หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ

โพสท์โดย นักล่าข่าว

เหตุจลาจลในพนมเปญ พ.ศ. 2546 เริ่มต้นขึ้นเมื่อบทความในหนังสือพิมพ์กัมพูชาฉบับหนึ่งกล่าวหาอย่างผิด ๆ ว่านักแสดงหญิงไทยคนหนึ่งอ้างว่านครวัดเป็นของประเทศไทยใน เดือน มกราคม พ.ศ. 2546 สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อวิทยุกัมพูชาอื่น ๆ ได้หยิบยกเอารายงานดังกล่าวและปลุกความรู้สึกชาตินิยมเพิ่มขึ้นไปอีกจนทำให้เกิดการจลาจลในพนมเปญเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 ซึ่งสถานทูตไทยถูกเผาและมีการปล้นสะดมทรัพย์สินของธุรกิจไทยในกัมพูชา เหตุจลาจลดังกล่าวสะท้อนถึงความสัมพันธ์ในประวัติศาสตร์ที่ไม่แน่นอนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา ตลอดจนปัจจัยทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมืองที่พัวพันกับทั้งสองประเทศ

- สาเหตุของการจลาจล -

หนังสือพิมพ์กัมพูชา รัศมี อังกอร์ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2546 มีเนื้อหากล่าวหาว่า น.ส.สุวนันท์ คงยิ่ง นางเอกหญิงชื่อดังของไทย ได้กล่าวว่ากัมพูชาได้ขโมยนครวัดไปจากไทย และกล่าวว่าเธอจะไม่เดินทางมากัมพูชาจนกว่านครวัดจะกลับคืนเป็นของไทย บรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ดังกล่าวได้อ้างแหล่งข้อมูลว่ามาจากเรื่องที่เขียนขึ้นโดยกลุ่มชาตินิยมเขมรผู้ซึ่งระบุว่าพวกเขามองเห็น สุวนันท์ ทางโทรทัศน์ ไม่มีหลักฐานสนับสนุนการกล่าวอ้างของหนังสือพิมพ์ดังกล่าว และดูเหมือนว่ารายงานดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ถูกแต่งขึ้นหรือเกิดขึ้นจากความเข้าใจผิดในสิ่งที่ตัวละครของสุวนันท์ได้กล่าวออกมา นอกจากนี้ ยังมีการระบุอีกว่า รายงานดังกล่าวมาจากกลุ่มคู่แข่งที่ต้องการสร้างความเสื่อมเสียแก่สุวนันท์ ผู้ซึ่ง "เป็นหน้าเป็นตา" ของบริษัทเครื่องสำอางแห่งหนึ่ง

รายงานดังกล่าวได้รับการหยิบยกขึ้นโดยวิทยุและสื่อตีพิมพ์เขมร ตลอดจนบทความของหนังสือพิมพ์รัศมี อังกอร์ได้รับการแจกจ่ายในโรงเรียน วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2546 นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน เซน ได้ย้ำการกล่าวหานี้ และกล่าวว่า สุวนันท์ "ไม่มีค่าเทียบได้กับใบหญ้าใกล้กับเทวสถาน" วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2546 รัฐบาลกัมพูชาสั่งห้ามรายการโทรทัศน์ไทยทั้งหมดในประเทศ

ต่อมา วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2546 ผู้ก่อการจลาจลได้โจมตีสถานทูตไทยในพนมเปญ ซึ่งได้ส่งผลให้อาคารดังกล่าวถูกทำลาย ม็อบยังได้โจมตีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของธุรกิจของคนไทย รวมทั้งการบินไทยและชินคอร์ป ซึ่งครอบครัวของทักษิณ ชินวัตรเป็นเจ้าของ ภาพถ่ายของชายชาวกัมพูชากำลังเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้สร้างความโกรธแค้นให้กับคนไทยจำนวนมาก มีการชุมนุมประท้วงนอกสถานทูตกัมพูชาในกรุงเทพมหานคร

