สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิงเป็นคนตลก
โพสท์โดย SpiderMeaw
สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (Stephen W. Hawking) นักฟิสิกส์เชิงทฤษฎี สาขาจักรวาลวิทยาชื่อดัง เราอาจรู้จักเขาในฐานะผู้เขียนหนังสือขายดีหลายเล่มอย่าง ประวัติย่อของกาลเวลา (A brief history of Time), ประวัติย่อของเอกภพ (The Grand Design) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in A Nutshell) หรืออาจเห็นเขาในภาพของชายผู้เอาชนะความพิการ
สตีเฟน ฮอว์คิง เริ่มป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ Amyotrophic Leteral Sclerosis (ALS) เมื่ออายุ 21 ปี และยังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก แรกเริ่มหมอได้วินิจฉัยว่าฮอว์คิงจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามปัจจุบัน 50 ปีผ่านมาแล้ว ฮอว์คิงก็ยังมีชีวิตอยู่
ฮอว์คิงเริ่มเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดในปี 1959 ด้วยอายุเพียง 17 ปี ในช่วงที่ฮอว์คิงศึกษาอยู่ในอ๊อกฟอร์ดนั้น มหาวิทยาลัยเคร่งในเรื่องเพศเป็นอย่างมาก เพียงการถูกพบว่าร่วมหอนอนเตียงกับเพื่อนต่างเพศเท่านั้นก็สามารถทำให้ถูกไล่ออกได้ แต่ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปในการปฏิวัติทางเพศช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากฮอว์คิงสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว
ในตอนที่ฮอว์คิงกำลังจะสำเร็จการศึกษาจากอ๊อกฟอร์ด ฮอว์คิงได้คะแนนคาบเกี่ยวกันระหว่างเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และอันดับสอง ทำให้เขาต้องเข้าสอบสัมภาษณ์กับอาจารย์ว่าเขาสมควรได้อันดับใด ในการสัมภาษณ์ฮอว์คิงได้บอกกับอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ว่า หากเขาได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เขาจะไปศึกษาต่อที่เคมบริดจ์ แต่หากได้อันดับสอง เขาจะอยู่ที่อ๊อกฟอร์ดต่อไป อย่างไรก็ตามฮอว์คิงได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งมา
ฮอว์คิงได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 1962 ในช่วงนั้นเองที่อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของเขาเริ่มชัดเจนขึ้น ฮอว์คิงต้องเผชิญกับร่างกายที่อ่อนแอลงของตน และต้องพยายามทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จเพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ในช่วงนี้เองที่เขาได้พบกับเจน ไวลด์ นักศึกษาศิลปศาสตร์ และกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ต่อสู้กับอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเขาก็ได้แต่งงานกับเธอในท้ายที่สุด
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของฮอว์คิงนั้นมีเนื้อหาครอบคุมถึงการขยายตัวออกของจักรวาล โดยมีพื้นฐานจากทฤษฏีบิ๊กแบง อันให้ข้อสรุปที่ว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของมันเอง (และต่อมาฮอว์คิงก็ได้เขียนทฤษฏีใหม่ ที่ปฏิเสธทฤษฏีเดิมของเขาเอง)
หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ฮอว์คิงได้เริ่มเข้าทำงานต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไป และเน้นหนักไปในทางทฤษฏีหลุมดำ และในสามปีต่อมาเขาก็ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นศาสตราจารย์
