จีนเผยเทคโนโลยีใหม่รถไฟความเร็วสูง 500 กม./ชม.ใช้รางได้ทุกขนาดทั่วโลกแล่นด้วยระบบไฮบริดทั้งไฟฟ้า-แบตเตอรี-เครื่องยนต์ดีเซล
รถไฟความเร็วสูงของจีนเทคโนโลยีใหม่แล่นได้ 500 กม./ชม.ใช้รางร่วมได้ทุกขนาดทั่วโลก
จีนเผยเทคโนโลยีใหม่สร้างรถไฟความเร็วสูง 500 กม./ชม. ในทุกสภาพภูมิอากาศทั้งอุณหภูมิติดลบ 40 องศาเซลเซียสแล่นบนภูเขาสูงและในทะเลทราย ใช้รางร่วมได้ทั่วโลกทั้งขนาด 1.00-1.435 และ 1.52 เมตร ระบบขับเคลื่นเป็นไฮบริดทั้งไฟฟ้า-แบตเตอรี่และเครื่องยนต์ดีเซล เป้าหมายจะให้แล่นได้ 600 กม./ชม.
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2016 หนังสือพิมพ์เซาท์ ไชนา มอร์นิ่ง โพสต์ โดย ยูยีน ตั้ง (Eugene Tang) รายงานว่าจีนกำลังพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้รถไฟความเร็วสูงรุ่นใหม่สามารถแล่นรับส่งผู้โดยสารได้ด้วยความเร็ว 500 กม./ชม.และรถขนส่งสินค้าความเร็ว 250 กม./ชม. โดยล้อรถไฟรุ่นใหม่จะสามารถปรับแล่นได้กับรางทุกขนาดที่ใช้อยู่ทั่วโลก
นายเจีย ลิมิน ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย Beijing Jiaotong ให้สัมภาษณ์ที่ฮ่องกงว่ารัฐบาลจีนเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2016 เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงขับเคลื่อนได้ในระบบไฮบริดด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าดำเนินการรวมทั้งขยายเครือข่าย เพื่อให้เข้ากับภูมิประเทศและภูมิอากาศของโลกที่แตกต่างกัน อาทิเช่นจากทะเลทรายแล่นสู่ที่ราบสูงและเข้าสู่ป่าดงดิบ
“เทคโนโลยีใหม่ของจีนจะช่วยปรับตัวรถไฟความเร็วสูงเข้ากับทุกสภาพในโลกนี้”ศ.เจียกล่าว
ศ.เจีย ลิมิน หัวหน้าโครงการพัฒนารถไฟจีน (ภาพ South China Morning Post)
ทั้งนี้รถไฟความเร็วสูงของจีนออกแบบเพื่อให้แล่นได้ในสภาพของอากาศหนาวเหน็บเช่นทางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงหนือของประเทศที่อุณหภูมิติดลบ 40 องศาเซลเซียสรวมทั้งแล่นไปยังที่สูงของธิเบตและในทะเลทรายทางตะวันตกของประเทศ จะทำให้เทคโนโลยีนี้เหนือกว่ารถไฟความเร็วสูงในสหรัฐ,ญี่ปุ่นและในยุโรป
ศ.เจียผู้เป็นหัวหน้าในโครงการพัฒนาความเร็วสูงรถไฟจีนเปิดเผยว่า ปัจจุบันจีนมีรถไฟความเร็วสูง 20,000 กิโลเมตรหรือ 60 % ของโลก โดยมีเป้าหมายขยายเป็น 30,000 กิโลเมตรในปี 2020 และ 45,000 กิโมเมตรในปี 2030
สำหรับรถไฟความเร็วสูงญี่ปุ่นที่เรียกว่าชินกันเซน ถือเป็นรถไฟความเร็วสูงขบวนแรกของโลกที่พัฒนามาตั้งแต่ปี 1964 ปัจจุบันระยะทางมีความยาว 2,765 กิโลเมตรโดยมีความเร็วสูงสุด 320 กม./ชม. ส่วนรถมินิชินกันเซนมีระยะทาง 284 กิโลเมตรและความเร็วสูงสุด 130 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
โครงการรถไฟความเร็งสูงของจีนเริ่มในปี 2004 เมื่อรัฐมนตรีกระทรวงรถไฟจัดให้มีการประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงที่แล่นได้ 200 กม./ชม.และความเร็วสูงสุด 350 กม./ชม. จากนั้นมีบริษัทต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนในจีนและมีการร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ประกอบด้วยบริษัท Kawasaki Heavy Industries แห่งญี่ปุ่น,บริษัท Bombardier แห่งแคนาดา,บริษัท Siemens แห่งเยอรมนีและบริษัท Alstom แห่งฝรั่งเศส
อีก 3 ปีต่อมารถไฟความเร็วสูงลำแรกของจีนชื่อ CRH1A ก็ออกแล่นจากโรงงานก่อสร้างด้วยความเร็วสูง 250 กม./ชม. ภายหลังจากนั้นจีนก็ค่อย“ดูดซึมและย่อย”เทคโนโลยี่ของต่างประเทศก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นนวัตกรรมใหม่ของตน
ปัจจุบันบริษัทจีนลงนามในสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนอกประเทศประมาณ 3,000 กิโลเมตร บริษัท China Railway Rolling Stock Corp ซึ่งเป็นบริษัทของรัฐจะทำหน้าที่ก่อสร้างในประเทศตุรกี,อินโดนีเซีย,ไทยและรัสเซีย ขณะนี้จีนกำลังเสนอประมูลก่อสร้างในมาเลเซีย,สหรัฐอเมริกาและประเทศในอเมริกาใต้
ศ.เจียเปิดเผยว่าการขับเคลื่อนของรถไฟความเร็วสูงเรียกว่าระบบไฮบริด (hybrid-propulsion systems)นั้นสามารถแล่นได้ทั้งระบบไฟฟ้า,แบตเตอรี่และเครื่องยนต์ดีเซล
อีกทั้งรถไฟความเร็วสูงรุ่นใหม่ตั้งเป้าไว้ให้มีความเร็วสูงถึง 600 กม./ชม. โดยจีนตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะก่อสร้างเครือข่ายให้แล่นได้จากสิงคโปร์ขึ้นเหนือมายังอินโดนีเซียและสู่ประเทศจีน จากนั้นทางตะวันตกจะแล่นจากเซ็นทรัล เอเชียไปยังยุโรป ซึ่งเป็นโครงการ one belt, one road คืนเส้นทางสายไหม (Silk Road) เดิม ในยุคโบราณที่เป็นเส้นทางค้าขาย
นอกจากนี้เทคโนโลยีใหม่รถไฟความเร็วสูงจีนสามารถแล่นได้ในขนาดรางที่แตกต่างกันจากขนาด 1 เมตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ขนาด 1.435 เมตรในจีนและรางขนาด 1.52 เมตรในรัสเซีย โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนราง
ศ.เจียยอมรับว่าทั้งเทคโนโลยีและการพาณิชย์ จีนสามารถทำให้เห็นได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศที่กำลังดำเนินการ ส่วนเทคโนโลยีจะได้รับการคัดเลือกหรือไม่อาจจะมีภูมิศาสตร์การเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา
โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของจีนด้านบนหลายประเทศตกลงแล้วรวมทั้งไทย ส่วนอีก 3 ประเทศด้านล่างอยู่ในช่วงของการประมูลเพื่อดำเนินการ