การค้นพบตำราพิชัยสงครามไทย ณ กรุงศรีอยุธยา!
หลักฐานเกี่ยวกับตำราพิชัยสงครามในประเทศไทย ปรากฏบันทึกในพระราชพงศาวดารครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2041 ในปีนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยาได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการชำระและรวบรวมตำราพิชัยสงครามต่าง ๆ ขึ้นเป็นฉบับหลวงครั้งแรก และได้มีการปรับปรุงตำราในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเพื่อใช้ในสงครามยุคนั้น[2] เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกในปีพ.ศ. 2310 ปรากฏว่าตำราพิชัยสงครามได้กระจัดกระจายสูญหายจำนวนมาก คงเหลืออยู่แต่ฉบับที่มีผู้คัดลอกไว้บ้างเพียงบางตอนไม่ครบชุด บางส่วนก็ได้มีการแต่งขึ้นใหม่ ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้มีการคัดลอกตำราพิชัยสงครามฉบับปลีกที่ยังเหลืออยู่ไว้จำนวนหลายสิบเล่มสมุดไทยเพื่อรักษาฉบับไว้ไม่ให้สาบสูญ[1]
ถึงปี พ.ศ. 2368 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลจึงโปรดให้มีการชำระตำราพิชัยสงครามให้สมบูรณ์ โดยเชิญพระตำรับพิชัยสงครามฉบับข้างที่ (ฉบับหลวง) มาสอบสวนชำระ 14 เล่มสมุดไทย เมื่อชำระเสร็จแล้วได้คัดลงสมุดไทยจำนวน 2 ชุด รวม 10 เล่มสมุดไทย นับเป็นตำราพิชัยสงครามฉบับสุดท้ายที่ชำระอย่างสมบูรณ์ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์[1]
ในสมัยต่อมากองทัพไทยได้ปรับรูปแบบกองทัพตามอย่างชาติตะวันตก ตำราพิชัยสงครามแบบโบราณจึงลดความสำคัญลงเพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 กองทัพไทยได้เปลี่ยนไปใช้ตำรายุทธศาสตร์แบบตะวันตกซึ่งทันสมัยกว่าแทน ผู้เป็นเจ้าของตำราพิชัยสงครามจึงนำตำราเหล่านี้มามอบให้หรือขายให้หอสมุดแห่งชาติเป็นจำนวนมาก ตามบัญชีมีอยู่ 219 เล่ม ส่วนมากเป็นคำร้อยกรองแบบฉันท์ โคลง กลอน และร่ายบ้าง แต่งเป็นคำร้อยแก้วบ้าง[1] ล่าสุดได้มีการค้นพบตำราพิชัยสงครามสมัยกรุงธนบุรีในสภาพสมบูรณ์มากจำนวน 5 เล่ม ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551[3]
เนื้อหาในตำราพิชัยสงครามของไทยโบราณแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1) เหตุแห่งสงคราม 2) อุบายสงคราม 3) ยุทธศาสตร์และยุทธวิธี นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อทางด้านโหราศาสตร์และไสยศาสตร์ ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่สมัยโบราณมาแล้ว โดยเฉพาะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจะปรากฏความเชื่อในเรื่องดังกล่าวอย่างมาก[1]
นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2341 สมัยรัชกาลที่ 1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ยังได้มีการแปลตำราพิชัยสงครามของพม่าเป็นภาษาไทยด้วย
จขกท.
ยุทธศาสตร์ ยิ่งใหญ่
ความ ตั้งใจ เด็ดเดี่ยว
มื้อ นี้เรา จะเคี้ยว
ข้าว แล้วทุบ หม้อข้าว
ตีแหกฝ่า วงล้อม
ลุยพม่า ข้าศึก
นึกถึงความ เป็นไทย
ดีกว่าไป เป็นทาส
( สอง มือ ถือดาบ อย่างมั่นใจ
นัก รบไทย ของ พระเจ้าตาก
ฝาก ฝัง กรุงอยุธยา
วัน ข้างหน้า ข้าจะมา ทวงคืน )
แผ่นดินไทย ดาลเดือด
ทัพข้าศึก รุมล้อม
มัวแต่กล่อม สตรี
เริงโลกีย์ เป็นหลัก
นักรบกลาย เป็นศพ
พบกับความ ปราชัย
เจ้าตากทน ไม่ได้
แผ่นดินไทย เป็นหลัก นัก รบคือ นักรบ
นัก สู้แห่ง กรุงศรีตีฝ่าทัพ ตองอู
ตายหรืออยู่ ไม่สำคัญคืนนี้จันทร์ หลับไหลแหกวงในแหละวงล้อม
อ้อมออกจาก กรุงศรีไปเข้าตี เมืองจันทร์
!เลือดความรักชาติมันขึ้นหน้าจิมๆนะอิอิ!