หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

มองเขามองเรา: ระบบบริการสุขภาพ ประเทศญี่ปุ่น

โพสท์โดย ห่ะไรนะ

ระบบบริการสุขภาพ ประเทศญี่ปุ่น

 


.
ช่วงนี้มีข่าวเกี่ยวกับการปรับปรุงหลักประกันสุขภาพของไทย ผมจึงขออนุญาตเกาะกระแส เล่าเรื่องเกี่ยวกับระบบบริการสุขภาพของญี่ปุ่นบ้าง ความจริงแล้วผมเคยเล่าเรื่องนี้ไว้ในกระทู้พันทิพเมื่อนานมาแล้ว จะขอเก็บความมาเล่าซ้ำให้กระชับมากขึ้น
.
ระบบบริการสุขภาพของญี่ปุ่น ใช้ระบบประกันสุขภาพร่วมกับประชารัฐร่วมจ่าย พลเมืองและชาวต่างชาติที่พำนักในประเทศญี่ปุ่นในระยะยาวจะได้รับสิทธิเข้าสู่ระบบประกันสุขภาพของรัฐ จ่ายเบี้ยประกันมากน้อยแตกต่างกันไปตามรายได้และรูปแบบของประกัน
.
เมื่อเสียเบี้ยประกันแล้ว จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมทุกครั้งที่เข้ารับบริการ โดยเสียในอัตราส่วนร้อยละ 30 ของราคาเต็ม (หรือร้อยละ 20 สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ; หรือร้อยละ 10 สำหรับผู้มีอายุมากกว่า 75 ปีขึ้นไป) แต่หากไม่มีประกันสุขภาพก็จะต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเต็มอัตรา
.
ระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ตรงนี้เปิดโอกาสให้รัฐสามารถควบคุมราคายาและค่ารักษาพยาบาลได้ทั้งระบบ ผู้ที่มีประกันสุขภาพร่วมจ่ายเพิ่มเติมในอัตราที่ใกล้เคียงกันไม่ว่าที่ใด ส่วนต่างอีกร้อยละ 70 ที่เหลือ โรงพยาบาลสามารถเบิกได้จากรัฐเต็มจำนวน ซึ่งงบประมาณส่วนนี้คือเบี้ยประกันที่รัฐได้รับมาจากประชาชน
.
ถ้ามองในแง่เงินทุน จะเห็นว่าระบบประกันสุขภาพของญี่ปุ่นมีเงินทุนหมุนเวียนในระบบอยู่เสมอ จากประชาชนสู่รัฐ จากรัฐสู่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลกลับคืนสู่ประชาชนอีกที แต่ถ้ามองด้วยสายตาของคนไทยจะรู้สึกว่าประชาชนต้องรับภาระค่าใช้จ่ายสูง เพราะเราคุ้นเคยกับระบบสวัสดิการจากรัฐมากกว่านั่นเอง
.
ระบบสวัสดิการของไทย ดีตรงที่ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ฟรี เพียงแต่รัฐต้องหางบประมาณเข้าชดเชยค่ารักษาพยาบาลที่เสียไป ถ้ารัฐมีเงินมากพอก็คงไม่มีปัญหา แต่หากรัฐขาดเงินหมุนเวียน ระบบก็จะหยุดนิ่ง เพราะงานบริการสุขภาพเป็นระบบที่ต้องใช้เงินทุน การแก้ไขปัญหาเงินหมุนเวียนจึงเป็นภารกิจสำคัญ
.
ระบบบริการสุขภาพของญี่ปุ่นเป็นความร่วมมือกันระหว่างรัฐกับเอกชน ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับบริการในคลินิกเอกชนก่อนเสมอ จะเข้าโรงพยาบาลขนาดใหญ่ได้ก็ต่อเมื่อเกินกำลังของคลินิก มีใบส่งตัว หรือบาดเจ็บฉุกเฉินจนต้องเรียกรถพยาบาล ซึ่งก็ต้องผ่านการประเมินและเสียค่ารถพยาบาลเพิ่มเติม
.
จะเดินเข้าโรงพยาบาลเองอย่างในประเทศไทยไม่ได้ เพราะโรงพยาบาลสามารถปฏิเสธการรักษา ขืนเดินดุ่มๆ ไปขอยานอนหลับตอนตีสอง คงได้เดินกลับบ้านมือเปล่า
.
คลินิกเอกชนของญี่ปุ่นไม่ได้เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนใหญ่จะเปิดตามเวลาราชการ อาจจะมีคลินิกนอกเวลาบ้างนิดหน่อย หลายแห่งหยุดวันเสาร์อาทิตย์ และวันหยุดพิเศษอื่นๆ หรือแม้แต่โรงพยาบาลก็มีเวลาให้บริการที่แน่นอน ยกเว้นแผนกฉุกเฉินที่เปิดตลอด แต่ก็ต้องเรียกรถพยาบาลนำส่งอีกที
.
การเข้ารับบริการในโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่นจึงไม่ง่าย ถ้าเจ็บป่วยเล็กน้อยก็ให้เข้าคลินิกก่อน ถ้าคลินิกปิดก็ให้รอถึงเช้าแล้วค่อยว่ากัน หรือถ้ารอไม่ไหวก็เรียกรถพยาบาล แต่รถพยาบาลจะมารับหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าฉุกเฉินแท้หรือฉุกเฉินเทียม
.
การให้ผู้ป่วยเข้ารับบริการในคลินิกเอกชนก่อน ช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ครับ โรงพยาบาลในญี่ปุ่นจึงเป็นสถานที่ที่สงวนไว้สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการส่งตัวมา และผู้ป่วยฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาเร่งด่วนจริงๆ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวไทยที่เจ็บป่วยในญี่ปุ่น ข้อจำกัดนี้ทำให้รู้สึกขัดใจได้ง่ายๆ เหมือนกัน
.
คงต้องยอมรับว่า ระบบบริการสุขภาพของญี่ปุ่นแตกต่างจากไทย อาจจะตรงกันข้ามเลยก็ว่าได้ ระบบของญี่ปุ่นเป็นงานบริการเชิงพาณิชย์ ขับเคลื่อนด้วยเงินทุน ส่วนของไทยเป็นงานบริการเชิงอุดมการณ์ ขับเคลื่อนด้วยสวัสดิการจากรัฐสู่ประชาชน
.
ถ้าถามว่าระบบไหนดีกว่ากัน ผมเองก็ตอบไม่ได้ เพราะจริตของคนแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกัน คนญี่ปุ่นอาจรู้สึกดีที่ตนเองมีส่วนร่วมในระบบ ในขณะที่คนไทยอาจรู้สึกพอใจกับสวัสดิการฟรี เข้าถึงง่ายทุกชั้นชน อย่างนี้เป็นต้น
.
มีข้อน่าสนใจก็คือ ญี่ปุ่นเคยใช้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่คล้ายไทยมาก่อน เก็บค่ารักษาพยาบาลในสัดส่วนที่น้อยมาก เช่น ร้อยละ 5 ของราคาเต็ม แต่รัฐประสบปัญหาทางการเงินจนเดินหน้าต่อไม่ได้ จึงเปลี่ยนมาใช้ระบบปัจจุบัน
.
ส่วนระบบของไทยจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร เราจะรักษาระบบสวัสดิการไว้ได้หรือไม่ หรือจะต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผมคิดว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อยเลยครับ
.
รัตนาดิศร
29 ธันวาคม 2558
โอซะกะฟุ อิบะระกิชิ
.
ภาพ: โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโตเกียว ยามเช้า ถ่ายไว้เมื่อปลายปีที่แล้วครับ

