อลังกาล งานแต่ง เจ้าสาวเต็มไปด้วยทองๆๆๆ มาดูความสุดเว่อร์วังอลังการของพวกเธอกัน!
เนื่องจากคนไทยจำนวนมากมีบรรพบุรุษเชื้อสายจีน ทำให้ขนมธรรมเนียมการแต่งงานแบบจีนยังคงมีให้เห็นอยู่สม่ำเสมอ แม้ว่าจะมีการปรับเปลี่ยนไปบ้างตามยุคสมัยเพื่อให้ง่ายขึ้น และด้วยเหตุผลที่ปัจจุบันมีการผสมผสานการแต่งงานเข้ากับหลายวัฒนธรรมทำให้ เกิดความสับสน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีลักษณะของความเป็นจีนให้เห็นอย่างชัดเจน การแต่งงานตามขนบธรรมเนียมจีนดูเหมือนจะง่าย แต่เมื่อคู่บ่าวสาวคู่ใดที่จะต้องจัดงานตามรูปแบบดังกล่าวก็จะรู้สึกปวดหัว และมึนงงกับความซับซ้อนและสิ่งของที่ตระเตรียมเป็นอย่างมาก
เรื่องราวทั้งหมดจะเริ่มขึ้นเมื่อทางฝ่ายพ่อและแม่ของคู่บ่าวสาวนำดวงของ ทั้งคู่ไปให้ซินแซ ดูฤกษ์หาวันที่ดีที่สุดให้ เมื่อได้ฤกษ์และตกลงกันได้เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมาเตรียมงานพิธีที่จะเกิดขึ้น
สิ่งที่เจ้าบ่าวต้องเตรียม :
เชิญผู้ใหญ่ที่ครอบครัวสมบูรณ์ มีลูกดกและคู่ชีวิตยังมีชีวิตอยู่ มาทำพิธีปูเตียงในห้องหอ พร้อมทั้งให้พร โดยจะต้องใช้ผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่มใหม่ เพื่อความเป็นสิริมงคล และ จัดส้ม 4 ลูก วางไว้บนเตียง นอกจากนี้จะต้องเตรียม “ขนมขันหมาก” ได้แก่ ขนมและผลไม้ต่างๆ มามอบให้ครอบครัวเจ้าสาวก่อนถึงวันแต่งงาน พร้อมติดกระดาษอักษรจีนสีแดงว่า “ซังฮี้” แปลว่า “ความสุขยกกำลังสอง
สำหรับเครื่องขั้นหมากที่ต้องจัดเตรียม
สินสอดทองหมั้น (เพ้งกิม) โดยส่วนมากจะเป็นการจัดแบบ 4 อย่างให้ครบใน 1 ชุด เพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น กำไลทอง สร้อยคอทองคำ ตุ้มหูทอง เข็มขัดทอง
กล้วย มาเป็นเครือเขียวๆ ควรจะต้องเป็นเลขคู่ ติดหนังสือตัวแดง “ซังฮี้”
อ้อย 1 คู่ ยกทั้งต้น เชื่อว่าให้คู่ชีวิตหวานชื่น
ส้มเช้งเขียว ติดตัวหนังสือแดง “ซังฮี้” ทุกผล เป็นเลขคู่ตามจำนวนที่ฝ่ายหญิงกำหนด
ขนมหมั้น หรือ ขนมแต่งงาน “โหงวเส็กทิ้ง” ประกอบด้วย ขนมเหนียวเคลือบงา ขนมเปี๊ยะโรยงา ขนมถั่วตัด ขนมข้าวพองทุบ และขนมโก๋อ่อน บางบ้านอาจขอขนมเพิ่ม เช่น คุ้กกี้กล่องสีแดง ฝ่ายหญิงมักกำหนด โดยนับตามจำนวนแขกที่จะมาในงาน
ชุดหมู 3 ถาด ถาดแรก เป็นหัวหมูพร้อม 4 เท้าและหาง ตรงเล็บตัดเรียบร้อย ติดตัวหนังสือแดง “ซังฮี้” ถาดที่สอง เป็นถาดขาหมูสดติดตัวอักษรแดง “ซังฮี้” และถาดที่สาม เป็นเนื้อหมู ตรงส่วนท้องของแม่หมู
ของเซ่นไหว้ที่บ้านเจ้าสาว 2 ชุด ได้แก่ สำหรับไว้เจ้าที่ และสำหรับไหว้บรรพบุรุษ
สิ่งที่เจ้าสาวต้องเตรียม :
ข้าวของเครื่องใช้เจ้าสาว ได้แก่ เซฟใส่เครื่องประดับ กระเป๋าเดินทาง หมอนปักรูปหงส์มังกร 1 คู่ เสื้อผ้าใหม่ ของอื่นๆ ตามแต่ความเชื่อของชาวจีนแต่ละครอบครัว
เอี๊ยมแต่งงาน ตัวเอี๊ยมเป็นสีแดง ปักลายอักษรสีแดง “ซังฮี้” บนเอี๊ยมมีกระเป๋าใส่ “โหงวเจ๊กจี้” หรือ ธัญพืช 5 อย่าง คือ ข้าวเปลือกข้าวสาร ถั่วเขียว สาคู ถั่วดำห่อใส่กระดาษแดง บางบ้านใส่เงินทองติดตัวให้เจ้าสาวไปด้วย
ไข่สีแดง 1ถาดเลขคู่ บางบ้านเตรียม 24 ลูก
โอวเต่ากิ๊ว คือ ขนมถั่วดำคลุกน้ำตาล นิยมใช้ 7 คู่
ส้มเช้งติดตัวซังฮี้ 1 ถาดใหญ่ บางบ้านเตรียมส้มสีทองปนไป 4 ลูก
ชุดลำไยแห้ง 2 ชุด
ชุกชุงเฉ้า 2 ชุด
อั้งฮวย หรือใบทับทิม นำมาประดับในของทุกถาดที่ฝ่ายชายนำกลับ
เผือก “โอวเท้า” หมายถึงความสมบูรณ์
เม็ดสาคู เอาไว้โรยของต่างๆ เป็นเคล็ดอวยพร ให้กลมเกลียวกัน
1 วันก่อนถึงวันแต่งงาน
ในคืนวันงานก็จะอาบน้ำใบทับทิมและใบเซียงเช่า เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นการชำระล้างสิ่งชั่วร้ายและขจัดภยันตรายได้ จากนั้นจะสวมเสื้อผ้าใหม่ และให้ผู้หญิงที่มีชีวิตคู่สมบูรณ์พูลสุขหวีผมพร้อมอวยพรให้
วันงาน
เจ้าสาวจะต้องเสียบปิ่นปักผมกับกิ่งทับทิมไว้ที่เรือนผม เพราะเชื่อว่าจะทำให้มีคนรักใคร่เอ็นดู และหมายถึง “สาวบริสุทธิ์” เมื่อใกล้ถึงฤกษ์รับตัวเจ้าสาวจะรับประทานอาหารกับพ่อแม่ พี่น้องของตนเป็นมื้อสุดท้าย และกล่าวอวยพร เมื่อได้ฤกษ์เจ้าบ่าวจะนั่งรถผูกโบว์สีชมพูที่กระโปรงรถมายังหน้าบ้านเจ้า สาว ในการรับตัวเจ้าสาว เจ้าบ่าวจะต้องนำหมูดิบมามอบให้แก่เจ้าสาว เป็นเสมือน “ยาบำรุง” ที่ตั้งท้องเจ้าสาวมา เมื่อพบหน้าเจ้าสาวจะต้องผ่านด่านประตูเงินประตูทอง แจกอั่งเป่าให้แก่ญาติและเพื่อนสนิทของฝ่ายเจ้าสาวเสียก่อน (ในปัจจุบันมีการผสมผสานหลายรูปแบบ บางงานจะมีการแจกซองอั่งเป่าก่อนจะเห็นหน้าเจ้าสาว) เมื่อลงมาถึงข้างล่างก็จะทำพิธีไหว้ฟ้าดิน (ตี่จูเอี๊ย) และเทพเจ้าเตาไฟ ถ้าปู่ย่าตายายยังมีชีวิตอยู่ก็จะต้องไหว้กับตัวเพื่อบอกกล่าว จากนั้นจึงทำพิธีคารวะน้ำชาพ่อแม่เจ้าสาว
พิธีรับตัว “เจ้าสาว” มายังบ้าน “เจ้าบ่าว”
เมื่อเสร็จพิธีที่บ้านเจ้าสาวแล้วก็จะนั่งรถไปกับเจ้าบ่าว พร้อมผู้ถือตะเกียง ต้องเป็นญาติผู้ชายของฝ่ายหญิง รวมทั้งคนหาบขนม ในการนี้พ่อเจ้าสาวจะเป็นคนจูงเจ้าสาวขึ้นรถ พร้อมอวยพรและพรมน้ำใบทับทิม (แต่บางวัฒนธรรมจะต้องให้พ่อแม่หลบหน้าไม่ให้เห็นลูกสาวถูกส่งรถขึ้นตัว จะต้องให้ผู้ใหญ่ที่เป็นคนสู่ขอเป็นผู้ส่งตัวขึ้นรถแทน ) เมื่อไปถึงบ้านฝ่ายชายจะต้องไหว้ฟ้าดิน และเทพเจ้าเตาไฟ และบรรพบุรุษของเจ้าบ่าว และทำการคารวะยกน้ำชาให้พ่อแม่ พร้อมญาติผู้ใหญ่ เสมือนเป็นการแนะนำสะใภ้ให้ญาติผู้ใหญ่ได้รับรู้ และท่านก็จะแจกอั่งเปาพร้อมอวยพรเป็นการตอบแทน บ่าวสาวจะทานบัวลอยไข่หวาน ซึ่งมีความเชื่อกันว่าจะทำให้คู่รักปรองดองกันนานเท่านาน
3 วันหลังแต่งงาน
จะมีพิธี “ตึงฉู่” เป็นการต้อนรับสามีภรรยากับบ้านเจ้าสาว น้องชายของภรรยาจะเป็นผู้รับสามีภรรยาหน้าใหม่กลับมาเยี่ยมบ้านและรับประทาน อาหารที่บ้านเจ้าสาว ซึ่งเจ้าสาวจะได้รับการต้อนรับเสมือนแขกผู้หนึ่ง จะเห็นได้ว่าการแต่งงานตามขนมธรรมเนียมจีนจะใช้เวลานานมาก ตั้งแต่ก่อนถึงฤกษ์แต่งงานจนไปถึงหลังทำพิธีแต่งงานเสร็จแล้ว วัฒนธรรมจีนอุดมไปด้วยกระบวนการและขั้นตอนอย่างพิถีพิถันเพื่อให้คู่บ่าวสาว ได้มีแต่สิ่งที่ดีๆเข้ามาในชีวิต แต่ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก เนื่องจากบางบ้านเจ้าสาวมีเชื้อสายจีน เจ้าบ่าวเป็นเชื้อสายไทยแท้ ก็จะไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติจีน ฝ่ายเจ้าสาวก็จะทำหน้าที่จัดการเรื่องธรรมเนียมจีนให้หมดทุกอย่าง แม้ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นพิธีดูเหมือนวุ่นวาย แต่เราจะพบว่า ตั้งแต่ต้นจนจบเป็นส่วนช่วยให้ครอบครัวทั้งสองฝ่ายต้องประสานงานกัน จนเกิดความสนิทสนมกลมเกลียว ได้อย่างน่าทึ่ง