นักวิชาการเตือน ! ฟองน้ำล้างจานเป็นแหล่งเชื้อโรค
ดร.วิชัย ศิริโชคชัย นักวิชาการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดเผยถึงอันตรายจากปริมาณแบคทีเรียที่พบในแผ่นใยขัดและฟองน้ำทำความสะอาด ภาชนะบรรจุอาหารและอุปกรณ์ประกอบอาหารว่า สิ่งที่ทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรียตกค้างบนแผ่นใยขัดและฟองน้ำ แท้ที่จริงแล้วเกิดจากการดูแลรักษา
และทำความสะอาดที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เกิดการเพาะบ่มของเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลล่า ที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับ ทางเดินอาหารต่างๆ อาทิ โรคอาหารเป็นพิษและโรคอุจจาระร่วง ซึ่งเมื่อนำแผ่นใยขัดและฟองน้ำไปทำความสะอาดภาชนะบรรจุอาหารและอุปกรณ์ ประกอบอาหาร ทำให้มีโอกาสเป็นไปได้สูงที่เชื้อแบคทีเรียจากแผ่น ใยขัดและฟองน้ำนั้นๆ อาจติดไปกับภาชนะ อีกทั้งสภาพอากาศของประเทศไทยที่เอื้อให้เกิดการเจริญเติบโตของเชื้อ แบคทีเรียได้ง่าย จึงยิ่ง ทำให้เกิดการแพร่กระจายและเพิ่มปริมาณแบคทีเรียได้อย่างรวดเร็ว
“วิธีการลดหรือทำลายเชื้อแบคทีเรียในแผ่นใยขัดล้างจานหรือฟองน้ำมีหลายวิธี ด้วยกัน แนะนำว่าควรทำหลังจากที่ผ่านการล้างทำความสะอาดภาชนะอุปกรณ์ต่างๆ มาแล้ว โดย 1) การใช้ความร้อน โดยนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวัน ล้างน้ำเปล่าให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดจัดทิ้งไว้อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง แต่วิธีนี้ก็ไม่สามารถเห็นผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ หากทำในช่วงเวลาที่ไม่มีแดด ส่วนอีกวิธีคือ 2)
การใช้ความเป็นกรด โดยนำกรดน้ำส้มหรือน้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำเปล่าครึ่งลิตร แล้วนำแผ่นใยขัดหรือฟองน้ำที่ผ่านการล้างภาชนะในแต่ละวันมาแช่ทิ้งไว้ค้าง คืน และเปลี่ยนน้ำส้มสายชูใหม่ทุกวัน ภาวะที่มีความเป็นกรดสูงนั้นจะช่วยให้สามารถลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ดัง กล่าวให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยแก่การบริโภคได้ และวิธีสุดท้ายก็คือ 3) การใช้ผลิตภัณฑ์ล้างจานที่มีส่วนผสมในการช่วยขจัดและป้องกันการเจริญเติบโต ของแบคทีเรียในแผ่นใยขัดล้างจานหรือฟองน้ำ ซึ่งให้ผลยับยั้งแบคทีเรียได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
อย่างไรก็ตาม วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียซัมโมเนลล่า รวมทั้งเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย คือ การดูแลรักษาบริเวณห้องครัวให้สะอาดและมีสุขอนามัยที่ดีอยู่เสมอ รวมทั้งการใส่ใจกับการทำความสะอาดฟองน้ำหรือแผ่นใยขัดล้างจาน ซึ่งแต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับว่าจะสะดวก
ใช้วิธีไหน ที่สำคัญ คือ ควรเน้นที่ความปลอดภัยและความมั่นใจของแต่ละบุคคล เพื่อให้ทุกคนในครอบครัวรวมทั้งผู้บริโภคในสถานประกอบการร้านอาหารทั้งที่ อยู่ในสถาบันการศึกษา และในร้านค้าต่างๆ ทั่วประเทศปลอดภัยห่างไกลจากโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร