รถพังยับ!! ความน่ากลัวของลูกเห็บที่ตกในแถบ จ. กุนมะ ของญี่ปุ่น
เพจ ครบเครื่องเรื่องญี่ปุ่น โพสต์เรื่องราวนี้ ในวันที่ 3 มิ.ย. ที่ผ่านมา
#ข่าวร้อนในญี่ปุ่น ⛈ ความน่ากลัวของลูกเห็บที่ตกเมื่อวานในแถบ จ. กุนมะ ของญี่ปุ่น
.
⛈ เมื่อวานนี้ 2 มิ.ย. ได้เกิดกลุ่มเมฆฝน ทางเหนือของคันโต โดยเฉพาะใน จ. กุนมะ และมีลูกเห็บตกหนักในพื้นที่โดยรอบ ในขณะที่มวลอากาศเย็นที่ -15°C หรือต่ำกว่า เคลื่อนที่เหนือพื้นดิน 5,500 ม. อุณหภูมิจะสูงขึ้นถึงประมาณ 30°C ใกล้พื้นดิน
.
⛈ เมฆพัฒนาอย่างรวดเร็วใน จ. กุนมะ เนื่องจากการปะทะกันของลมในทิศทางต่างๆ จากการสังเกตการณ์โดยเรดาร์ของ Weathernews ยืนยันว่ากลุ่มเมฆฝนที่อยู่ใกล้เมืองทาคาซากิ ได้พัฒนาตัวที่ระดับความสูงมากกว่า 10,000 เมตร
.
⛈ ภายใต้ก้อนเมฆนี้ ลูกเห็บขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางหลายซม. ได้ตกลงมากว่า 20 มม. ต่อชั่วโมง ทำให้เกิดฝนตกหนัก พร้อมลูกเห็บ ฟ้าแลบ ลมกระโชกแรง
.
👉 ลูกเห็บ Hail หรือ 雹 (เฮียว) ในภาษาญี่ปุ่น เป็นก้อนน้ำลักษณะเหมือนน้ำแข็ง เป็นส่วนหนึ่งของวัฏจักรของน้ำ โดยตกลงมาจากบรรยากาศในรูปของแข็ง มีรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากละอองหยาดฝนซึ่งเย็นแบบยิ่งยวด (ยังอยู่ในสภาพของเหลวที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง) ในเมฆฝน ปะทะกับวัตถุแข็ง เช่น ผงฝุ่น หรือ ก้อนลูกเห็บที่เกาะตัวอยู่ก่อนแล้ว และแข็งตัวเกาะรอบวัตถุนั้น ๆ เป็นก้อนลูกเห็บ ก้อนลูกเห็บนี้อาจลอยตัวก่อเป็นก้อนอยู่เบื้องบนเป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนจะตกลงมา เนื่องจากลมที่พัดพาอยู่เบื้องบน ดังนั้นลูกเห็บอาจเกาะตัวจนเป็นก้อนใหญ่มีน้ำหนักเกินกว่าที่ลมจะพัดให้ลอยอยู่ได้และตกลงมา
.
👉 ฝนลูกเห็บมักจะมากับ พายุฝนที่รุนแรง และมักจะมีอากาศเย็น โดยที่อุณหภูมิของชั้นอากาศที่อยู่สูงนั้นเย็นกว่าอากาศที่อยู่ต่ำมาก ลูกเห็บขนาดเล็กจะถูกพัดพาสะท้อนขึ้นลงอยุ่ระหว่างชั้นบรรยากาศที่อากาศเย็นและร้อน เนื่องจากการลอยตัวขึ้นของอากาศร้อนและแรงดึงดูดของโลก ลูกเห็บที่ลอยตัวอยู่นานก็จะมีขนาดใหญ่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ลูกเห็บขนาดใหญ่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในเขตที่มีอากาศร้อน เนื่องมาจากการลอยตัวขึ้นที่รุนแรงของอากาศร้อน และยังสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงฤดูร้อนอีกด้วย
.
👉 ลูกเห็บส่วนใหญ่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 มิลลิเมตร แต่บางทีอาจมีขนาดใหญ่ถึงหลายเซนติเมตรหรือใหญ่กว่านั้น ลูกเห็บขนาดเมล็ดถั่วจนถึงขนาดลูกกอล์ฟนั้นเป็นขนาดที่พบเห็นได้ทั่วไป เมื่อผ่าลูกเห็บออกจะเห็นชั้นหลายๆ ชั้นซ้อนกันอยู่ จำนวนชั้นบอกได้ว่าลูกเห็บนี้ถูกพัดขึ้นไปสูงขึ้นกี่ครั้ง โดยชั้นข้างในจะมีสีน้ำเงิน แล้วชั้นต่อไปสีจะจางลงเรื่อยๆ จนถึงสีขาว
.
อ้างอิงจาก: 🙏 ขอบคุณภาพจาก @KawasakiZXT20A
https://www.facebook.com/KrobkruengJAPAN/photos/pcb.2780404175432966/2780403485433035/





















