ช็อค!! นอน ICU รพ.เอกชน 7 วันแล้วตาย เรียก 7 แสน (หลังหักประกัน) ให้จ่ายก่อน 1 แสน ไม่งั้นไม่ให้เอาศพออก
แพทยสภาเกี่ยวข้องกับค่ารักษารพ.เอกชนแพงอย่างไร?
-----
ในปีพ.ศ. 2555 รัฐบาลประกาศนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน เข้าได้ทุกทีฟรีทุกสิทธิ์ภายใน 72 ชั่วโมง ไม่ต้องถามสิทธิ์ ไม่ต้องสำรองจ่าย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะเป็นผู้จ่ายแทนประชาชน แต่ในทางปฏิบัติกลับพบว่ามีประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก ที่ถูกโรงพยาบาลเอกชนเรียกเก็บค่ารักษา หลักแสนถึงหลักล้านบาทแต่เบิกคืนได้เพียงหลักหมื่นบาทเท่านั้น 14 ปีของการก่อตั้งเครือข่ายฯ พบว่าเคสของโรงพยาบาลเอกชน มักจะพ่วงเรื่องค่ารักษาแพงเข้าไปด้วย เช่นเก็บค่ายาแพงเกินปกติ มีรายการยามากกว่าที่ใช้จริง และมีการเก็บค่ายาหลังผู้ป่วยถึงแก่ความตายแล้ว มีการเพิ่มอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ลงไปในบิลฯลฯ
ต่อมาเครือข่ายฯ ทำแคมเปญเรียกร้องให้รัฐบาลตั้ง “คกก.ควบคุมค่ารักษารพ.เอกชน” มีปชช.ลงชื่อสนับสนุนมากถึง 3.3 หมื่นชื่อใน 2 สัปดาห์ นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แต่การแก้ไขปัญหากลับทำไม่สำเร็จ เพราะในห้องประชุม ไม่รู้ว่ากรรมการแพทยสภาสวมหมวกใบไหน ระหว่างเจ้าของรพ.เอกชน ตัวแทนแพทยสมาคม หรือตัวแทนสภาวิชาชีพ ที่ไม่ได้ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน อีกทั้งแพทยสภายังส่งคนของตนเองเข้าไปเป็นที่ปรึกษา กรรมาธิการสาธารณสุข ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึง 4 คน ถือเป็นการกุมอำนาจในระดับนโยบาย เป็นสาเหตุให้การแก้ไขปัญหาเรื่องค่ารักษาแพงไม่สำเร็จมาจนถึงทุกวันนี้
-----
ตัวอย่างที่ 1
17 มิถุนายน 2555 ภรรยาคุณครูประเสริฐ อชินีทองคำ ถูกรถเฉี่ยวชนหัวฟาดพื้นสลบ เลือดออกปากออกจมูก ถูกนำส่งรพ.เอกชนแห่งหนึ่งที่ใกล้ที่สุด พบเลือดคั่งในสมองต้องผ่าตัดด่วน ครูขอใช้สิทธิฉุกเฉินตามนโยบายรัฐบาล "เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าได้ทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์" รพ.ปฏิเสธว่าไม่ได้ร่วมครงการ ถ้าจะให้รักษาต้องเซ็นรับผิดชอบคชจ. 2.5 แสน ครูจำใจเซ็นยินยอม วันรุ่งขึ้นรพ.แจ้งว่ายังมีเลือดคั่งอีกจุดต้องผ่าตัดด่วน เมื่อวานในฟิล์มไม่มีเลือด เลือดเพิ่งไหลมาภายหลัง ครูจำใจเซ็นรับผิดชอบคชจ.อีก 2.5 แสนเพื่อรักษาชีวิตภรรยา หลังผ่าตัดขอย้ายภรรยาออกทันที รพ.