ทารกคนแรกที่เกิดจากการผสมเชื้อของพ่อแม่สามคน เกิดขึ้นแล้ว
เป็นลูกของชาวจอร์แดน ในเม็กซิโก ดำเนินการโดยคณะนักวิทยาศาสตร์สหรัฐซึ่งมีศูนย์อยู่ในเม็กซิโก ขณะนี้เด็กทารกมีอายุ 5 เดือนแล้ว เชื่อว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางการแพทย์ไปทั่วโลก
ไข่กับอสุจิก็เอามาผสมกันในหลอดทดลอง เพราะต้องแยกนิวเคลียสจากไข่ของแม่ มาใส่ในไข่ของผู้บริจาค
ส่วนประโยชน์ ถ้าตามข่าวตรงๆ แม่เป็นโรคที่ทำให้เด็กที่คลอดออกมามีปัญหาและตายมา 2 คนแล้วครับ (ระบบร่างกายล้มเหลว)
ซึ่งความผิดปกตินี้อยู่ในระดับไมโทคอนเดรีย (Mitochondrion) วิธีการพูดแบบรวบรัดคือ เอานิวเคลียสจากไข่ของแม่ แล้วก็เปลี่ยนเอาไมโทคอนเดรียที่มีปัญหาออก เอาไมโทคอนเดรียที่ได้จากผู้บริจาคไปแทน แล้วก็ค่อยเอามาผสมกับอสุจิของพ่อ
ทำให้เอ็มบริโอ(Embryogenesis)หรือตัวอ่อนปราศจาคโรคดังกล่าวครับ
ต่อยอด... ถ้าฝั่งพ่อ หรือแม่เคยมีประวัติมะเร็ง ก็เปลี่ยนเอาไมโทคอนเดรียของคนที่แข็งแรงมาใช้แทน เป็นต้น
ถ้าพัฒนาต่อไป อาจช่วยรักษาหรือป้องกันโรคพันธุกรรมที่เกิดจากยีนพ่อแม่แบบธรรมชาติได้ดีกว่าปัจจุบัน