ผู้รับผิดชอบสำหรับเหตุจลาจลดังกล่าวไม่แน่ชัด ฮุน เซ็น ถือว่าความล้มเหลวของรัฐบาลในการป้องกันเหตุจลาจลดังกล่าวเป็นเพราะ "ไร้สมรรถภาพ" และกล่าวว่าเหตุจลาจลดังกล่าวมีการปลุกปั่นยุยงโดย "กลุ่มหัวรุนแรง" ประธานสมัชชาแห่งชาติ เจ้านโรดม รณฤทธิ์ กล่าวอ้างว่า สม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านได้อยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีดังกล่าว ในขณะที่สม รังสี กล่าวว่าเขาพยายามป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง ในบริบทที่มีการข่มขู่และความรุนแรงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งได้รับการกระตุ้นจากฮุน เซ็น ในช่วงก่อนหน้าการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2546 หลายคนจึงเชื่อว่าเหตุจลาจลดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์เหล่านี้ที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม

หลังจากเกิดการจลาจลขึ้น รัฐบาลไทยได้ส่งเครื่องบินทหารไปอพยพชาวไทย รวมไปถึงนักการทูตทั้งหมดออกจากกัมพูชา และขับนักการทูตกัมพูชาออกนอกประเทศเพื่อเป็นการตอบโต้ พร้อมกับสั่งปิดพรมแดนของประเทศที่ติดกับกัมพูชา แต่ก็ห้ามไม่ให้ผ่านเฉพาะชาวไทยและชาวกัมพูชาเท่านั้น ได้มีการเปิดพรมแดนอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2546 หลังจากรัฐบาลกัมพูชาจ่ายเงิน 6 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นค่าชดเชยสำหรับสถานทูตไทยที่ถูกทำลายไป ในช่วงการชุมนุมประท้วงต่อต้านนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ใน พ.ศ. 2549 นักการทูตไทยที่มีอิทธิพลหลายคน รวมทั้งอดีตเอกอัครราชทูตประจำสหประชาชาติ อัษฎา ชัยนาม และอดีตเอกอัครราชทูตประจำเวียดนาม สุรพงษ์ ชัยนาม ได้กล่าวหาว่ามีการจ่ายค่าชดเชยจริงเพียงครึ่งเดียว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว รัฐบาลกัมพูชายังได้ตกลงว่าจะชดเชยธุรกิจไทยที่ได้รับความเสียหายด้วย โดยจะมีการเจรจาแยกต่างหาก

ไม่นานหลังเกิดเหตุจลาจล มีการจับกุมครั้งใหญ่มากกว่า 150 คน ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์โดยกลุ่มสิทธิมนุษยชน โดยชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลในกระบวนการและการปฏิเสธของทางการมิให้ดูสภาพที่คุมขังนักโทษ เจ้าของสถานีวิทยุบีไฮฟฟ์ มอม สุนันโธ และบรรณาธิการของรัศมี อังกอร์ ถูกจับกุมโดยไม่มีหมายศาล ถูกแจ้งข้อหายั่วยุให้ก่ออาชญากรรม ยั่วยุให้เกิดการแบ่งแยกและเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ในภายหลัง ทั้งสองได้มีการประกันตัวออกไปและไม่มีการพิจารณาคดีหลังจากนั้น

- แผน "โปเชนตง 1 - 2 " พาคนไทยกลับบ้าน -

เหตุการณ์ คอมมานโด-รบพิเศษ-บก.ลอยฟ้า และบทบาท"วิชิต ยาทิพย์"เจ้าหน้าหมู "เฮอร์คิวลิส" หรือเครื่องบินลำเลียง C-130 ของกองทัพอากาศ กลายเป็นพระเอกอีกครั้งในการเหินฟ้าไปรับคนไทยราว 700 คน ที่หนีไฟแค้นจากเกมการเมืองภายในเขมร จากกรุงพนมเปญ กลับบ้านอย่างปลอดภัย แต่กว่าที่ทุกอย่างจะออกมาอย่างสำเร็จและสวยงาม ดั่งฉากหน้า ก็ย่อมมีฉากหลังที่ต้องเตรียมการกันเป็นอย่างดี

