ทำความเข้าใจอีกด้านเรื่องรถไฟไทย-จีน โดย ไพศาล พืชมงคล และ Zheng Xin
ทำความเข้าใจอีกด้านเรื่องรถไฟไทย-จีน โดย ไพศาล พืชมงคล และ Zheng Xin
อาร์โนลด์ ชวาเซนเนเกอร์ เดินทางไปดูรถไฟความเร็วสูงที่ประเทศจีนในขณะที่เขาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อปี 2010 ( Photo/Guancha.cn)
เฟซบุ๊กของ Paisal Puechmongkol (ไพศาล พืชมงคล) บอกว่ามีการปั่นกระแสให้ไทยกับจีนทะเลาะกันเหตุน่าจะมาจากกลุ่มผลประโยชน์รถยนต์ต่างชาติ ทีญี่ปุ่นซื้อที่ดินตลอดสุขุมวิทและเอาคนมาตั้งเมืองหลายแห่งทำเป็นไม่เห็น ทางด้านเฟซบุ๊กของ บุญเลิศ ใฝ่ธรรม นำข้อเขียนของ Zheng Xin นักวิชาการจากสาธารณรัฐประชาชนชนจีนมาชี้แจงเรื่องความร่วมมือรถไฟไทย-จีนมาให้อ่าน เมื่ออ่านเสร็จก็คิดพิจารณาด้วยตัวเอง ดังนี้......
“การปั่นกระแสให้คนไทยเกลียดชังทะเลาะกับจีนกำลังขยายตัวและน่าจับตามากขึ้นทุกที
มีการปล่อยข่าวโกหกจนน่าตกใจ
เช่นการปล่อยข่าวจีนจะยึดไทย หรือข่าวจีนจะยึดที่ดินสองข้างทางรถไฟ
โกหกทั้งสิ้น!!
แต่ที่น่าจับตาคือขบวนการปล่อยข่าวแบบนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มผลประโยชน์รถยนต์ต่างชาติและขบวนการโครงสร้างพื้นฐานที่ก่อหนี้ทำให้ไทยมีหนี้ต่างประเทศจากชาติเดียวถึง 90%
คนไทยตัองจับตาเรื่องนี้และต้องฟังเรื่องแบบนี้ด้วยการไตร่ตรองให้มากขึ้นแล้วครับ
ผมยกตัวอย่างทัวร์ฝรั่งมามั่วเซ็กมั่วยาทำเป็นไม่เห็น ทัวร์จีนเสียงดังทำเป็นทนไม่ได้จะเป็นจะตาย แบบนี้คืออะไร?
ญี่ปุ่นซื้อที่ดินตลอดสุขุมวิทและเอาคนเข้ามาตั้งเมืองหลายแห่งทำเป็นไม่เห็น ทีคนไทยร่วมทุนจีนสร้างอาคารพาณิชย์กลับปั่นว่ามายึดประเทศไทย
ทะเลาะกันเองไม่พอ ยังอยากทะเลาะกับจีนอีกนักหรือ
ไทยต้องดำรงความเป็นไทยจึงจะรอดปลอดภัย!!
บุญเลิศ ใฝ่ธรรม ส่งต้นฉบับนี้มาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 ระบุว่า (๕/๓) พวกนักปล่อยข่าวรถไฟไทย-จีนเชิญอ่านครับ
ข้อเขียนของ Zheng Xin นักวิชาการจากสาธารณรัฐประชาชนชนจีน
"ข้อเท็จจริงเรื่องความร่วมมือเรื่องรถไฟระหว่างไทยจีน”
ฝ่ายจีนไม่เคยเรียกร้องสิทธิในการพัฒนาและใช้สอยที่ดิน 2 ข้างทางรถไฟ!!
