{การก้าวสู้อำนาจ}ระบอบขุนนางในยุครกรุงศรีอยุธยา!
{ขุนนางกรุงศรีอยุธยา}
{ขุนนางไทย }คือข้าราชการที่ได้รับพระราชทานยศถาบรรดาศักดิ์ราชทินนามและศักดินาตั้งแต่ 400 ขึ้นไป โดยขุนนางเป็นผู้ที่กำเนิดจากสามัญชน อาจจะมาจากครอบครัวชั้นสูงหรือชั้นต่ำในสังคมก็ได้ ฉะนั้นขุนนางเกิดจากการใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์ สามัญชนที่มีโอกาสถวายตัวรับราชการกับกษัตริย์และได้รับศักดินา 400 ขึ้นไป หรืออาจมีข้อยกเว้นหากมีศักดินาต่ำกว่า 400 แต่รับราชการในกรมมหาดเล็กก็จัดเป็นขุนนาง ทั้งนี้ขุนนางในกรมมหาดเล็กจะได้รับการเลือกสรรโดยตรงจากพระมหากษัตริย์
สามัญชนจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนนางอาจเกิดขึ้นได้ 2 ระยะ คือระยะแรกเมื่อเป็นเด็ก บิดาซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่นำเข้าเฝ้าถวายตัวเป็นมหาดเล็ก อาจจะถวายตัวกับเจ้านายพระองค์อื่นสักระยะ เมื่อมีคุณสมบัติครบที่จะเป็นขุนนางได้ ขุนนางผู้ใหญ่จะเป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติ หากเห็นว่าเหมาะสมจะส่งไปประจำตามกรมกองต่างๆ ซึ่งมักเป็นกรมกองที่บิดามารดาหรือญาติพี่น้องรับราชการประจำอยู่แล้ว
ในพระราชกำหนดเก่าที่ตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นขุนนางว่าจะต้องประกอบด้วยวุฒิ 4 ประการ คือ ชาติวุฒิ (เป็นตระกูลขุนนางสืบทอดกันมา), วัยวุฒิ (อายุ 31 ปีขึ้นไป), คุณวุฒิ (มีภูมิรู้ที่ดี) และ ปัญญาวุฒิ (มีความฉลาดรอบรู้โดยทั่ว) นอกจากนี้ยังต้องมีฉันทาธิบดี (ถวายสิ่งที่ต้องประสงค์) วิริยาธิบดี (มีความเพียรในราชการ) จิตตาธิบดี (กล้าหาญในสงคราม) และวิมังสาธิบดี (ฉลาดการไตร่ตรองคดีความและอุบายในราชการต่างๆ) ทั้งนี้ กฎเกณฑ์เหล่านี้มิได้กำหนดเป็นการตายตัว
{ยศ หรือ บรรดาศักดิ์}
การกำหนด ยศ หรือ บรรดาศักดิ์ และราชทินนาม เป็นของคู่กัน กษัตริย์พระราชทานพร้อมกันในคราวเดียวกัน ยศหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางในตอนต้นอยุธยาเท่าที่ปรากฏหลักฐานพบว่า ยศหรือบรรดาศักดิ์สูงสุดคือ "ขุน" เป็นยศที่ขึ้นอยู่กับระบบบริหารของเมืองหลวง โดยเป็นยศสำหรับขุนนางในระดับเสนาธิบดีประจำจตุสดมภ์ ได้แก่เวียง วัง คลัง นา ส่วนยศทีรองมาคือ หมื่น พัน นายร้อย นายสิบ
จนต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 21 ยศขุนนางได้มีการพัฒนาโดยนำยศต่างชาติเช่นอินเดียและเขมรมาใช้เพิ่มเติม ได้แก่ พระยา พระ หลวง ในเอกสารของชาวตะวันตกนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 21 ตอนปลายถึงพุทธศตวรรษที่ 23 เรียกยศเหล่านี้ว่า ออกญา ออกพระ ออกหลวงและ ออกขุน ทำให้ยศ ออกขุน ถูกลดฐานะลงมาก