ราว 4 ทุ่มของ วันพุธที่ 29 ธันวาคม ทันทีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี วางหู ภายในไม่กี่นาที ทั้ง บิ๊กอ้วน พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์ ปลัดกลาโหม บิ๊กแอ้ด พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผบ.สส. บิ๊กเกาะ พล.อ.สมทัต อัตตะนันทน์ ผบ.ทบ. บิ๊กช้าง พล.ร.อ.โสมาภา และบิ๊กบิ๊กพล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา ผบ.ทอ. ก็มาถึงทำเนียบรัฐบาลพร้อมด้วย พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ ประธานคณะที่ปรึกษา ทบ. และบิ๊กแบ็งค์ พล.ท.ประพาฬ นิลวงศ์ ผบ.ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรก.) และติดตามด้วย บิ๊กจิ๋ว พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง

พ.ต.ท.ทักษิณ นั่งหัวโต๊ะ หารือเครียดเป็นเวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ท่ามกลางเปลวเพลิงที่เผาผลาญสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ โรงแรมของคนไทยอย่าง รอยัล พนมเปญ, รีเจ้นท์ ปาร์ค และจูเลียน่า ไปจนถึงอาคารของ สามารถ เทเลคอม, ซีพี และชินวัตร และมอเตอร์ไซค์ไล่ล่าถามหาคนไทย ณ เวลานั้น ดูเหมือนจะมีเพียง พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชาเท่านั้นที่รับสาย ส่วนนายกฯ ฮุน เซน นั้น เก็บตัวเงียบ จึงมี พล.อ.วิชิตในฐานะเพื่อนรักเพื่อนซี้คอยโทรศัพท์ประสานกับพล.อ.เตีย บันห์ อยู่ตลอดเวลา แม้จะถูกมองว่ามีปัญหาคาใจกัน แต่ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็แต่งตั้งให้ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์นี้ โดยเฉพาะการรับคนไทยจากกัมพูชากลับประเทศแม้ใจจริงที่แสนจะร้อนเร่าของพ.ต.ท.ทักษิณ จะต้องการให้เครื่องบิน C-130 พร้อมคอมมานโดบินด่วนกลางดึกไปยังกรุงพนมเปญ ตามที่ตะโกนใส่หูนายกฯ ฮุน เซน เลยก็ตาม แม้จะถูกมองว่ามีปัญหาคาใจกัน

แต่ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็แต่งตั้งให้ พล.อ.สุรยุทธ์ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์นี้ โดยเฉพาะการรับคนไทย จากกัมพูชากลับประเทศ ในฐานะที่เคยเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในการแก้ไขปัญหากะเหรี่ยงก๊อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี เมื่อ 24 มกราคม 2542 มาแล้ว ครั้งนี้ พล.อ.สุรยุทธ์ ก็รับบทสำคัญอีกครั้ง ด้วยการวางแผนอย่างใกล้ชิดกับสามเหล่าทัพโดยมีการนำเอาแผนการเตรียมพร้อมในการอพยพนอกราชอาณาจักรที่มีอยู่แล้ว มาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ โดยใช้กำลังร่วมของทั้ง ทบ. ทร. และ ทอ. โดยมี บก.สส. เป็นผู้บัญชาการ ราว 23.00 น. แผนปฏิบัติการที่เรียกว่า "โปเชนตง 1 และ 2" ก็ได้รับการอนุมัติ พล.ร.อ.ทวีศักดิ์ สั่งให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ออกเดินทางมุ่งหน้าไปยัง จ.ตราด เพื่อไปลอยลำอยู่ในทะเลหลวงในเขตรอยต่อน่านน้ำไทย-กัมพูชา เพื่อรองรับสถานการณ์ที่อาจจะบานปลาย และรับคนไทยกลับบ้านในอีกเส้นทางหนึ่ง โดยบนเรือมีเครื่องบินขึ้นลงแนวดิ่ง AV-8 แฮร์ริเออร์, ฮ. แบบ Bell 412 ฮ. S-76B และ ฮ.ซีฮอว์ก รวม 7 ลำโดยมีเรือหลวงพุทธเลิศหล้าและเรือหลวงสุโขทัยตามไปเป็นเรือคุ้มกัน และสมทบกำลังกับเรือหลวงสู้ไพรี เรือหลวงศรีราชา และเรือ ต.82 ที่รออยู่ในน่านน้ำแล้ว

