เช็คด่วยเลย! เคยเป็นกันไหม อาการหนาวใน สัญญาณเตือนสุขภาพที่ควรรู้!
เคยเป็นกันไหม อาการ “หนาวใน” สัญญาณเตือนสุขภาพที่ควรรู้!
แย่เลย เป็นอยู่บ่อยๆเหมือนกัน มีใครเป็นเหมือนกันบ้าง
คุณผู้หญิงทุกคนคงจะเคยได้ยินเรื่องของอาการหนาวในกันบ้างแล้วนะคะบางครั้งแค่เพียงได้ยินหรือบางคนก็กำลังเป็นอยู่ อาการหนาวง่ายเกินไป รู้สึกหนาวมากในอกลึกๆ ทั้งที่ก็ไม่ได้มีไข้หรือรู้สึกไม่สบายอันใด ตามความเชื่อโบราณบอกไว้ว่า มักจะเกิดกับสตรีหลังคลอดแล้วไม่ได้อยู่ไฟ แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการหนาวๆ เช่นนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกปัญหาสุขภาพบางอย่างได้ค่ะ หนาวใน..เป็นสัญญาณบอกอะไร? ไปหาคำตอบกันเลยค่ะ
ตามตำราแพทย์แผนไทยเชื่อว่า การคลอดลูกทำให้สูญเสียความร้อนในร่างกาย เสียธาตุไฟ ร่างกายขาดความสมดุล และยังสามารถเกิดในผู้สูงอายุที่กำลังจะหมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนไปแล้ว รวมถึงผู้หญิงที่ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น ประจำเดือนมาน้อย เป็นไข้ทับระดู มาไม่ตรงวัน ปวดประจำเดือนรุนแรง ลักษณะของประจำเดือนมีสีคล้ำ เป็นก้อน เป็นลิ่ม เป็นต้น
มีอาการหนาวมากๆ หนาวลึกถึงในอก บางครั้งแค่ฝนตั้งเค้าก็เกิดอาการหนาว มือเท้าเย็น ปากเขียว มือเขียว หนาวสั่นสะท้าน เหมือนเลือดไหลเวียนไม่ดี และเมื่อมีอาการหนาวในเป็นประจำจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้ เช่น ปวดหลังชาๆ ขัดข้อสะโพก มีจ้ำเขียวตามร่างกายได้ง่าย เป็นไข้ทับระดูทุกครั้งที่มีประจำเดือน มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว
แนวทางการรักษา
อาการดังกล่าวข้างต้นนั้น ยังไม่เป็นข้อสรุปที่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด และมีลักษณะอาการแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ในบางรายมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยร่วมด้วยจนถึงมดลูกอักเสบได้ ซึ่งแพทย์แผนไทยถือว่าเป็นอาการของกลุ่มมดลูกอักเสบ ต้องรักษาด้วยการปรับสมดุลธาตุอย่างต่อเนื่องจะสามารถรักษาให้หายได้ ตามศาสตร์การแพทย์แผนไทย เน้นการรักษาด้วยการจ่ายยาที่ช่วยปรับธาตุทั้ง 4 ให้สมดุล และจ่ายยาที่ช่วยบำรุงเลือดที่มีรสร้อนสุขุม เพื่อกระจายเลือดให้ไหลเวียนได้ดี และทำให้ไฟธาตุทำงานได้ดีขึ้น เพื่อเป็นการปรับสมดุลให้ร่างกาย ซึ่งต้องได้รับการตรวจจากแพทย์แผนไทยอย่างละเอียด ว่าต้องปรับอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับอาการ และธาตุของคนไข้แต่ละคน
อาการหนาวใน บอกสัญญาณสุขภาพ
1. มีรูปร่างผอมบางเกินไป
น้ำหนักที่ต่ำกว่ามาตรฐาน อาจส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอจนทำให้รู้สึกหนาวง่าย อีกอย่างเมื่อเราผอมเพราะไม่ค่อยได้กินอาหารสักเท่าไร ก็ยิ่งลดประสิทธิภาพการทำงานของระบบเผาผลาญให้อยู่นิ่ง จนความร้อนในกระบวนการเผาผลาญไม่เกิด ดังนั้นคนที่ตัวผอมบางจึงมักจะรู้สึกหนาวง่ายหรือหนาวตลอดเวลานั่นเอง
2. ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
อาการหนาวเป็นพักๆ รวมทั้งผมเริ่มร่วงและบาง ผิวแห้งมากขึ้น แถมยังรู้สึกอ่อนเพลียด้วย ลักษณะอาการเช่นนี้อาจเข้าข่ายภาวะขาดไทรอยด์ ซึ่งเป็นอาการที่ต่อมไทรอยด์ไม่หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนออกมาในปริมาณที่พอเพียง จนส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานช้าลง ความร้อนในร่างกายจึงลดน้อยลงไปด้วย
3. ขาดธาตุเหล็ก
เพราะธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่ช่วยขนส่งออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง นำพาความร้อนและสารอาหารที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการทำงานของเซลล์ทุกแขนงในร่างกาย ดังนั้นหากขาดธาตุเหล็กไป กระบวนการดังกล่าวก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ จึงทำให้ความอบอุ่นในร่างกายลดน้อยลง
4. ระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี
อาการมือเย็นเท้าเย็นบ่อยๆ แต่ร่างกายโดยรวมไม่ได้ผิดปกติอะไร การวินิจฉัยจากแพทย์ อาจเกิดจากระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายของคุณทำงานไม่ปกติ โดยไม่สามารถไหลเวียนเลือดได้สะดวกไปทั่วทั้งร่างกาย หรืออาจจะมีภาวะของโรค หลอดเลือดอุดตันตามตำแหน่งต่างๆ ที่อาจขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังมือและเท้าได้
5. โรคเรย์นอยด์ (Raynaud’s Disease)
อันเป็นสาเหตุให้เส้นเลือดบริเวณมือตีบ ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ไม่ดี ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วมือ ร่วมกับอาการนิ้วมือนิ้วเท้าเย็นตามมาด้วย ซึ่งก็ควรต้องรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาอาการกันต่อไป
6. พักผ่อนไม่เพียงพอ
การนอนหลับที่ไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เคมีในสมองรวมไปถึงระบบการเผาผลาญของร่างกายทำงานผิดปกติได้ ซึ่งก็นับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง รวมทั้งอาการหนาวง่ายก็เป็นผลพวงที่ตามมาด้วยเช่นกัน
7. ดื่มน้ำน้อยเกินไป
น้ำเป็นส่วนประกอบในร่างกายมากกว่า 60% และยังมีหน้าที่สำคัญที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิร่างกายให้เป็นปกติ นักโภชนาการให้ข้อมูลว่าร่างกายที่ไม่ได้รับน้ำสะอาดเพียงพออาจเกิดได้ทั้งภาวะอุณหภูมิที่ร้อนจัดและเย็นจัด เนื่องจากภาวะขาดน้ำจะทำให้ระบบควบคุมอุณหภูมิของร่างกายปรวนแปร รวมไปถึงเมื่อขาดน้ำ ระบบเผาผลาญก็ทำงานไม่สะดวกด้วย
8. ขาดวิตามินบี 12
วิตามินบี 12 มีหน้าที่สำคัญพอๆ กับธาตุเหล็กตรงที่ช่วยลำเลียงออกซิเจนเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งหากร่างกายไม่ได้รับวิตามินบี 12 ที่พอเพียงก็คงทำให้หลอดเลือดแดงทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และเมื่อการไหลเวียนของเลือดติดขัด ก็จะรู้สึกหนาวง่ายบวกกับมีอาการเหน็บชาบ่อยๆ ด้วย
9. โรคเบาหวาน
อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการปลายประสาทอักเสบได้ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลให้มือและเท้าของคุณไวต่อสิ่งเร้าและการสัมผัส จนอาจทำให้รู้สึกหนาวเย็น ณ บริเวณนี้ได้ อีกทั้งปลายประสาทยังจะส่งสารบางอย่างไปยังสมองในส่วนที่ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ให้รู้สึกถึงความหนาวเย็นได้
10. กล้ามเนื้ออ่อนแอเกินไป
แพทย์หญิง Margarita Rohr แห่ง NYU Langone Medical Center นิวยอร์ก บอกไว้ว่า กล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยคงอุณหภูมิร่างกายของเราให้สมดุล การมีมวลกล้ามเนื้อมาก หนาแน่นและแข็งแรง จะช่วยให้ระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพไปในตัว และช่วยรักษาความอบอุ่นของร่างกายได้เป็นอย่างดี
อาการหนาวใน หรือหนาวง่ายจึงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนค่ะ ใครที่มีอาการอยู่ ก็ลองสังเกตดูค่ะว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้างจะได้แก้ไขปัญหาจากสาเหตุได้ และก็อย่าลืมที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและบำรุงร่างกายให้มีความสมบูรณ์แข็งแรงให้มากขึ้นด้วยนะคะ ร่างกายจะได้ไม่หนาวอยู่บ่อยๆ ค่ะ
ข้อมูลและภาพจาก kaijeaw