สิ่งที่ฉันได้จากการเป็นแอร์โฮสเตสมานานกว่า 20 ปี
คุณคงรู้สึกคุ้นตากับภาพลักษณ์ของบรรดาพนักงานสาวต้อนรับบนเครื่องบินสุดเซ็กซี่ในเครื่องแบบอันทันสมัยซึ่งกำลังจิบแชมเปญอยู่ในอ้อมแขนของนักบินสุดหล่อที่นำแสดงโดย ลีโอนาร์โด ดิคาร์ปิโอ ใช่ไหม? ลืมๆไปเถอะเพราะทั้งหมดนี้ห่างไกลจากความจริงพอๆกับการมีเซ็กส์อันเร่าร้อนในห้องน้ำเครื่องบินหรือการเจองูตัวเป็นๆเลื้อยอยู่บนเครื่องบินนั่นแหละ
ใช่แล้วอาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินนั้นช่างโก้หรูเหลือเกินในสายตาคนทั่วโลก แต่ต้องหลังจากที่ยืนขาแข็งเป็นเวลา 15 ชั่วโมงเพื่อเสิร์ฟแชมเปญให้กับพวกคุณนะ ดังนั้นวันนี้แมดเดอลีน ดอยล์ พนักงานสาวต้อนรับบนเครื่องบินผู้กรำศึกบนฟากฟ้าทั้งเส้นทางในประเทศและต่างประเทศมานานกว่า 20 ปีจะมาถ่ายทอดเรื่องราวและประสบการณ์ต่างๆที่เธอได้เรียนรู้จากการบินที่บางครั้งก็ไม่ค่อยจะเป็นมิตรสักเท่าไหร่ให้พวกเราทุกคนได้เข้าใจกัน
“ในช่วงที่ฉันเริ่มกลับมาบินเป็นรอบที่สองเมื่อสิบปีก่อน ฉันจำเป็นต้องเข้าร่วมโครงการคูปองอาหารเนื่องจากค่าจ้างขั้นต่ำนั้นเลวร้ายสุดๆ เรียกได้ว่าพนักงานใหม่แทบจะถังแตกเลยทีเดียวและต้องอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์ทั้งวันทั้งคืน เราได้รับค่าจ้างตามเวลาที่บิน ซึ่งหมายความว่าหากพวกเขาปิดประตูและเรานั่งเป็นเวลา 30 นาทีเราก็จะไม่ได้ค่าจ้างในส่วนนี้ รวมถึงช่วงเวลาก่อนบินที่เราต้องประจำการอยู่ที่นั่นด้วย”
สวัสดิการของเราดีแต่ก็ไม่ได้ดีขนาดนั้น
“แม้ว่าทุกสายการบินจะแตกต่างกันแต่หลังจากที่ผ่านช่วงทดลองงานตั้งแต่หกเดือนถึงหนึ่งปีคุณก็จะได้รับสวัสดิการ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีส่วนลดในการบินและส่วนใหญ่คุณจะจ่ายแค่ภาษีเท่านั้น ที่สำคัญยังมีการจัดลำดับชั้นในสังคมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอีกด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับวันจ้างงานและสถานะการจ้างงานด้วย ลำดับแรกคือพนักงานกินเงินเดือน ลำดับสองคือพนักงานที่เกษียณแล้ว ลำดับสามคือเพื่อนและครอบครัว และลำดับสี่คือพนักงานที่มีสิทธิ์พาเพื่อนเข้าไปได้หนึ่งคน ซึ่งวันจ้างงานในครั้งที่สองของฉันคือปี 2006 ดังนั้นใครก็ตามที่ถูกจ้างงานก่อนปี 2005 จะได้ที่นั่งสวัสดิการก่อนฉัน”
แต่เมื่อพวกเขาทำงานก็น่าอิจฉาจริงๆ
“จะว่าไปเราก็มีสิทธิพิเศษจริงๆ เช่น ถ้าฉันมีวันหยุดสามวันและลูกสาวของฉันก็มีวันหยุดสามวัน ฉันสามารถพูดได้ทันทีเลยว่า ‘อยากไปลอนดอนไหม?’ และเราก็ออกเดินทางกันได้เลย”
ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการเดินทางไปทำงานของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินอีกแล้ว
“เราจำเป็นต้องเดินทางมากกว่าร้อยละ 70 เนื่องจากเราไม่สามารถหาที่พักในเมืองใหญ่ๆได้ อันที่จริงปกติเราก็สามารถใช้สวัสดิการและหาที่พักในโรงแรมได้หากต้องบินในวันรุ่งขึ้น แต่ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝัน เช่น พายุเฮอร์ริเคนในลอสคาบอสแล้วต้องย้ายคนไปที่ซานดิเอโก้ล่ะ? สายการบินต้องช่วยผู้โดยสารก่อนอยู่แล้ว ฉันต้องขับรถจากซานดิเอโก้ไปซานฟรานซิสโกก่อนที่จะตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉินเพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่พลาดเที่ยวบิน
ฉันรักงานนี้นะ แต่ฉันแค่เกลียดเวลาที่ต้องไปทำงานเพราะการเดินทางเป็นส่วนที่เครียดที่สุด รู้ไหมว่าขณะที่ฉันกำลังเดินอยู่ท่ามกลางฝูงชนในอาคารผู้โดยสาร ชีวิตช่างวิเศษเหลือเกิน แต่กว่าจะไปถึงที่นั่นถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายสุดๆ”
Blogger : Meagan Drillinger
Source : huffingtonpost.com