ปภ.รายงานมีจังหวัดประสบวาตภัย 4 จังหวัด
ปภ.รายงานมีจังหวัดประสบวาตภัย 4 จังหวัด
พร้อมประสาน 31 จังหวัดรับมือพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 20 – 21 เม.ย. 59
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 มีจังหวัดได้รับผลกระทบจากวาตภัย 4 จังหวัด 12 อำเภอ 14 ตำบล 34 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 722 หลังคาเรือน
ซึ่ง ปภ.ได้ประสานจังหวัดเร่งช่วยเหลือผู้ประสบภัย พร้อมจัดเจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ รวมถึงประสาน 31 จังหวัด ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง เตรียมพร้อมรับมือพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะอากาศของฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 20 – 21 เมษายน 2559
โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศและเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย จัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมเผชิญเหตุและให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตลอด 24 ชั่วโมง
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2559 มีจังหวัดได้รับผลกระทบจากวาตภัย 4 จังหวัด 12 อำเภอ 14 ตำบล 34 หมู่บ้าน บ้านเรือนเสียหาย 722 หลังคาเรือน ได้แก่ เลย ชัยภูมิ มุกดาหาร และเชียงราย ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ประสานจังหวัดเร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้น โดยแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภค กระเบื้องมุงหลังคาและวัสดุอุปกรณ์ซ่อมแซมบ้านเรือนแก่ผู้ประสบภัย รวมถึงสำรวจความเสียหายของพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ทั้งนี้
จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 20 – 21 เมษายน 2559 ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง จะเกิดพายุฤดูร้อน โดยมีลักษณะอากาศของฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งในพื้นที่ 31 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา แพร่ น่าน กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ อุบราชธานี นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และตราด ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ได้ประสาน 31 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่เสี่ยงภัย จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตาม
เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยทันทีที่เกิดภัย อีกทั้งตรวจสอบสิ่งก่อสร้างและป้ายโฆษณาให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ตัดแต่งกิ่งไม้และโค่นต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงบริเวณริมถนนและพื้นที่ชุมชน เพื่อป้องกันการล้มทับ ก่อให้เกิดอันตรายได้
กรณีสถานการณ์รุนแรงได้เน้นย้ำให้ดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อประสานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากพายุฤดูร้อน สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือ
ได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
https://www.facebook.com/404211626310580/photos/a.405047489560327.87908.404211626310580/1008495525882184/?type=3&theater