สำหรับสตีเฟน ฮอว์คิงแล้ว นอกจากที่เรารู้ว่าเขามีอาชีพเป็นศาสตราจารย์ด้านจักรวาลวิทยา ซึ่งต้องวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์สิ่งต่างๆในเอกภพ เขายังมีกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวพันกับการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า อันกลายมาเป็นที่กล่าวขานกันอยู่อีกด้วยคือ การพนัน
ในระหว่างที่ฮอว์คิงเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และในสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) นอกจากการศึกษาทฤษฏีและสมมติฐานต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ฮอว์คิงยังพนันขันต่อในสิ่งต่างๆในวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ในปี 1975 ระหว่างที่ฮอว์คิงได้ไปทำงานที่คาลเท็ค พาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย ฮอว์คิงได้บอกและพนันกับ คิพ ธอร์น เพื่อนร่วมงานของเขาว่า ในระบบดาวคู่ ซิกนัส X-1 นั้นไม่มีหลุมดำอยู่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขัดกับแนวทางการศึกษาของฮอว์คิงในขณะนั้นที่ศึกษาเรื่องหลุมดำ หลายปีต่อมาสุดท้ายฮอว์คิงก็ได้ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์เรื่องหลุมดำ แต่ผลการทำงานของเขากลับทำให้เขาแพ้พนันให้กับเพื่อนของเขา ซึ่งต้องเสียค่าพนันเป็นการสมัครสมาชิกนิตยสาร Penthouse ให้ ธอร์น เป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งบอกได้เลยว่าภรรยาของธอร์นในขณะนั้นไม่ค่อยพอใจนัก
เรื่องการพนัน เดิมพันของฮอว์คิงยังคงดำเนินต่อไป ในปี 1997 ครั้งนี้ฮอว์คิงจับมือกับ คิพ ธอร์นพนันในข้างเดียวกัน กับจอห์น แพร์สคิล ในตอนนั้นฮอวค์ และนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับหลุมดำว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดหลุมดำออกมาได้ ไม่แม้แต่แสงที่มีความเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นทฤษฏีแรกเริ่มที่มีเกี่ยวกับหลุดดำ แต่ในภายหลังกลับกลายเป็นว่า มีนักวิทยาศาสตร์ค้นพบการแผ่รังสีของหลุมดำ ซึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดหลุมดำไปได้ แต่ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องถกเถียงกันว่า รังสี หรือคลื่นที่แผ่ออกมานั้นคืออะไร และก็เป็นฮอว์คิงอีกนั้นแหละ ที่ได้หาคำตอบให้กับข้อถกเถียงนี้ แม้จะยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายที่ชัดเจนและได้รับการยืนยัน แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง จากทฤษฏีของฮอว์คิงนั้น รังสี หรือคลื่นที่แผ่ออกมานั้นคือการระเหยของหลุมดำ ซึ่งทำให้หลุมดำที่เคยมีมวลเป็นอนันต์ตามทฤษฏีเดิมสามารถลดขนาดลงได้ ซึ่งฮอว์คิงได้ตอบคำถามที่ว่า เมื่อถูกดูดเข้าไปในหลุมดำแล้วหายไปไหน ฮอว์คิงได้อธิบายว่า โดยพื้นฐานตามหลักควอนตัมแล้ว ข้อมูลต่างๆจะไม่หายไป แต่เปลี่ยนสภาพไปในรูปแบบอื่น ซึ่งฮอว์คิงมองว่าสภาพของรังสีที่หลุมดำแผ่ออกมานี้คือข้อมูลที่ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นข้อมูลเสีย หรือข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ยากมากๆ โดยเปรียบเทียบว่า หากเราเผาสารานุกรมไปเล่มหนึ่ง มันจะไม่หายไปหากเราเก็บควันและขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาใหม่นั้นไว้ แต่การจะทำให้มันสามารถอ่านได้เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อรังสีนี้เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ฮอว์คิงว่า รังสีฮอว์คิง