วันก่อนหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งได้ตีพิมพ์บทความในคอลัมน์พิเศษภายใต้หัวเรื่อง “มีแต่ขาดทุน” หยิบยกเอากรณีความร่วมมือเรื่องรถไฟระหว่างไทยจีน แต่ระบุทำนองว่า “ฝ่ายจีนเรียกร้องฝ่ายไทยกู้เงินจากธนาคารจีนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก” “ประเทศจีนขอรับผิดชอบออกแบบโครงการเอง ก่อสร้างเอง และ เดินรถเอง” ตลอดจน “ฝ่ายจีนขอสิทธิในการพัฒนาและใช้สอยที่ดิน 2 ข้างทางรถไฟระยะทาง 873 กิโลเมตร” จนทำไปสู่ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่า “จีนได้เปรียบประเทศไทยเต็ม ๆ”
แต่ว่า “ข้อเท็จจริง” กลับไม่ได้เป็นไปเช่นนั้นเลย
ประการแรก เกี่ยวกับเรื่องที่ฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยกู้เงินจากธนาคารจีนในอัตราดอกเบี้ยที่สูงมาก
ข้อเท็จจริงคือ การใช้รูปแบบวิธีการใดในการระดมทุน เป็นสิทธิเสรีภาพของไทย ขอเพียงแต่สามารถระดมเงินทุนที่ใช้ในการก่อสร้างทางรถไฟได้ ฝ่ายจีนไม่สนใจว่าไทยจะใช้รูปแบบและวิธีการใดในการระดมทุน ฝ่ายไทยอาจยื่นความจำนงต่อฝ่ายจีนขอเงินกู้พิเศษหรือเรียกว่า Preferential Export Buyer’s Credit หรือจะใช้วิธีส่วนหนึ่งหาแหล่งทุนจากนานาชาติอีก ส่วนหนึ่งกู้ยืมจากฝ่ายจีน หรือจะใช้วิธีกู้ยืมแบบผสมผสานจากนานาชาติก็ได้ ฝ่ายไทยสามารถเลือกวิธีระดมทุนที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศชาติตนได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว
ประการต่อมา เกี่ยวกับเรื่องที่ประเทศจีนขอรับผิดชอบออกแบบโครงการเอง ก่อสร้างเอง และเดินรถเอง
ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายจีนเสนอให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือด้วยรูปแบบ EPC ซึ่งก็คือฝ่ายไทยรับผิดชอบจัดหาเงินทุน ประเทศจีนรับเหมาก่อสร้างเสร็จแล้วมอบให้ฝ่ายไทยเดินรถ แม้แต่โครงการก่อสร้างก็ไม่ใช่ว่าบริษัทจีนรับเหมาทั้งหมด ฝ่ายไทยอาจรับผิดชอบงานก่อสร้างด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบงานวิศวกรรมด้านเทคนิค เช่นสัญญาณ ระบบการควบคุมเป็นต้น ซึ่งมีเนื้องานค่อนข้างยาก ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าไทย-จีนสองฝ่ายร่วมมือกันดำเนินงานก่อสร้าง
ประการสุดท้าย เกี่ยวกับเรื่องที่ฝ่ายจีนเรียกร้องสิทธิในการพัฒนาและใช้สอยที่ดิน 2 ข้างทางรถไฟ ระยะทาง 873กิโลเมตรนั้น
ข้อเท็จจริงคือ ฝ่ายจีนไม่เคยมีข้อเรียกร้องอันไร้เหตุผลเช่นนี้มาก่อน และต่อไปก็จะไม่มีข้อเสนอนี้ แน่นอน ถ้าหากรัฐบาลไทยจะทำโครงการด้านการเกษตรหรือทำเขตอุตสาหกรรมตามเส้นทางรถไฟและยินดีให้บริษัทจีนเข้าร่วมด้วย นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
“ข้อเท็จจริง” ที่สรุปมาให้นั้นเห็นได้ว่า ทุกอย่างเป็นไปเพื่อประโยชน์ร่วมกัน การกล่าวว่า “รัฐบาลไทยยินยอมให้จีนใช้ดินแดนไทยเป็นทางผ่านเพื่อขนสินค้าจีนไม่จำกัดจำนวน โครงการนี้ จีนได้ประโยชน์มากกว่าไทยหลายเท่าตัว และไทยมีแต่ขาดทุน” นั้นเป็นคำกล่าวที่ไม่มีเหตุผลเลย ข้อวิพากษ์วิจารณ์ชนิดนี้ ไม่เพียงแต่บิดเบือนความจริงของความร่วมมือเรื่องรถไฟระหว่างไทยจีนเท่านั้น ยังบิดเบือนความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างจีนไทยอีกด้วย
