณทางยาของมะนาวก็มีมากนะคะ เปลือกผลรสขมนั้น ช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยวแก่เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต
-
ผักแกล้มต่าง ๆ ได้แก่
-
ถั่วฝักยาว รสมันหวาน ช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
-
กะหล่ำปลี รสจืดเย็น กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุไฟ
-
ผักบุ้ง รสจืดเย็น ต้มกินใช้เป็นยาระบาย ทำให้อาเจียน เนื่องจากพิษของฝิ่นและสารหนู
-
กระถิน รสมัน แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด ถ่ายพยาธิ