แจ้งคชจ. 3 วัน 5 แสนบาท ถ้าไม่จ่ายก็ย้ายออกไม่ได้ ทั้งชีวิตครูเงินแสนยังไม่มีเก็บ ต้องวิ่งหาเงินครึ่งล้านภายในครึ่งวัน ด้วยการกู้ยืมมาจ่ายค่ารักษา ภายหลังขอเบิกคืนจากสปสช.ได้เพียง 7.6 หมื่น (ราคานี้สปสช.บอกว่ารพ.มีกำไรแล้ว) ครูฟ้องศาลปกครองเพื่อเรียกเงินคืนจากสปสช. จนถึงวันนี้คดียังไม่สิ้นสุด ขณะที่ภรรยายังนอนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พร้อมหนี้สินรุงรัง กับลูกที่ยังเรียนอีก 2 คน
-----
ตัวอย่างที่ 2
24 มีนาคม 2556 นางสำรวย โสภจารี อายุ 78 ปี ช็อกหมดสติหยุดหายใจ ญาติตั้งใจพาส่ง รพ.รัฐบาลแห่งหนึ่ง แต่รถติดมากจึงพาเข้า รพ.เอกชนแห่งหนึ่งซึ่งเป็น รพ.เอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุด หมอปั๊มหัวใจจนฟื้นคืนชีพแต่ไม่รู้สติต้องนอน ICU ญาติขอให้ส่งต่อไปรพ.รัฐตามสิทธิแต่ติดต่อไปหลายรพ.เตียงเต็มทุกที่ กว่าจะได้เตียงคชจ.บานปลายเกือบ 5 แสนบาท กรณีนี้เข้าเงื่อนไข "เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าได้ทุกทีฟรีทุกสิทธิ" ตามนโยบายรัฐบาล แต่ทางรพ.ยืนยันว่าต้องจ่ายก่อนนำคนไข้ออก ญาติร้อง สปสช. จนย้ายคนไข้ออกจากรพ. โดยไม่ต้องเซ็นรับสภาพหนี้ แต่ต่อมา รพ.ฟ้องคนไข้และญาติเรียกค่ารักษา ที่หักมัดจำแล้ว 446,255 บาท คดียังสู้เรื่องเขตอำนาจศาล กว่าจะรู้ก็เดือนตุลาคม 2559 ค่าทนายก็ไม่มีเนื่องจากฐานะยากจน ทางเครือข่ายฯ ต้องประกาศรับบริจาคผ่านเฟสบุ๊คเพื่อช่วยค่าทนายให้กับครอบครัวนี้
-----
ตัวอย่างที่ 3
วันที่ 29 มิ.ย.58 นายสุพรรณ ยิ่งใหญ่ อายุ 35 ปี อาชีพขับมอเตอร์ไซค์รับจ้างเกิดอุบัติเหตุรถล้ม แขนหัก 3 ท่อน ขาหัก 3 ท่อน มีแผลเปิดที่ขาและที่อุ้งมือ หัวกระแทกพื้นมีเลือดออกในสมอง ถูกนำส่ง รพ.เอกชนแห่งหนึ่ง นอนห้อง ICU รพ.แจ้งว่าต้องผ่าตัดด่วน แต่มี คชจ.หลักแสน ภรรยาบอกว่าไม่มีเงินขอย้ายไป รพ.รัฐบาล ทาง รพ.บอกว่าอาการหนักย้ายไม่ได้ แต่พอทางรพ.เช็คแล้วพบว่า พรบ.รถขาด กลับแจ้งว่าย้ายได้แต่ต้องหา รพ.เอง ถ้าหา รพ.ได้แล้วทาง รพ.จะนำรถไปส่ง คิดค่ารถ 16,000 บาท ภรรยาติดต่อ รพ.ปากน้ำ, รพ.จุฬาฯ, รพ.เลิศสิน, รพ.ราชวิถี ฯลฯ ทุกแห่งบอกว่าเตียงเต็ม จึงติดต่อไป รพ.ตามสิทธิ์บัตรทองที่ จ.สุรินทร์ ทางสุรินทร์พร้อมรับตัว / รพ.เดิมแจ้งว่าต้องจ่ายค่ารักษาก่อน 66,397 บาท ไม่เช่นนั้นก็เอาตัวคนเจ็บออกจาก รพ.ไม่ได้ เมียคนเจ็บเครียดมากพยายามหยิบยืมมาได้เพียง 2 หมื่นบาท ขณะที่ทาง รพ.ก็โทรตามให้นำเงินไปชำระ เพื่อที่พรุ่งนี้เช้ารถ รพ.จะไปส่งที่สุรินทร์ตอนตี 5 เธอเครียดมากจนคิดฆ่าตัวตาย สามีบาดเจ็บสาหัสแต่ไม่มีเงินผ่าตัด หา รพ.ที่จะย้ายก็ไม่ได้ พอจะย้ายก็หาเงินได้ไม่พออีก สุดท้ายญาติร้องเรียนมาที่เครือข่ายฯ จึงได้ย้ายไป รพ.บ้านแพ้ว โดยความช่วยเหลือของผู้ใหญ่ใน สปสช. (น่าเศร้าที่คนจนมาเจ็บป่วยฉุกเฉินใน กทม. เมืองหลวงที่มี รพ.มากที่สุด แต่กลับหา รพ.รักษาไม่ได้)