จีนไทยไม่ใช่อื่นไกลพี่น้องกัน ประชาชนทั้ง 2 ประเทศมีความรักความผูกพันประหนึ่งพี่น้องกัน ปัจจุบันความร่วมมือที่อำนวยประโยชน์แก่กันในปริมณฑลด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจการค้า การเงิน การซื้อขายพืชผลการเกษตรระหว่างไทยจีนกำลังพัฒนาไปอย่างคึกคัก ประเทศจีนกลายเป็นประเทศที่นำเข้าพืชผลการเกษตรของไทยมากที่สุดประเทศหนึ่ง คนจีนจะไม่ปล่อยให้พี่น้องและคนในครอบครัวของตัวเองเสียเปรียบแน่นอน
ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่น การก่อสร้างทางรถไฟของจีนได้เปรียบทั้งความชำนาญ ราคา และคุณภาพอีกทั้งมีรูปแบบยืดหยุ่นคล่องตัวที่สุด ในความร่วมมือก่อสร้างทางรถไฟกับไทยนั้น ประเทศจีนยังจะถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องให้แก่ไทย ช่วยประเทศไทยฝึกอบรมบุคลากรการรถไฟ เหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาอันยาวไกลของประเทศไทยทั้งสิ้น
ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์บางฉบับยังเคยตีพิมพ์บทความเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระหว่างจีนกับญี่ปุ่น ว่า “อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ญี่ปุ่นเสนอแก่ไทยนั้นดีกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของจีน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเป็นมิตรที่แท้จริงของไทย”
แน่นอน ในหลายสิบปีมานี้ ญี่ปุ่นทำความร่วมมือกับประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้น จะให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำกว่า 2 % ตลอดมา แต่ในโลกนี้ไม่มีอาหารมื้อกลางวันฟรีแน่นอน ค่าตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ค่อนข้างต่ำก็คือจะต้องนำเข้าอุปกรณ์ส่วนใหญ่จากประเทศญี่ปุ่น ค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ที่มีราคาสูงบวกกับค่าก่อสร้างและค่าบำรุงรักษา ต่อจากนั้น ทำให้ค่าใช้จ่ายของโครงการทั้งโครงการเป็นมหาศาล อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ประเทศจีนให้กู้แก่ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึงแม้จะสูงกว่าของญี่ปุ่นนิดหน่อย แต่อุปกรณ์ของจีนราคาถูกคุณภาพดี ต้นทุนก่อสร้างโครงการและต้นทุนซ่อมบำรุงจะต่ำกว่าของญี่ปุ่นมาก
ฉะนั้นถ้าให้จีนช่วยเหลือทางด้านเงินกู้และดำเนินการก่อสร้างโครงการจะได้เปรียบมากกว่า และนี่คือเหตุผลสำคัญที่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม ลาว กัมพูชา พม่า ฟิลิปปินส์ต่างเลือกใช้เงินกู้จากประเทศจีน
อีกทั้งอัตราดอกเบี้ยของญี่ปุ่นคืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของตระกูลเงินเยน ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารนำเข้าและส่งออกของจีนเป็นอัตราดอกเบี้ยของตระกูลเงินเหรียญสหรัฐฯ ความได้เปรียบเสียเปรียบของอัตราดอกเบี้ยจะแตกต่างกัน จะถือเอาความสูงต่ำของอัตราดอกเบี้ยมาเปรียบเทียบกันแบบง่ายๆ ไม่ได้ ต่อปัญหานี้เชื่อว่าผู้เชี่ยวชาญการเงินจะมีความเข้าใจเป็นอย่างดี
ความร่วมมือในโครงการก่อสร้างทางรถไฟตั้งอยู่บนฐานความสัมพันธ์แบบมิตรไมตรีฉันท์พี่น้องของจีนไทยทั้งสองประเทศ ความร่วมมือชนิดนี้ล่วนเป็นประโยชน์และได้กำไรทั้งสองฝ่าย ซึ่งทุกฝ่ายน่าจะทำการศึกษาอย่างจริงจัง และหาหนทางแสวงหาความร่วมมือที่ดีที่สุดร่วมกัน”
Zheng Xin นักวิชาการจากสาธารณรัฐประชาชนชนจีน