และจากการแพ้พนันครั้งนี้ ฮอว์คิง และธอร์จำเป็นต้องให้สารานุกรมเบสบอลเล่มหนึ่งให้กับ แพร์สคิลตามที่ได้สัญญาเอาไว้ ฮอว์คิงยังคงเสียดายที่ไม่ได้ให้ขี้เถ้าไปแทน
หลังจากที่ฮอว์คิงทำงานในฐานะศาสตราจารย์มาได้ระยะหนึ่ง อาการของเขาก็เริ่มย่ำแย่ลงเรื่องๆ เขาไม่สามารถขยับตัวได้ เขาต้องผ่าหลอดลม ซึ่งส่งผลให้เขาไม่สามารถพูดได้ และต้องสื่อสารกับคนอื่นด้วยการยักคิ้ว เมื่อมีคนช่วยสะกดคำต่างๆที่เขาต้องการพูดให้ แต่ต่อมาเขาก็ได้โปรแกรมอีควอไลเซอร์ ซึ่งช่วยให้เขาสามารถพิมพ์ข้อความได้ด้วยการสวิตช์ในมือ และต่อมาจึงได้เครื่องสร้างเสียงสังเคราะห์ซึ่งช่วยให้เขาสามารถพูดกับผู้อื่นได้
ฮอว์คิงหย่ากับ เจน ภรรยาของเขา ก่อนที่เธอจะไปแต่งงานใหม่ และได้พบรักอีกครั้งกับพยาบาลประจำตัว อีเลน เมสัน ซึ่งต่อมาก็ไม่สามารถแบกรับความกดดันในการดูแลเขา และหย่ากันไปอีก สุดท้ายฮอว์คิงใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังกับแม่บ้านของเขา
เรื่องราวในชีวิตของฮอว์คิง คล้ายจะเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม และความสูญเสีย ยังไม่รวมอีกครั้งที่เขาแพ้พนันให้กับกอร์ดอน เคน เพราะดันไปกล่าวไว้ว่า CERN จะไม่มีวันพบอนุภาคฮิกส์
แต่อย่างไรก็ตาม ฮอว์คิงกลับบอกว่าเขายินดีกับชีวิตของเขาอยู่ลึกๆ เขากล่าวว่าบางครั้งความพิการของเขาก็กลับเป็นข้อได้เปรียบ เขาไม่ต้องใช้เวลาไปกับการสอนหนังสือ ไม่ต้องออกไปพูดบรรยาย เขาได้มีเวลาให้กับตัวเองและงานของเขา ซึ่งนั่นอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้งานวิจัยของเขาก้าวหน้ากว่าใครหลายๆคน
ฮอว์คิงไม่เคยคิดว่าความพิการของเขาคือข้อจำกัด เขาได้เดินทางมาแล้วทั่วโลก (ขาดแค่ทวีปออสเตรเลียเพียงเท่านั้น) เคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ มีลูกที่น่ารัก และประสบความสำเร็จสามคน มีชีวิตที่มหัศจรรย์
โชคร้ายที่อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่อนุญาตให้เราสามารถเห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของชายคนนี้ แต่เราสามารถสัมผัสมันได้ในการบรรยายและงานเขียนของเขา เขาไม่เพียงแต่สร้างความเข้าใจใหม่ๆให้กับวิทยาศาสตร์ แต่เขากลับทำให้ทุกสิ่งเป็นเรื่องตลก แม้แต่เรื่องยากทีสุดอย่างชีวิตของเขาก็ตาม
เรื่องราวชีวิตของฮอว์คิง ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งในชื่อ Hawking และ The Theory of Everything
ปัจจุบันฮอว์คิงยังคงทำงานวิจัยของเขาต่อไป โดยมุ่งไปยังเป้าหมายสูงสุดของฟิสิกต์เชิงทฤษฏี ด้วยการรวมแรงต่างๆไว้ในทฤษฏีเดียว เพื่ออธิบายครอบคลุมทั้ง ทฤษฏีควอนตัม อันใช้อธิบายถึงสิ่งที่เล็กที่สุด ไปถึงทฤษฏีสัมพันธ์ภาพทั่วไป ที่ใช้อธิบายถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ทฤษฏีพื้นฐานทฤษฏีเดียวที่อธิบายทุกอย่างในจักรวาล ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything)
“Life would be Tragic, If it weren’t Funny”
“ชีวิตคงเป็นเรื่องเศร้า หากมันไม่ตลก”
Stephen W. Hawking
สตีเฟน ฮอว์คิง เริ่มป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ Amyotrophic Leteral Sclerosis (ALS) เมื่ออายุ 21 ปี และยังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก แรกเริ่มหมอได้วินิจฉัยว่าฮอว์คิงจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่นาน แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามปัจจุบัน 50 ปีผ่านมาแล้ว ฮอว์คิงก็ยังมีชีวิตอยู่
