“ความจริง” อีกด้าน เบื้องหลัง “แฟชั่นหรู”และเสื้อผ้าที่สวยงาม
เมื่อ 2 ปีก่อน เกิดเหตุการณ์ เขย่าขวัญผู้คนทั่วโลก เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารรานา พลาซ่า ซึ่งเป็นอาคารสูงเพียง 8 ชั้นและเป็นที่ตั้งของโรงงานเสื้อผ้า แต่ผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,000 คน ในบังคลาเทศ โรงงานแห่งนี้ผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ดังถึง 28 แบรนด์ทั่วโลก นั่นก่อให้เกิดคำถามมากมายว่า เกิดอะไรขึ้นกันแน่กับเบื้องหลังของอุตสาหกรรมเสื้อผ้า
Getty Images
อุตสาหกรรมสิ่งทอโลกมีขนาดมหึมา มันใช้แรงงานคนประมาณ 40 ล้านคน หรือ 1 ใน 6 ของประชากรโลก ในจำนวนนี้ประมาณ 4 ล้านคนอยู่ในบังคลาเทศ ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานเสื้อผ้ามากกว่า 5,000 แห่ง ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อป้อนให้แก่แบรนด์ใหญ่ๆ ในโลกตะวันตก ซึ่งในจำนวนนี้มาจากฝีมือของแรงงานผู้หญิงประมาณ 3.2 แสนคน ที่มีรายได้ต่ำกว่าวันละ 3 เหรียญ (105 บาท)
Getty Images
ส่วนในประเทศอินเดียเกษตรกรชาวไร่ฝ้าย มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะความเครียดจากการเป็นหนี้ ที่เกิดจากการใช้เมล็ดพันธุ์ฝ้าย BT ที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรม ซึ่งมีราคาสูงมาก
Getty Images
ขณะเดียวกันพวกเขายังเผชิญกับปัญหายาฆ่าแมลงปนเปื้อนในอัตราสูง เด็กในท้องคลอดออกมาไม่สมประกอบ ส่วนผู้ใหญ่มีอาการทางประสาท เพราะได้รับพิษสะสม เช่นเดียวกับชาวไร่ฝ้ายในสหรัฐฯ จำนวนมากที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากธรรมชาติของฝ้าย ที่เป็นพืชที่มีการใช้ยาปราบศัตรูพืชมากที่สุดในโลก
Getty Images
เดอะ การ์เดียน ระบุไว้ในบทความ เรื่อง Did the Rana Plaza factory disaster change your fashion buying habits? (หายนะโรงงานรานา พลาซ่า จะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าแฟชั่นของคุณหรือไม่) ว่า คนทั่วไปใช้การช้อปปิ้ง เป็นการพักผ่อน บันเทิงใจอย่างหนึ่ง และบางคนอาจถึงขั้นเสพติด
“ในปี 1997 ผู้หญิง 1 คน ซื้อเสื้อผ้าเฉลี่ย 19 ชิ้น แต่ในอีก 10 ปีถัดมา พวกเธอซื้อมากขึ้นเป็นปีละ 34 ชิ้น”
Getty Images
Getty Images
เดอะ การ์เดียน ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ควรตกอยู่ในความรับผิดชอบของใคร ระหว่างธุรกิจ หรือผู้บริโภค? สมควรหรือไม่ที่การใช้แรงงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าควรมีความโปร่งใสกว่านี้ ? และสมควรหรือไม่ที่ผู้บริโภคจะบอยคอต บริษัทที่ใช้แรงงานอย่างไร้จริยธรรม?
Getty Images
Getty Images
ที่มา: The Guardian, Tree Hugger และ Top Documentary Films