ส่วน พล.อ.อ.คงศักดิ์ก็สั่งการให้ น.อ.นิรันดร์ ยิ้มสรวล ผบ.บน.6 เตรียมเครื่องบินลำเลียง C-130 และให้ พล.อ.ท.สมหมาย ดาบเพ็ชร์ ผบ.หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน (ผบ.อย.) เตรียมกำลังหน่วยคอมมานโด ของกรมปฏิบัติการพิเศษ อย. จำนวน 80 คน และมอเตอร์ไซค์ลาดตระเวน 2 คัน นำทีมโดย น.อ.พีระยุทธ แก้วใส ผบ.กรมปฏิบัติการพิเศษ อย. ขณะที่ พล.อ.สุรยุทธ์ เลือกให้หน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว (RDF-rapid deployment forces) อันเป็นทหารรบพิเศษหมวกแดงของ ร.31 รอ.ลพบุรี ของผู้การโชย พ.อ.กัมปนาท รุดดิษฐ์ ผบ.ร.31 รอ.เตรียมกำลังหน่วยรบพิเศษแทรกซึม จำนวน 30 คน และรถลาดตระเวน ฮัมวี่ 4 คัน และรถมอเตอร์ไซค์ยุทธวิธี 2 คัน

เพียงแค่ 2 ชั่วโมงหลังจากได้รับคำสั่ง กำลังทหารรบพิเศษ พร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์จากลพบุรี ก็เดินทางมาถึงที่กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อสมทบกำลังของ อย. โดยที่ พล.อ.ต.สุเมธ โพธิ์มณี ผู้บังคับทหารอากาศดอนเมือง (ผบ.ดม.) รับผิดชอบการ รปภ. ในพื้นที่สนามบิน ห้ามไม่ให้คนนอกโดยเฉพาะสื่อมวลชนเข้ามา เนื่องจากไม่ต้องการให้เห็นภาพการนำกำลังรบ เพราะอาจจะดูเหมือนไปบุกรุกเพื่อนบ้าน โดยเปิดให้เข้าเมื่อเครื่องบินทะยานขึ้นฟ้าไปแล้ว

การประชุมวางแผนการปฏิบัติการตามแผน "โปเชนตง1" และ "โปเชนตง 2" ในรายละเอียด ก็เกิดขึ้นที่สนามบิน โดยมีเครื่องบิน G-222 จำนวน 1 ลำ และเครื่องบิน C-130 อีก 5 ลำเตรียมพร้อมรับคนไทยกลับบ้าน โดยมี พล.อ.อ.ระเด่น พึ่งพักตร์ ผบ.หน่วยบัญชาการยุทธทางอากาศ (ผบ.บยอ.) เป็นผู้บัญชาการการปฏิบัติตามแผน ที่ทำให้เขาได้กลับมาสวมชุดนักบินขับไล่อีกครั้ง โดยทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการกองบัญชาการลอยฟ้า บนเครื่องบิน G-222 ที่จะลอยลำอยู่กลางเวหา เหนือเกาะกง ของกัมพูชา เพื่อบัญชาการและติดต่อสื่อสารกับบิ๊กบ๊อบ พล.ท.อ.คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา รอง ผบ.บยอ. เป็นผู้บัญชาการภาคพื้น คุมเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ต้องลงจอด โดยมี พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ เป็นผู้ประสานงานติดต่อกัมพูชา อำนวยการเดินทางด้วยตนเองเพื่อรับคนไทยชุดแรก 511 คน กลับบ้านพร้อมด้วยคำสั่งให้เครื่องบิน F-16 ของกองบิน 1 โคราช เตรียมพร้อมสำหรับแผน "โปเชนตง" หากเกิดเหตุรุนแรงและฉุกเฉินขึ้นภายในไม่เกิน 20 นาที ก็จะถึงที่หมาย