ฮอว์คิงเริ่มเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดในปี 1959 ด้วยอายุเพียง 17 ปี ในช่วงที่ฮอว์คิงศึกษาอยู่ในอ๊อกฟอร์ดนั้น มหาวิทยาลัยเคร่งในเรื่องเพศเป็นอย่างมาก เพียงการถูกพบว่าร่วมหอนอนเตียงกับเพื่อนต่างเพศเท่านั้นก็สามารถทำให้ถูกไล่ออกได้ แต่ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปในการปฏิวัติทางเพศช่วงทศวรรษ 1960 ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากฮอว์คิงสำเร็จการศึกษาออกไปแล้ว
ในตอนที่ฮอว์คิงกำลังจะสำเร็จการศึกษาจากอ๊อกฟอร์ด ฮอว์คิงได้คะแนนคาบเกี่ยวกันระหว่างเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และอันดับสอง ทำให้เขาต้องเข้าสอบสัมภาษณ์กับอาจารย์ว่าเขาสมควรได้อันดับใด ในการสัมภาษณ์ฮอว์คิงได้บอกกับอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ว่า หากเขาได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เขาจะไปศึกษาต่อที่เคมบริดจ์ แต่หากได้อันดับสอง เขาจะอยู่ที่อ๊อกฟอร์ดต่อไป อย่างไรก็ตามฮอว์คิงได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งมา
ฮอว์คิงได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 1962 ในช่วงนั้นเองที่อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของเขาเริ่มชัดเจนขึ้น ฮอว์คิงต้องเผชิญกับร่างกายที่อ่อนแอลงของตน และต้องพยายามทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จเพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ในช่วงนี้เองที่เขาได้พบกับเจน ไวลด์ นักศึกษาศิลปศาสตร์ และกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ต่อสู้กับอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเขาก็ได้แต่งงานกับเธอในท้ายที่สุด
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของฮอว์คิงนั้นมีเนื้อหาครอบคุมถึงการขยายตัวออกของจักรวาล โดยมีพื้นฐานจากทฤษฏีบิ๊กแบง อันให้ข้อสรุปที่ว่าจักรวาลมีจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของมันเอง (และต่อมาฮอว์คิงก็ได้เขียนทฤษฏีใหม่ ที่ปฏิเสธทฤษฏีเดิมของเขาเอง)
หลังจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ฮอว์คิงได้เริ่มเข้าทำงานต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในสาขาทฤษฏีสัมพันธภาพทั่วไป และเน้นหนักไปในทางทฤษฏีหลุมดำ และในสามปีต่อมาเขาก็ได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นศาสตราจารย์
สำหรับสตีเฟน ฮอว์คิงแล้ว นอกจากที่เรารู้ว่าเขามีอาชีพเป็นศาสตราจารย์ด้านจักรวาลวิทยา ซึ่งต้องวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์สิ่งต่างๆในเอกภพ เขายังมีกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวพันกับการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า อันกลายมาเป็นที่กล่าวขานกันอยู่อีกด้วยคือ การพนัน
ในระหว่างที่ฮอว์คิงเป็นศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และในสถาบันเทคโนโลยีแห่งแคลิฟอร์เนีย (Caltech) นอกจากการศึกษาทฤษฏีและสมมติฐานต่างๆทางวิทยาศาสตร์ ฮอว์คิงยังพนันขันต่อในสิ่งต่างๆในวิทยาศาสตร์อีกด้วย