เป็นขุนนางชั้นผู้น้อย ส่วนยศนายร้อยและนายสิบกลายเป็นยศที่ไม่ได้จัดเป็นขุนนาง และกลายเป็นยศของไพร่ที่มูลนายแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ช่วยควบคุมไพร่ ต่อมาจนถึงตอนปลายอยุธยามีการเพิ่มยศ "เจ้าพระยา" เป็นยศสูงสุดสำหรับขุนนาง นอกจากนี้ ยศขุนนางที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะอีกพวกหนึ่งได้แก่ เจ้าหมื่น จมื่นเป็นยศบรรดาศักดิ์ที่ใช้ในกรมมหาดเล็กเท่านั้น
{ราชทินนามและตำแหน่ง}
ราชทินนามมักเป็นภาษามคธหรือสันสกฤตล้วนๆ หรือผสมกับภาษาไทยสั้นๆ เป็นการบ่งบอกหน้าที่ของขุนนางนั้นๆ เพราะหน้าที่ตำแหน่งต่างๆ จะมียศและราชทินนามกำกับไว้ เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นยศและราชทินนามประจำตำแหน่งสมุหนายก เป็นต้น ขุนนางในตำแหน่งต่างๆ จึงย่อมมีราชทินนามเฉพาะไว้เพื่อให้ทราบหน้าที่
ตำแหน่ง เป็นสิ่งที่กำหนดสิ่งที่กำหนดระดับอำนาจและหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยปกติมักจะสอดคล้องกับบรรดาศักดิ์และราชทินนาม ตำแหน่งสำคัญตามกรมกองต่างๆ ในระบบบริหารส่วนกลางคือ อัครมหาเสนาบดี ได้แก่ สมุหนายกและสมุหพระกลาโหม เสนาบดีจตุสดมภ์ ตำแหน่งทั้ง 2 ประเภทนี้มียศเป็น พระยา และต่อมาภายหลังเป็น เจ้าพระยา ทั้งสิ้น
ตำแหน่งขุนนางระดับรองลงมาได้แก่ ตำแหน่งจางวาง ซึ่งใช้สำหรับกรมที่ใหญ่กว่ากรมทั่วไป แต่เล็กกว่ากรมของเสนาบดี รองจากจางวางคือตำแหน่งเจ้ากรม รองจากเจ้ากรมคือตำแหน่งราชปลัดทูลฉลองสำหรับกรมใหญ่ และปลัดกรมสำหรับกรมเล็กหรือกรมธรรมดา จากนั้นก็เป็น ตำแหน่งสมุห์บัญชี ทำหน้าที่ควบคุมบัญชีกำลังพลในกรมนั้น ๆ
ขุนนางในสมัยอยุธยามีรายได้และผลประโยชน์หลายอย่าง โดยเฉพาะผลประโยชน์จากตำแหน่งหน้าที่ที่ตนดำรงอยู่ ดังนั้น การอยู่ในตำแหน่งของขุนนางจึงมักเรียกว่า "กินตำแหน่ง" หรือ "กินเมือง"
ขุนนางและครอบครัวบุตรหลานบริวารได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกเกณฑ์แรงงาน ขุนนางไม่ต้องเสียภาษี มีไพร่ในสังกัดเพื่อควบคุมตามความสูงศักดิ์ไม่ต้องไปศาลเอง แต่มีสิทธิใช้ทนายไปให้การในศาลแทน และการสืบสวนขุนนางจะทำได้ต่อเมื่อพระมหากษัตริย์ทรงพระบรมราชานุญาต ขุนนางมีสิทธิเข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์ตามลำดับยศศักดิ์ มีสิทธิในการใช้เสมียนนายรับใช้ใกล้ชิดติดตามขุนนาง นอกจากนี้ ขุนนางได้รับเครื่องยศต่างๆ เพื่อแสดงฐานะสูงศักดิ์ เช่น หีบหมาก คนโท กระโถน หรือบางทีอาจมีช้าง มีม้า ข้าคนและที่ดิน เครื่องยศเหล่านี้ต้องคืนถวายเมื่อถึงแก่อนิจกรรมหรือออกจากราชการ ขุนนางที่มีความดีความชอบมาแต่ก่อน แต่ทำความผิดซึ่งโทษถึงตาย (ยกเว้นเป็นกบฏ) มีสิทธิขอพระราชทานลดโทษไม่ให้ถึงตายได้