-----
ตัวอย่างที่ 4
22 มีนาคม 2557 นางบุญยัง บุญมี อายุ 78 ปี ชาวอ.บางใบไม้ จ.สุราษฎร์ธานี มางานแต่งญาติในกทม. ล้มหมดสติลิ้นจุกปาก ถูกนำส่งรพ.ดีที่ใกล้ที่สุด หมอปั๊มหัวใจจนฟื้นนอน ICU รพ.แจ้ง คชจ.คืนละ 3 หมื่นบาท ญาติบอกว่าคนไข้ฐานะยากจนขอย้าย ทาง รพ.บอกอาการหนักย้ายไม่ได้และต้องทำบอลลูนหัวใจ หลังผ่าตัดลูกขอย้ายแม่ทุกวัน ทาง รพ.บอกย้ายไม่ได้ไม่พ้นขีดอันตราย เข้าวันที่ 7 คชจ.บานปลายประมาน 8 แสนบาท ลูกชายเงินเดือนไม่ถึงหมื่นไม่มีจ่าย เพื่อนบ้านรวมเงินช่วยกว่า 2 หมื่นบาท ลูกชายเซ็นรับสภาพหนี้ 7.8 แสน (รพ.ลดให้แล้ว) รพ.บอกว่าถ้าให้ฟ้องจะคิดราคาเต็มคือ 8 แสนกว่าบาท ขณะที่ สปสช.ผู้รับผิดชอบจ่ายตามนโยบายสิทธิฉุกเฉิน เสนอราคากลาง 2.5 แสน เพราะราคานี้รพ.มีกำไรแล้ว ทางเครือข่ายฯ ไม่รู้ว่าทาง รพ.ยินยอมหรือไม่ แต่ รพ. ยังไม่ยื่นฟ้อง
-----
ตัวอย่างที่ 5
24 เมษายน 2559 นายถาวร อายุ 48 ปี มีอาการหายใจไม่ออก ชัก ปัสสาวะอุจจาระไหล ถูกนำส่ง รพ.เอกชนที่ใกล้ที่สุด นายถาวรหัวใจหยุดเต้น แพทย์ปั้มหัวใจกู้ชีพ ผลเอกซเรย์พบลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด แพทย์ฉีดยาละลายลิ่มเลือด แต่ยังมีอาการหัวใจหยุดเต้นอีกหลายครั้ง นอนห้อง CCU มีอาการแทรกซ้อน ค่าปอด ค่าไต ต่ำ ได้รับการฟอกไต ให้ยาช่วยความดันและยาต่างๆ ใส่เครื่องช่วยหายใจ ต่อมาติดเชื้อในกระแสเลือด และเสียชีวิตในวันที่ 30 เมษายน 2559 ก่อนหน้านั้นภรรยาขอย้ายไป รพ.ตามสิทธิ์ แต่ รพ.ตามสิทธิ์ไม่มีเครื่องมือพร้อม ขอให้ย้ายไป รพ. ใน กทม. ก็ย้ายไม่ได้เตียงเต็มทุกแห่ง คชจ.เพิ่มขึ้นทุกวัน วันที่ 24–30 เมษายน 2559 เป็นเวลา 7 วัน คชจ.หลังจากหักประกันชีวิตแล้วเป็นเงิน 720,078 บาท ภรรยานายถาวรขอใช้สิทธิ์เจ็บป่วยฉุกเฉิน 72 ชั่วโมงฟรีตามนโยบายรัฐบาล แต่ทางรพให้จ่าย 1 แสนบาท ที่เหลือให้เซ็นสภาพหนี้ ไม่เช่นนั้นก็ไม่สามารถนำศพออกไปบำเพ็ญกุศลได้ จึงไปหายืมมาจ่าย 1 แสน และทำตามเงื่อนไขของ รพ. ต่อมา สปสช.แจ้งว่ากองทุนจะจ่ายให้ 7 หมื่นกว่าบาท แต่ต้องไปเคลียร์หนี้กับ รพ.ดังกล่าวก่อน จนถึงวันนี้ภรรยาผู้ตายก็ยังไม่มีเงินไปเคลียร์ เพราะมีลูกอีก 2 คนต้องดูแล
-----
ลงชื่อสนับสนุนปฏิรูปแพทยสภาได้ที่ลิงค์นี้
http://www.change.org/FreeMedicalCouncil