เวลา 05.15 น. เครื่องบิน C-130 ลำแรกก็ทะยานขึ้นฟ้า มุ่งสู่สนามบินโปเชนตง กลางกรุงพนมเปญ ติดตามด้วยลำที่ 2, 3, 4, 5 ที่มีคอมมานโดและหน่วยรบพิเศษ กระจายกันอยู่ทุกลำ และตามด้วย G-222 ที่เป็น บก.ลอยฟ้า โดยมี พล.อ.สุรยุทธ์ และ พล.อ.อ.คงศักดิ์ มานั่งบัญชาการอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพอากาศ โดยตลอดแผน "โปเชนตง 1" เตรียมไว้สำหรับเหตุการณ์ปกติ โดยเครื่องบิน C-130 ทั้ง 5 ลำ ที่ลงจอดนั้น จะไม่มีการดับเครื่อง ในระหว่างนั้นหน่วยคอมมานโดและทหารรบพิเศษ รวม 110 คน พร้อมอาวุธครบมือ และเป้สนาม และรถฮัมวี่ ก็วิ่งลงจากเครื่องบิน ออกกระจายโดยรอบสนามบินโปเชนตง เพื่อรักษาความปลอดภัย ในขณะที่คนไทยก็ เรียงแถวตอน 1 ขึ้นเครื่อง โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจนับจำนวนแบบรวดเร็ว

ส่วนแผน "โปเชนตง 2" นั้น เตรียมไว้สำหรับเกิดเหตุรุนแรง เนื่องจากในค่ำนั้น มีการข่าวรายงานว่าม็อบในกรุงพนมเปญ ซึ่งรับชมข่าวและการรายงานสดทางโทรทัศน์ของไทยได้ล่วงรู้ว่ารัฐบาลไทยจะส่งเครื่องบินมารับคนไทย จึงมีแผนการซื้อน้ำมันเพื่อมาเผาโดยรอบสนามบิน ทำให้ พล.อ.วิชิต ต้องประสานกับ พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมกัมพูชา เพื่อนำกำลังทหารมาดูแลโดยรอบสนามบินโปเชนตงเอาไว้แต่กระนั้นหน่วยคอมมานโดและรบพิเศษก็ไม่ประมาท เตรียมพร้อมรับทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะอาจจะต้องถล่มพนมเปญ เพื่อช่วยคนไทยกลับบ้าน จึงไม่แปลกที่ทหารรบพิเศษและหน่วยคอมมานโดทุกคนจะมีเป้สนามติดหลังที่ไม่เพียงมีอาวุธและกระสุนเท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์ยังชีพเผื่อว่าจะต้องอยู่ในพนมเปญมากกว่า 1 วันโดยที่เครื่องบินรบบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร ที่ลอยลำรออยู่และเครื่อง F-16 ที่เตรียมพร้อมในที่ตั้งพร้อมจะมาสมทบ เพราะงานนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ไฟเขียวไว้แล้ว ให้ทำทุกอย่างเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของไทยแต่โชคดีที่งานนี้ไม่ต้องใช้แผน "โปเชนตง 2" เมื่อทุกอย่างเป็นไปอย่างเรียบร้อย โดยมี พล.อ.เตีย บันห์ รมว.กลาโหมเขมรที่พูดภาษาไทยคล่องปรื๋อ ส่งทหารมาดูแลสนามบินให้