ที่มา: ญี่ปุ่นโดยสังเขป : Japan in a Nutshell
https://www.facebook.com/JapanNutshell/photos/a.514361938718018.1073741828.514237958730416/575059759314902/?type=3&theater
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
ห่ะไรนะ's profile


โพสท์โดย: ห่ะไรนะ
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (4/5 จาก 5 คน)
VOTED: ท่านฮั่ว แม่ทัพฮั่วชวี่ปิ้ง, ginger bread, njack, โดราเอม่อน, The Little Devil
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รัฐจ่าย เช็คสิทธิผ่านเว็บ เงินดิจิทัล 10000 บาท เข้าวันไหน ทำง่ายมากช็อก!! เมื่อเยือนบ้านมหาเศรษฐี! อลังการเกินคาด เห็นชุดเพื่อนถึงกับอึ้ง ลบภาพจำจากละครรีวิวหนังดัง BAD BOYS RIDE OR DIE คู่หูขวางนรก ลุยต่อให้โลกจำ10 แคปชั่นคมๆ ที่เหมาะกับฤดูฝน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ชื่อเหมือนกันกับน้องปังปอนด์สุดยอดผลไม้สายสุขภาพ กับ “5 ประโยชน์ของทับทิม”
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
"พิศณุพงศ์“ หวั่นวิกฤตน้ำลำตะคองสวนทางน้ำท่วมเหนือ-อีสาน เร่งหาทางแก้ก่อนวิกฤตขาดแคลนน้ำ"เจ้าของร้านน้ำผลไม้ ผสมฉี่ลงในน้ำที่ขายนายกเลบานอนประณามการโจมตีครั้งใหญ่ของอิสราเอลยอดตายเจ็บในเลบานอนพุ่งไม่หยุด
ตั้งกระทู้ใหม่