ประวัติศาสตร์ที่ยังหายใจ: “เท้าดอกบัว” คนสุดท้ายของจีน
ประวัติศาสตร์ที่ยังหายใจ: “เท้าดอกบัว” คนสุดท้ายของจีน
ในปัจจุบันยังไม่มีการเปิดเผยจำนวนผู้หญิงจีนที่ถูกรัดเท้าซึ่งยังมีชีวิต อยู่ ตั้งแต่วิธีการที่แสนเจ็บปวดนี้ถูกยกเลิกไปเมื่อราว 100 ปีก่อน หญิงชรา 3 คนในตำบลหวงฉี เขตเหลียนเจียง มณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกของจีนจึงได้รับฉายาว่าเป็น “เท้าดอกบัวสามคนสุดท้ายของประเทศ” ซึ่งคำว่าเท้าดอกบัวใช้เรียกผู้หญิงจีนในสมัยโบราณที่มีเท้ารูปร่างผิดปกติ อย่างน่ากลัวนั่นเอง
การรัดเท้า (缠足) เริ่มได้รับความนิยมในสมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ.960-1276) ซึ่งเชื่อกัน ว่า “เท้าเล็ก” นั้นนับเป็นมาตรฐานความสวยงามของผู้หญิง จึงมีการรัดเท้าทั้งด้วยความสมัครใจและถูกบังคับ โดยเด็กผู้หญิงจะถูกรัดเท้าตั้งแต่อายุยังน้อย ถึงแม้ว่าเจ็บปวดขนาดไหนก็ตาม จนได้เท้าเล็กเป็นรูป “ดอกบัว” เห็นได้จากเท้าของหญิงชราทั้งสามที่ยาวเพียง 10 เซนติเมตรเท่านั้น
นับตั้งแต่ราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีนได้สิ้นสุดลงเมื่อต้นศตวรรษที่ 20 การรัดเท้าจึงเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ผู้หญิง จนเริ่มมีการลุกฮือของกระแสต่อต้านการรัดเท้าโดยผู้เรียกร้องสิทธิสตรีหรือ เฟมินิสต์ทั้งหลาย
หญิงชราวัย 92 ปีในรูปคือ “ตงจู่อิง” เธอเริ่มรัดเท้าเมื่ออายุได้ 4 ขวบ อาศัยอยู่กับครอบครัวที่มี 4 รุ่น โดยลูกชายที่แก่ที่สุดของเธออายุ 70 กว่าปี ในปัจจุบันมีร่างกายแข็งแรงและสามารถทำงานเย็นถักปักร้อยได้