จากเวลา 07.50 น.ที่เครื่องบิน C-130 ลำแรกกลับมาลงจอดที่สนามบินกองทัพอากาศดอนเมือง จนลำที่ 5 ในเวลา 09.30 น. และลำสุดท้าย G-222 บก.ลอยฟ้า ในเวลา 09.40 น. เสียงปรบมือก็ดังกระหึ่ม พร้อมด้วยการจับมือแสดงความยินดีกับความสำเร็จที่นำคนไทย 511 คนกลับบ้าน ชุดแรกโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ โดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ มารอรับด้วยตนเองจากนั้นในตอนบ่าย เครื่องบิน C-130 อีก 2 ลำ นำโดย พล.อ.วิชิต และทีมเดิมบินไปรับคนไทยที่ตกค้างอีก 192 คน รวมทั้งเอกอัครราชทูตไทย ผู้ช่วยทูตทหารไทย และเจ้าหน้าที่สถานทูตไทยทั้งหมดจากกรุงพนมเปญอีกครั้ง ก่อนกลับมาถึงอย่างปลอดภัยและความยินดีของญาติๆ พร้อมด้วยคำชื่นชมจากทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รมว.กลาโหม ในความพร้อมรบและศักยภาพของกองทัพไทย

ที่ส่งผลให้คะแนนนิยมของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่แสดงความเป็นผู้นำพุ่งขึ้นสูงอีกด้วยเช่นเดียวกับบทบาทของ พล.อ.วิชิต น้องรักของบิ๊กจิ๋ว ก็ถูกจับตามองในฐานะผู้ประสานงานกับกัมพูชาด้วยความสัมพันธ์ที่มีมานาน เพราะครั้งนี้เขาได้กลายเป็นดาวเด่นอีกดวง ด้วยความทุ่มเทเพื่อเคลียร์สถานการณ์ตั้งแต่เหตุการณ์เริ่มอุบัติขึ้น จนเหตุการณ์คลี่คลายไปในระดับหนึ่ง โดยใช้โทรศัพท์มือถือนับร้อยครั้ง ที่ปลายทางจะเป็น พล.อ.เตีย บันห์ เพื่อนรักที่เขาติดต่อพบปะอยู่บ่อยๆ จน นายฮุน เซน หวาดระแวงว่าวันหนึ่งไทยจะหนุน พล.อ.เตีย บันห์ ผู้ถือกำเนิดที่คลองใหญ่ จ.ตราด และเติบโตในเกาะกง คนนี้โค่นอำนาจของเขาก่อนหน้านี้ พล.อ.วิชิต ก็แสดงบทบาทในการแก้ปัญหาไทย-กัมพูชา รวมทั้งพม่า และมาเลเซียหลายครั้ง จนถูกจับตามองว่า ผลงานนี้จะส่งผลต่อโอกาสในการขั้นเป็น รอง ผบ.ทบ. หรือแม้แต่ ผบ.ทบ. ในการโยกย้ายปลายครั้งต่อไปหรือไม่

แม้ว่าตัว พล.อ.วิชิต เองจะทำไปด้วยจิตวิญญาณและความรับผิดชอบ มิได้หวังผลเรื่องตำแหน่งก็ตาม แต่ก็ได้รับคำชื่นชมแม้ปฏิบัติการครั้งนี้จะไม่มีคนไทยเสียชีวิตในเหตุจลาจล แต่ก็มีคนไทยบาดเจ็บจากการเอาชีวิตรอดถึง 8 คน แต่ในส่วนของ ทร. ก็ต้องสูญเสีย ร.ท.ธรรมเนียม โกษาจันทร์ ช่างเครื่องจากเหตุ ฮ. S-76B ตกที่จันทบุรี ในเย็นวันที่ 30 มกราคม ระหว่างที่บินส่งกำลังบำรุงให้เรือหลวงจักรีนฤเบศร ส่วนนักบินและช่างอีก 3 คน บาดเจ็บ