สิทธิของขุนนางก็มีข้อจำกัดขอบเขตสิทธิเช่นกัน เช่น ความสูงศักดิ์ของการเป็นขุนนางมีเฉพาะตน ไม่สามารถถ่ายทอดถึงลูกหลานได้ การทำเกินยศศักดิ์ในด้านชีวิตความเป็นอยู่และมีไพร่เกินฐานะ มีโทษถูกริบไพร่ทั้งหมด ให้ออกจากราชการ ถ้าขุนนางตาย บุตรภรรยาหรือญาติพี่น้องต้องทำบัญชีแจ้งทรัพย์สินทั้งหมดเรียกว่า พัทธยา เพื่อกราบทูล เพื่อทรงพิจารณาว่าจะเรียกทรัพย์สินที่พระราชทานไปใด้กลับมาประการใดบ้าง จะต้องคืนพัทธยาได้แก่ราชการและยังต้องแบ่งทรัพย์มรดกส่วนหนึ่งให้แก่พระคลังหลวงอีกด้วย เป็นการควบคุมความมั่งคั่งของขุนนางทางหนึ่งมิให้มีทรัพย์เป็นมรดกมากเกินไป
ขุนนางนอกจากจะมีอำนาจและหน้าที่ในการปฏิบัติราชการ บังคับบัญชากรมกองต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายมาแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่สำคัญอื่น ๆ อย่าง การควบคุมดูแลไพร่พลในกรมกองที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชา และควบคุมดูแลไพร่ในหัวเมืองชั้นในซึ่งถูกแบ่งให้สังกัดกรมกองในเมืองหลวง ไพร่พลเหล่านี้ถือเป็นไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์แต่พระองค์มิได้ปกครองด้วยพระองค์เอง จำนวนไพร่พลในสังกัดมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตำแหน่งและศักดินาของขุนนางผู้นั้น
ในเวลาปกติขุนนางต้องควบคุมดูแลไพร่หลวงให้สามารถทำมาหากินโดยสงบสุข ถ้าเกิดกรณีพิพาทขึ้นในสังกัด ขุนนางผู้นั้นมีอำนาจหน้าที่ในการพิพากษาคดี และเมื่อถึงกำหนดเกณฑ์แรงงานไพร่หลวงเข้าขุนนางต้องควบคุมไพร่ หากไพร่ขาดจำนวนเมื่อมีรายการเรียกใช้ ขุนนางผู้นั้นจะมีความผิด
หน้าที่การเก็บภาษีอาการ เช่นการเก็บภาษีที่เก็บจากไพร่พลของตนและภาษีอากรที่อยู่ในบังคับบัญชาของกรมที่ตนสังกัด ถ้าเป็นเจ้าเมืองหัวเมืองชั้นนอกมีอำนาจหน้าที่เก็บภาษีอาการทั้งหมดในบริเวณอาณาเขตที่เจ้าเมืองนั้นมีอำนาจ
ขุนนางมีหน้าที่ต้องรายงานพระมหากษัตริย์ทันทีที่ได้รู้เห็นว่าที่จะเป็นผลร้ายต่อพระมหากษัตริย์เช่น ข่าวกบฏ ยักยอกพระราชทรัพย์ ลักลอบติดต่อนางสนมกำนัลเป็นต้น ถ้ารู้แล้วไม่กราบทูลมีโทษถึงกบฏ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ขุนนางระแวงกันเอง หรืออาจมีการกลั่นแกล้งกัน โดยแจ้งเรื่องเท็จ หรือทำบัตรสนเท่ห์ ทำให้ขุนนางระมัดระวังอยู่เสมอ และขุนนางทุกคนจะต้องเข้าร่วมพิธีดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ใครขาดถือมีโทษถึงกบฏ
จขกท.อำนาจบารมีใครก็สร้างได้อยู่ที่จะสร้างบารมีที่ดี หรือบารมีที่ชั่ว
อยู่ที่จะใช้บารมีที่ดีเพื่อทำสิ่งดีๆ
หรือจะใช้บารมีที่ชั่วมาทำสิ่งที่ชั่วๆ
แค่นี้หละคับ.จขกท.คิดไม่ออกละ>_<