ในปี 1975 ระหว่างที่ฮอว์คิงได้ไปทำงานที่คาลเท็ค พาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย ฮอว์คิงได้บอกและพนันกับ คิพ ธอร์น เพื่อนร่วมงานของเขาว่า ในระบบดาวคู่ ซิกนัส X-1 นั้นไม่มีหลุมดำอยู่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขัดกับแนวทางการศึกษาของฮอว์คิงในขณะนั้นที่ศึกษาเรื่องหลุมดำ หลายปีต่อมาสุดท้ายฮอว์คิงก็ได้ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์เรื่องหลุมดำ แต่ผลการทำงานของเขากลับทำให้เขาแพ้พนันให้กับเพื่อนของเขา ซึ่งต้องเสียค่าพนันเป็นการสมัครสมาชิกนิตยสาร Penthouse ให้ ธอร์น เป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งบอกได้เลยว่าภรรยาของธอร์นในขณะนั้นไม่ค่อยพอใจนัก
เรื่องการพนัน เดิมพันของฮอว์คิงยังคงดำเนินต่อไป ในปี 1997 ครั้งนี้ฮอว์คิงจับมือกับ คิพ ธอร์นพนันในข้างเดียวกัน กับจอห์น แพร์สคิล ในตอนนั้นฮอวค์ และนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับหลุมดำว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดหลุมดำออกมาได้ ไม่แม้แต่แสงที่มีความเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นทฤษฏีแรกเริ่มที่มีเกี่ยวกับหลุดดำ แต่ในภายหลังกลับกลายเป็นว่า มีนักวิทยาศาสตร์ค้นพบการแผ่รังสีของหลุมดำ ซึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดหลุมดำไปได้ แต่ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องถกเถียงกันว่า รังสี หรือคลื่นที่แผ่ออกมานั้นคืออะไร และก็เป็นฮอว์คิงอีกนั้นแหละ ที่ได้หาคำตอบให้กับข้อถกเถียงนี้ แม้จะยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายที่ชัดเจนและได้รับการยืนยัน แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง จากทฤษฏีของฮอว์คิงนั้น รังสี หรือคลื่นที่แผ่ออกมานั้นคือการระเหยของหลุมดำ ซึ่งทำให้หลุมดำที่เคยมีมวลเป็นอนันต์ตามทฤษฏีเดิมสามารถลดขนาดลงได้ ซึ่งฮอว์คิงได้ตอบคำถามที่ว่า เมื่อถูกดูดเข้าไปในหลุมดำแล้วหายไปไหน ฮอว์คิงได้อธิบายว่า โดยพื้นฐานตามหลักควอนตัมแล้ว ข้อมูลต่างๆจะไม่หายไป แต่เปลี่ยนสภาพไปในรูปแบบอื่น ซึ่งฮอว์คิงมองว่าสภาพของรังสีที่หลุมดำแผ่ออกมานี้คือข้อมูลที่ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นข้อมูลเสีย หรือข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ยากมากๆ โดยเปรียบเทียบว่า หากเราเผาสารานุกรมไปเล่มหนึ่ง มันจะไม่หายไปหากเราเก็บควันและขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาใหม่นั้นไว้ แต่การจะทำให้มันสามารถอ่านได้เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อรังสีนี้เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ฮอว์คิงว่า รังสีฮอว์คิง
และจากการแพ้พนันครั้งนี้ ฮอว์คิง และธอร์จำเป็นต้องให้สารานุกรมเบสบอลเล่มหนึ่งให้กับ แพร์สคิลตามที่ได้สัญญาเอาไว้ ฮอว์คิงยังคงเสียดายที่ไม่ได้ให้ขี้เถ้าไปแทน
หลังจากที่ฮอว์คิงทำงานในฐานะศาสตราจารย์มาได้ระยะหนึ่ง อาการของเขาก็เริ่มย่ำแย่ลงเรื่องๆ เขาไม่สามารถขยับตัวได้ เขาต้องผ่าหลอดลม ซึ่งส่งผลให้เขาไม่สามารถพูดได้ และต้องสื่อสารกับคนอื่นด้วยการยักคิ้ว เมื่อมีคนช่วยสะกดคำต่างๆที่เขาต้องการพูดให้ แต่ต่อมาเขาก็ได้โปรแกรมอีควอไลเซอร์ ซึ่งช่วยให้เขาสามารถพิมพ์ข้อความได้ด้วยการสวิตช์ในมือ และต่อมาจึงได้เครื่องสร้างเสียงสังเคราะห์ซึ่งช่วยให้เขาสามารถพูดกับผู้อื่นได้