ขอบคุณที่มา:https://www.facebook.com/ThaiNewsOnline2017/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
นักล่าข่าว's profile


โพสท์โดย: นักล่าข่าว
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
52 VOTES (4/5 จาก 13 คน)
VOTED: toooooooootay, Nearvana, คืองี้แก, sound walker, เอ๋ง ไม่ดัดจริต, paktronghie, kareepup, zerotype, นักล่าข่าว, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
วิเคราะห์พฤติกรรม "บอย ปกรณ์" ขณะออกอากาศรายการดัง !!มัดแน่น! 6 บอส ดารา ดิไอคอนกรุ๊ป สู่เส้นทางผู้ต้องหา คดีฉ้อโกงสะเทือนวงการ! เหยื่อพุ่งเกือบ 800 รายกันยุงจากกระเทียมและน้ำส้มสายชู ใช้ประโยชน์จากพลังแห่งธรรมชาติได้ผลจริงไหมดราม่าร้อน ชาวพม่าล้อเลียนคนไทย ทำแฟนคลับงงเกิดอะไรขึ้นกันแน่อวสานหวยใต้ดิน เริ่มแล้ว เปิดขั้นตอนการซื้อหวย 3 หลัก กับกองสลาก ไม่มีเลขอั้น จ่ายเต็มทุกบิล มั่นคงปลอดภัย รัฐบาลเป็นประกันทำไมประเทศไทยถึงต้องสำรองทองคำไว้เยอะแยะมากมาย?ศรีราชา หรือ โอซาก้า ชาวญี่ปุ่นงง นึกว่าอยู่ญี่ปุ่น หลังมาเยือนศรีราชา เมืองญี่ปุ่นในไทยน้องสาวผู้นำเกาหลีเหนือ ขู่ตอบโต้เกาหลีใต้แล้ว!!"ปอบตาพวง" ปอบตนแรกที่ถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ พ.ศ.2435 (ร.ศ.111)เลขเด็ด "ม้าสีหมอก" งวด 16 ตุลาคม 67..วิ่งมาให้โชคแล้ว คอหวยอย่าพลาด!อิสราเอลสั่งอพยพทางตอนใต้ของเลบานอนเพิ่มเติมไฟเขียว! 23 การพนัน เล่นได้ ไม่ผิดกฎหมาย แต่มีเวลา ต้องรู้!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
วิเคราะห์พฤติกรรม "บอย ปกรณ์" ขณะออกอากาศรายการดัง !!กันยุงจากกระเทียมและน้ำส้มสายชู ใช้ประโยชน์จากพลังแห่งธรรมชาติได้ผลจริงไหมอิสราเอลสั่งอพยพทางตอนใต้ของเลบานอนเพิ่มเติมทำไมประเทศไทยถึงต้องสำรองทองคำไว้เยอะแยะมากมาย?แขวนพระเครื่องเสริมโชค ในแต่ละนักษัตรปีเกิดมัดแน่น! 6 บอส ดารา ดิไอคอนกรุ๊ป สู่เส้นทางผู้ต้องหา คดีฉ้อโกงสะเทือนวงการ! เหยื่อพุ่งเกือบ 800 ราย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
นวัตกรรมของจีนรุดหน้าไม่หยุด ล่าสุดสร้างเครื่องมือทรงกลมขนาดใหญ่ฝังลงใต้ดิน เพื่อตรวจจับ อนุภาคผี เพื่อไขความลับจักรวาลอิสราเอลถล่มเลบานอนตอนใต้ ฆ่านักรบฮิซบอลเลาะห์ดับกว่า 50 รายสุดฮา เมื่อนักโทษปลอมตัวเป็นสาวหวังแหกคุก!ทนายดัง เผยสาเหตุ ป่วยหนักจนต้องแอดมิทรพ. แฟนแห่คลับส่งกำลังใจ
ตั้งกระทู้ใหม่