9 สิ่งที่ควรคิดให้ดีๆก่อนตัดสินใจยุติความสัมพันธ์กับใครสักคน
ทุกความสัมพันธ์ย่อมมาถึงจุดที่ทั้งสองฝ่ายเริ่มสงสัยว่า “ทำไมความสัมพันธ์ของเราถึงไม่เป็นเหมือนแต่ก่อน?” อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อช่วงเวลาแย่ๆมีมากกว่าช่วงเวลาดีๆ เมื่อทุกอย่างดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนไปแต่คุณไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้น คุณจำเป็นต้องหยุดเพื่อหาว่าคุณทั้งคู่ยังต้องการสานสัมพันธ์กันต่อหรือไม่ แม้ว่าคำแนะนำทั้ง 9 ข้อนี้อาจจะไม่ใช่ทางแก้ไขที่ดีที่สุดแต่เราก็อยากให้คุณพิจารณาก่อนที่จะตัดสินใจยุติความสัมพันธ์
คุณจะรู้สึกประหลาดใจหากรู้ว่ามีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ชอบหมกปัญหาไว้ในหัวจนยุ่งไปหมด อย่าคิดว่าปัญหาเหล่านั้นจะหายไปหากคุณปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ ทางที่ดีควรหันหน้ามาคุยกันดีกว่าไม่ว่านั่นจะเป็นความผิดของคุณหรือของอีกฝ่ายหรือไม่มีฝ่ายไหนผิดเลยก็ตาม
2. ปรึกษานักบำบัด
หากคุณทั้งสองคนมีปัญหาเรื่องการสื่อสารระหว่างกัน ขอแนะนำให้ไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านชีวิตคู่ การขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องน่าอายหรอกแต่เป็นเครื่องหมายว่าคุณโตแล้วที่รู้ว่าเมื่อไหร่ควรขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่สาม วิธีนี้จะยิ่งมีประโยชน์หากคุณกำลังเผชิญหน้ากับความวิตกกังวล ความเครียด หรือความกลัว
3. ยอมรับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี
เมื่อเข้าสู่ความสัมพันธ์บางครั้งเราก็หวังว่าอีกฝ่ายจะเป็นเหมือนกันซึ่งถือว่าไม่ยุติธรรมและเพ้อฝันเอามากๆ เนื่องจากคนเราจะโตขึ้นก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เราไม่มีทางรู้หรอกว่าอีกฝ่ายจะเป็นอย่างไรในอนาคตข้างหน้า หากไม่รู้จักเปลี่ยนแปลงบ้างชีวิตของเราก็คงจะน่าเบื่อสุดๆ
4. นึกถึงตอนแรกที่คุณตกหลุมรักกัน
เมื่อไหร่ที่คุณต้องผ่านช่วงเวลาอันแสนทุกข์ยากกับคนรัก จงพยายามนึกถึงวันแรกๆที่คุณทั้งสองคนตกหลุมรักกัน คุณชอบกันที่ตรงไหน? อะไรที่คุณชื่นชมและเคารพในตัวเขา? กิจกรรมใดที่คุณทั้งคู่ชอบทำร่วมกัน? เหตุใดคุณถึงเลือกเขาคนนี้มาเป็นคู่ชีวิต?
5. หาต้นตอของปัญหา
ถามตัวเองสิว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไรกันแน่? ถอยหลังกลับไปและพยายามมองภาพความสัมพันธ์โดยรวมและหาว่าปัญหานี้เกิดขึ้นแค่ชั่วคราวหรือมีความเสี่ยงมากกว่านั้นโดยสถานการณ์ต่างๆยกตัวอย่างเช่น งานที่ต้องเดินทางบ่อย การไม่มีความต้องการทางเพศ การแบ่งงานบ้านที่ไม่เท่าเทียมกัน ปัญหาการเงิน ลูก การหมั้นหมาย วางแผนแต่งงาน เปลี่ยนงาน การทะเลาะกับครอบครัว ปัญหาสุขภาพทางกายและจิตใจ เป็นต้น คุณอาจต้องใช้เวลาสักพักในการหาต้นตอของปัญหาและขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ
6. ยอมรับอย่างจริงใจ
แม้ว่าคำตอบที่ได้รับอาจจะไม่ใช่อย่างที่ต้องการแต่ก็ควรยอมรับด้วยความจริงใจ อย่าไล่ต้อนอีกฝ่ายให้จนตรอกหรือด่วนสรุปหรือทึกทักเอาเองว่าเขาคิดอะไรอยู่
7. ตัดสินใจว่าคุณต้องการมีส่วนร่วมมากแค่ไหน
บางครั้งความสัมพันธ์ของคนเราก็ต้องมีแบบ 30/70 หรือ 40/60 บ้างไม่ต่างจากความสัมพันธ์แบบอื่นๆ คุณทั้งคู่ควรเต็มใจที่จะทุ่มเททุกอย่างให้อีกฝ่ายรวมถึงความสัมพันธ์ แต่ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคิดว่า “เอ่อ..ฉันไม่สน” นั่นล่ะแปลว่าเริ่มมีปัญหาแล้ว
8. นึกถึงอนาคตร่วมกัน (และตอนแยกจากกันด้วย)
สังเกตอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เช่น ความเศร้า ความกลัว ความปรารถนา ความเสียใจ ความผิดหวัง และความโกรธ ทั้งหมดนี้คือผลพวงจากการเลิกรากันไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นคุณควรใส่ใจกับอนาคตข้างหน้าแทนที่จะหมกมุ่นอยู่กับความเจ็บปวดในอดีต
9. เชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง
คุณรู้ว่าตัวเองต้องการที่จะอยู่หรือไป ดังนั้นจงเชื่อมั่นในตัวเอง อย่ายุติความสัมพันธ์หากคุณยังรู้สึกว่ามีเยื่อใยและคิดว่าสามารถทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ขณะเดียวกันหากคุณพร้อมที่จะไปแล้วก็ควรกล้าพอที่จะตัดสินใจเลือกเส้นทางนั้นโดยไม่ลังเลในภายหลัง
Blogger : Julia Dellitt
Source : theeverygirl.com