ฮอว์คิงหย่ากับ เจน ภรรยาของเขา ก่อนที่เธอจะไปแต่งงานใหม่ และได้พบรักอีกครั้งกับพยาบาลประจำตัว อีเลน เมสัน ซึ่งต่อมาก็ไม่สามารถแบกรับความกดดันในการดูแลเขา และหย่ากันไปอีก สุดท้ายฮอว์คิงใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังกับแม่บ้านของเขา
เรื่องราวในชีวิตของฮอว์คิง คล้ายจะเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม และความสูญเสีย ยังไม่รวมอีกครั้งที่เขาแพ้พนันให้กับกอร์ดอน เคน เพราะดันไปกล่าวไว้ว่า CERN จะไม่มีวันพบอนุภาคฮิกส์
แต่อย่างไรก็ตาม ฮอว์คิงกลับบอกว่าเขายินดีกับชีวิตของเขาอยู่ลึกๆ เขากล่าวว่าบางครั้งความพิการของเขาก็กลับเป็นข้อได้เปรียบ เขาไม่ต้องใช้เวลาไปกับการสอนหนังสือ ไม่ต้องออกไปพูดบรรยาย เขาได้มีเวลาให้กับตัวเองและงานของเขา ซึ่งนั่นอาจเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้งานวิจัยของเขาก้าวหน้ากว่าใครหลายๆคน
ฮอว์คิงไม่เคยคิดว่าความพิการของเขาคือข้อจำกัด เขาได้เดินทางมาแล้วทั่วโลก (ขาดแค่ทวีปออสเตรเลียเพียงเท่านั้น) เคยมีโอกาสได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธ มีลูกที่น่ารัก และประสบความสำเร็จสามคน มีชีวิตที่มหัศจรรย์
โชคร้ายที่อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่อนุญาตให้เราสามารถเห็นรอยยิ้มบนใบหน้าของชายคนนี้ แต่เราสามารถสัมผัสมันได้ในการบรรยายและงานเขียนของเขา เขาไม่เพียงแต่สร้างความเข้าใจใหม่ๆให้กับวิทยาศาสตร์ แต่เขากลับทำให้ทุกสิ่งเป็นเรื่องตลก แม้แต่เรื่องยากทีสุดอย่างชีวิตของเขาก็ตาม
เรื่องราวชีวิตของฮอว์คิง ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งในชื่อ Hawking และ The Theory of Everything
ปัจจุบันฮอว์คิงยังคงทำงานวิจัยของเขาต่อไป โดยมุ่งไปยังเป้าหมายสูงสุดของฟิสิกต์เชิงทฤษฏี ด้วยการรวมแรงต่างๆไว้ในทฤษฏีเดียว เพื่ออธิบายครอบคลุมทั้ง ทฤษฏีควอนตัม อันใช้อธิบายถึงสิ่งที่เล็กที่สุด ไปถึงทฤษฏีสัมพันธ์ภาพทั่วไป ที่ใช้อธิบายถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ทฤษฏีพื้นฐานทฤษฏีเดียวที่อธิบายทุกอย่างในจักรวาล ทฤษฏีแห่งสรรพสิ่ง (Theory of Everything)
“Life would be Tragic, If it weren’t Funny”
“ชีวิตคงเป็นเรื่องเศร้า หากมันไม่ตลก”
Stephen W. Hawking
ขอบคุณที่มา:ThePen writer
https://storylog.co/story/571f81379b3393e40457b9e6
https://storylog.co/story/571f81379b3393e40457b9e6
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
24 VOTES (4/5 จาก 6 คน)
VOTED: igolf, อาล์ฟเตอร์, Love Paradise, แมวฮั่ว แมวขี้น้อยใจ
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ผัวช็อก!! หลังเมียคลอดลูกออกมา ลูกมีผิวดำHot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“เดือดสนั่นวงการ! MGI สั่งปลดฟ้าผ่า ‘แตแต’ มิสแกรนด์เมียนมา แฟนนางงามสะเทือน!”"หมูเด้ง" ทายผลว่า "ทรัมป์" จะชนะการตั้งมะกันสะเทือนใจ! เด็กถูกสุนัขกัดกลางถนน ไม่มีใครช่วยกระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
"ทนายไพศาล" โต้ข่าวลือ! ยันไม่เกี่ยวข้องคดีหมอดูฮวงจุ้ย พร้อมช่วยเหลือเหยื่อแจ้งความเอาผิดลุงเมาตกท้ายรถ นอนกลางถนนมิตรภาพ หวิดถูกชนดับ'หมูเด้ง' ทายผลเลือกตั้ง ปธน.อเมริกา น้องเลือกกินแก้วมังกรลุงทรัมป์หนุ่มไต้หวัน ซื้อบริการหญิงไทย ช็อกดับน้ำสอง ตำรวจตรวจสอบพบ ที่แท้เป็นสาวประเภทสองเเปลงเพศ