จริงหรือ? หัวใจของนักวิ่งแตกต่างจากคนทั่วไป
หัวใจของคนเราจะปรับตัวให้มีขนาดใหญ่และแข็งแรงขึ้นหลังจากที่ออกกำลังกายเช่นเดียวกับกล้ามเนื้อทั่วไป ที่สำคัญยังช่วยสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาพประกอบเหล่านี้ (สีดำ) จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างหัวใจของนักวิ่งกับหัวใจ “ปกติ” (สีฟ้า)
Photo
หัวใจของนักวิ่งสามารถมีขนาดใหญ่กว่าหัวใจของคนทั่วไปได้มากถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว
หัวใจห้องบนใหญ่กว่า
Photo
หัวใจสองห้องบนซึ่งมีเลือดหล่อเลี้ยงเข้าไปในหัวใจจะมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับหัวใจสองห้องล่างซึ่งทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจมีความยืดหยุ่นมากกว่า
Photo
หลอดเลือดที่ไหลเวียนเลือดไปยังกล้ามเนื้อหัวใจจะสามารถขยายใหญ่ได้มากกว่าปกติเพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดระหว่างที่ออกกำลังกายแม้ว่าจะมีคลอเลสเตอรอลสะสมอยู่ก็ตาม ความสามารถในการขยายใหญ่นี้จะช่วยทำให้เลือดไหลเวียนไปยังส่วนที่อุดตันได้ง่ายขึ้น
หลอดเลือดฝอยเลี้ยงหัวใจมีขนาดความกว้างมากกว่าและจำนวนมากกว่า
Photo
เครือข่ายหลอดเลือดฝอยซึ่งทำหน้าที่ไหลเวียนเลือดไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจอาจมีขนาดใหญ่กว่าปกติประมาณ 2-3 เท่า
คราบพลัคหนาแน่นกว่า
Photo
A : ภาพตัดตามขวางของหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจนี้แสดงให้เห็นถึงคราบพลัคสะสมของภาวะหลอดเลือดแดงตีบแคบลงซึ่งมีทั้งคลอเลสเตอรอล (สีขาว) กับแคลเซียม (สีฟ้า)
B : สำหรับผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไขมันกลุ่มสแตตินมีแนวโน้มว่าคราบพลัคจะมีปริมาณคลอเรสเตอรอลน้อยลงแต่มีปริมาณแคลเซียมเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้แถบขาวทึบตามขวางกระดูกมีความหนาแน่นและส่งผลให้มีปริมาณแคลเซียมในหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจสูง แต่โอกาสที่คราบพลัคจะแตกออกและทำให้เกิดโรคหัวใจจะต่ำลง อย่างไรก็ตามมีหลักฐานชี้ว่านักวิ่งก็อาจมีคราบพลัคที่หนาแน่นและติดทนกว่าเช่นกัน
Blogger : Alex Hutchinson
Source : runnersworld.com
Credit : Charlie Layton