Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageราคาทองคำ
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน ราคาทองคำ กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เปิดภาพ เมืองบ้านเกิด สมเด็จพระราชินีสุทิดาฯ

โพสท์โดย NIXA

สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2521ณ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีพระนามเดิมว่า สุทิดา ติดใจ ครอบครัวของพระองค์เป็นชาวไทยเชื้อสายจีน พระราชบิดาชื่อ นายคำ ติดใจ และพระราชมารดาชื่อว่า คุณหญิงจั่งเฮียง ติดใจ

ทรงเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา จากนั้นจึงทรงเข้าศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ณ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จนจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2543




ต่อมาทรงเข้าเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท แจลเวย์ จำกัด เมื่อปี พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2546 และทรงเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อปี พ.ศ. 2546 – พ.ศ. 2551

อำเภอหาดใหญ่ ก่อตั้งโดยใช้ชื่อนี้มานานกว่า 102 ปี ซึ่งเป็นตำบลที่มีความพิเศษมากๆ นั่นคือ ตำบลบ้านพรุ เป็นตำบลตำบลแห่งนี้ถือว่าเป็นพื้นที่มีความเจริญรองจากตัวเมืองหาดใหญ่ก็ว่าได้และได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลเมืองเป็นแรกๆ ของจังหวัดสงขลา

 


ประวัติตำบลบ้านพรุและเทศบาลเมืองบ้านพรุ เทศบาลเมืองบ้านพรุ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เดิมมีสภาพเป็นพรุ บ้านพรุนับได้ว่าเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งตั้งชุมชนอยู่ในแถบลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภามาตั้งแต่สมัยโบราณ

แต่ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะนำมาอ้างอิงทางวิชาการได้ เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่เป็นเพียงการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่สืบต่อ ๆ กันมาหลายชั่วอายุคน




และเท่าที่ค้นพบหลักฐานตามบันทึกของนายสงค์ รักษ์วงศ์ อดีตกำนันตำบลบ้านพรุ ระบุว่าชื่อของตำบลบ้านพรุนั้นมีที่มาจากภูมิประเทศอันเป็นที่ตั้ง ซึ่งเมื่อก่อนมีสภาพเป็น พรุ กระจายอยู่ทั่วไป ปัจจุบันพรุก็ยังหลงเหลืออยู่ เช่น พรุพลี พรุค้างคาว เป็นต้น

ตามบันทึกระบุว่าสมาชิกคนแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบ้านพรุ คือ ตางกเง็ก ที่มีบ้านเดิมอยู่ที่ควนจง โดยเข้ามาบุกเบิกถางพงเพื่อสร้างบ้านเรือนเมื่อประมาณ 200 ปีก่อนเพราะพื้นที่ของบ้านพรุนั้นเหมาะสำหรับการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นการเพาะปลูก ทำไร่ ทำนา ทำสวน หรือการเลี้ยงสัตว์ ที่เหมาะกว่าควนจง ซึ่งเป็นที่ดอน




หลังจากตางกเง็กเข้ามาบุกเบิกระยะหนึ่ง ลูกหลานและเพื่อนบ้านแถบควนจง และใกล้เคียงย้ายถิ่นฐานเข้ามาปักหลักเพิ่มขึ้น จนกลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ และกลายเป็นหมู่บ้านและตำบลจนถึงปัจจุบันจากคำบอกเล่าต่อๆ กันมาบอกว่า เมื่อก่อนที่นี่ไม่มีกำนัน ไม่มีผู้ใหญ่บ้าน มีแต่ หัวบ้าน ต่อมาภายหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายปกครองท้องที่จึงได้มีการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านขึ้น ซึ่งมี นายบุญทอง ศรีสุวรรณโณ เป็นกำนันคนแรกของตำบลบ้านพรุ

ความเจริญของตำบลบ้านพรุ ที่มีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการขยายตัวของชุมชน พ.ศ.2508 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศตั้งตำบลบ้านพรุบางส่วนเป็นสุขาภิบาลบ้านพรุ ครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 มีเนื้อที่ 1.43 ตารางกิโลเมตร พ.ศ.2528 ได้ขยายเขตสุขาภิบาลบ้านพรุ ครอบคลุมอีก 4 หมู่บ้าน

 



คือหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 5 หมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 9 รวมพื้นที่ 12.15 ตารางกิโลเมตรสถานที่ที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดน้ำบ้านพรุ , บ้านศิลปินแห่งชาติครูนครินทร์ ชาทอง , วันป่าแสงธรรม และอื่นๆอีกมากมาย

โพสท์โดย: NIXA
อ้างอิงจาก: https://www.thaismiletopic.com/archives/112302
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
NIXA's profile


โพสท์โดย: NIXA
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
30 VOTES (5/5 จาก 6 คน)
VOTED: คำจันทร์, นางสาวสาระภี, อ้ายเติ่ง, โยนี มีเงิน, zerotype, มีร่า
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
10 พลังบวกจากเงิน ที่ต้องมอบให้กับตนเองไขความจริงเบื้องหลังต้นไม้ในพุทธประวัติ "ต้นสาละ" และ "ต้นโพธิ์"
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
แทคไม่ทน! โพสต์ถึง “ลูกพีช” หลังนั่งเก้าอี้ สท. คนแห่แชร์สนั่นลิลลี่เปิดใจ! ร้องไห้บนเครื่องบินเพราะแพนิคจริง ไม่ใช่สร้างคอนเทนต์“กินหญ้าหวาน?” กัน จอมพลัง ฟาดกลับคำพูดนายกฯเบี้ยว อันนี้คือคำชมเหรอสินเชื่อออมสินช่วงเปิดเทอมให้คนละ10,000
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน LinePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageราคาทองคำ
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง