การชำระหนี้ กยศ. สำหรับผู้ค้างชำระ
หลายๆ คน จะทราบดีว่า ตอนนี้ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา มีมาตรการออกมาหลากหลายรูปแบบเพื่อติดตามหนี้ อาทิ เช่น
1. ว่าจ้างให้บริษัทติดตามหนี้สิน คือบริษัท เอ็น อาร์ ลีกัล คอนชัล แตนท์ จำกัด
2. จะฟ้องร้องและยึดทรัพย์
3. ฝ่ายกฏหมายโทรตามเพื่อ บอกข้อเท็จจริง
กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก่อตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้โอกาสทางการศึกษากับนักเรียน นักศึกษา ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จึงขอให้ผู้ที่ติดเงินกู้กองทุน กยศ. ชำระหนี้ เพื่อที่จะได้นำไปช่วยเหลือและส่งเสริมเยาวชนไทยให้มีการศึกษาและสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ และพัฒนาประเทศในอนาคตได้
จากมาตรการดังกล่าว ผมในฐานผู้กู้คนหนึ่งที่ปล่อยปะละเลย ไม่ยอมไปชำระเงินกู้ตาม วัน เวลา ที่ กองทุนแจ้งให้ไปชำระ แต่ก่อนหน้านี้ผมได้ชำระไปบ้างส่วนแล้ว ครั้งละ 5,000 บาท บ้าง 10,000 บาท บ้าง รวมๆ แล้ว จ่ายไปโดยไม่ตรงตามยอดที่กองทุนเรียกเก็บ ก็ประมาณ 20,000 กว่าบาท แต่ก็ยังผิดเงื่อไขของกองทุนคือ ไม่ได้ชำระหนี้ตามปกติ ที่กองทุนกำหนดให้ชำระแต่ละงวด คือทุกวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี
กองทุนจะเรียกเก็บผู้กู้ที่ติดหนี้กองทุนสำหรับผู้ที่มียอดค้างชำระ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จะต้องชำระให้บัญชีเป็นปกติ ทางบริษัทที่กองทุนว่าจ้างให้ทวงถามหนี้ จึงจะไม่ส่งรายชื่อให้ฝ่ายกฎหมายของกองทุนกู้ยืมเพื่อศึกษา ดำเนินการฟ้องร้องและดำเนินการยึดทรัพย์ เป็นลำดับไป แต่สำหรับผู้กู้ที่ไม่ยอมชำระให้บัญชีเป็นปกติ ทางบริษัทก็จะส่งรายชื่อให้ทางฝ่ายกฏหมายดำเนินการฟ้องร้องและยึดทรัพย์ต่อไป
โดยปกติแล้ว ผู้กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. จะมีตารางผ่อนชำระเป็นรายปี จำนวน ทั้ง หมด 15 ปี แต่ละปีนั้นจะมียอดชำระที่ไม่เท่ากัน ซึ่งเริ่มจากชำระจากยอดหนี้น้อยๆ ไป จึงถึงปีที่ 15 ตามจำนวนเงินต้นที่กู้ไป ผมยกตัวอย่างจากตารางผ่อนชำระของผมเอง ดังนี้
ลำดับที่
|
วันที่ชำระ
|
*%เงินต้น
|
เงินต้น
|
**ดอกเบี้ย
|
เงินต้นรวมดอกเบี้ย
|
1 | 05/07/2547 | 1.50 | 1,449.00 | 0.00 | 1,449.00 |
2 | 05/07/2548 | 2.50 | 2,415.00 | 950.23 | 3,365.23 |
3 | 05/07/2549 | 3.00 | 2,898.00 | 927.36 | 3,825.36 |
4 | 05/07/2550 | 3.50 | 3,381.00 | 898.38 | 4,279.38 |
5 | 05/07/2551 | 4.00 | 3,864.00 | 865.73 | 4,729.73 |
6 | 05/07/2552 | 4.50 | 4,347.00 | 824.82 | 5,171.82 |
7 | 05/07/2553 | 5.00 | 4,830.00 | 782.46 | 5,612.46 |
8 | 05/07/2554 | 6.00 | 5,796.00 | 734.16 | 6,530.16 |
9 | 05/07/2555 | 7.00 | 6,762.00 | 677.11 | 7,439.11 |
10 | 05/07/2556 | 8.00 | 7,728.00 | 607.76 | 8,335.76 |
11 | 05/07/2557 | 9.00 | 8,694.00 | 531.30 | 9,225.30 |
12 | 05/07/2558 | 10.00 | 9,660.00 | 444.36 | 10,104.36 |
13 | 05/07/2559 | 11.00 | 10,626.00 | 348.23 | 10,974.23 |
14 | 05/07/2560 | 12.00 | 11,592.00 | 241.17 | 11,833.17 |
15 | 05/07/2561 | 13.00 | 12,558.00 | 125.58 | 12,683.58 |
ยอดรวม | 96,600.00 | 8,958.65 | 105,558.65 | ||
หมายเหตุ * % เงินต้น หมายถึง % อัตราผ่อนชำระเงินต้นในแต่ละปี (ไม่ใช่อัตราดอกเบี้ย) ** อัตราดอกเบี้ยอาจเปลี่ยนแปลงในอนาคตตามประกาศของ กยศ. |
จากตารางข้างต้น นั้น เงินต้นรวมดอกเบี้ยที่ต้องชำระให้กองทุนทั้งหมด ก็ประมาณ 105,558 บาท (หนึ่งแสนห้าพันห้าร้อยแปดบาทถ้วน) แต่ผลจากที่ผมผิดการชำระหนี้ของกองทุน ผมจึงต้องเสียทั้งดอกเบี้ยเพิ่ม และยังมีเบี้ยปรับอีกมากมาย ทางบริษัทติดตามทวงหนี้จึงโทรหาผมเพื่อให้ผมไปชำระหนี้ให้บัญชีเป็นปกติ คือ เงินที่ผมค้างชำระหนี้ตามตารางการผ่อนชำระ ตั้งแต่ปี 2547 นั้น ประมาณ 55,049.23 บาท แต่ก่อนหน้านี้ วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 ผมได้ไปชำระนี้แล้วจำนวน 10,000 บาท ซึ่งนั้นก็ยังผิดเงื่อนไขของกอนทุนอีก ผมจะต้องไปชำระเงินอีกจำนวน 45,049.23 บาท เพื่อให้บัญชีเป็นปกติ ทางบริษัทก็โทรบอกให้ผมชำระก่อนสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2558 ตอนนั้นผมแทบจะบ้าตาย เพราะกลัวทำให้แม่และครอบครัวเดือดร้อนและก็คิดมาก ก็นั่งคิดอยู่นานว่าจะเอาเงินที่ไหนจำนวน 45,049.23 มาชำระหนี้เพื่อที่จะให้บัญชีปกติ และไม่ให้ฝ่ายกฏหมายของกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาดำเนินการฟ้องร้องเรา และ ยึดทรัพย์ เพราะกังวลมากกลัวแม่ไม่สะบายใจ
นั่งครุ่นคิดอยู่นาน เลยนึกออกได้ว่า เราพอมีเงินเก็บที่ฝากไว้กับอีกธนาคารเป็นประเภท No Fixed ที่เขาจะให้ดอกเบี้ยเราทุกเดือน ถ้าหากเราไม่ถอนเงินออกมาใช้ และ บวกกับเงินเดือน เดือนนี้ ก็คงน่าจะพอ สรุปผมไปปรับสมุดดู มีเงินอยู่ 20,000 บาท และ เงินเดือนของเดือนนี้อีก 20,000 บาท เป็นเงิน 40,000 และเงินเก็บจากการทำงานล่วงเวลาอีกที่ผมตั้งใจไม่กดมาใช้กะว่าจะนำเงินยอดนี้ส่งให้ทางบ้านในยามที่จำเป็นต้องใช้เงินก้อน อยู่คนละบัญชีของเงินเดือน จำนวน 15,000 บาท โอ มาย บู ดัช ผมมีเงินพอชำระกองทุน สิ่งที่ทำให้ผมตัดสินใจชำระก่อนเดือนพฤศจิกายน ตามที่ทางบริษัทกำหนดคือ
1. โอเคละ กงวัลเรื่องครอบครัว โดยเฉพาะผู้เป็นแม่ คงคิดมากถ้าเราไม่รีบชำระ
2. เขาคงยึดทรัพย์เราแน่ เพราะ เห็นว่า ที่ผ่านมา กยศ. ดำเนินการยึดทรัพย์ผู้ติดค้างชำระไปแล้ว เกือบ 8,000 ราย แต่ทรัพย์ที่มีก็ไม่ได้มีอะไร
3. เป็นหนี้เขา ต้องใช้หนี้เขา เขาเคยให้โอกาสทางการศึกษา เรามีงานทำ มีอาชีพที่มั่นคง ทุกวันนี้ก็เพราะ กองทุน
4. น้องๆ รุ่นหลัง คงรอเงินจำนวนนี้อยู่ และรอโอกาสที่จะได้รับการพิจารณาให้ได้เงินจากกองทุนเช่นเดียวกับที่เราเคยได้รับการพิจารณามาแล้ว
5. ถ้ารอไปถึงเดือน พฤศจิกายน เงินที่มีอยู่ อาจจะ ลดลงหรือ มีเหตุให้เอามาใช้จ่ายก่อนแน่ๆ
เอาเป็นว่า ขมวดท้ายก่อนจบ ที่เอามาแชร์ประสบการณ์ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดใดกับกองทุนเพื่อการศึกษา เพียงแค่อยากบอกว่า เป็นหนี้เขาก็ต้องใช้เขา ผมก็เหลือยอดที่ต้องชำระอีกไม่เท่าไร ก็จะเป็นไทยแล้ว วันที่ 1 กรกฎาคม 2559 เจอกันอีกทีครับ กยศ.
หมายเหตุ : ถ้าเราลองบริหารจัดการเงินเราจริงๆ ผมว่าเดือนๆ นึงเรามีเงินพอเก็บนะ ว่ามั๊ย