มาดู! ต้นไม้ ดอกไม้ ประจำมหาวิทยาลัย (รัฐ) ในประเทศไทย
1. ม.ธรรมศาสตร์ / ต้นหางนกยูง
ภาพ: https://commons.wikimedia.org/wiki/File:AguinaldoShrinejf0866_03.JPG
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ "ต้นหางนกยูง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2506 และได้ทรงปลูกต้น "หางนกยูง" จำนวนห้าต้น ที่บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ เพื่อให้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ตามที่นักศึกษาขอพระราชทาน ซึ่งผู้ขอคือ นายวิทยา สุขดำรง (จากหนังสือสำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง หน้า 323)
2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย /ต้นจามจุรี
ภาพ: www.biogang.net
“จามจุรี” เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของจุฬาฯ มีความผูกพันกับชาวจุฬาฯ มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเป็นมหาวิทยาลัย ด้วยวัฏจักรของจามจุรีมีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวจุฬาฯ กล่าวคือ มีสีเขียวชอุ่มให้ความสดชื่นในช่วงเวลาภาคต้นของการศึกษาเสมือนนิสิตปีที่๑ ที่ยังคงเริงร่าสนุกสนานกับการเป็นน้องใหม่ และเมื่อเวลาผ่านไปในภาคปลายของการศึกษา ทั้งใบและฝักย้ำเตือนให้นิสิตเตรียม ตัวสอบปลายปีมิฉะนั้นอาจจะต้องเรียนซ้ำชั้นหรือถูกไล่ออก
ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน ๕ ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน ๓ ต้น ด้านซ้ายจำนวน ๒ ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด “จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล”
3.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/ต้นนนทรี
ภาพ:http://frynn.com
ต้นนนทรี เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2506 เพราะเป็นไม้ยืนต้น มีอายุยืนยาวนาน มีใบเขียวตลอดทั้งปี ลักษณะใบเป็นฝอยคล้ายใบกระถิน ดอกสีเหลืองประปรายด้วยสีขาว ช่อดอกเป็นพวงระย้า ฝักไม่ยอมทิ้งต้น ทนทานในทุกสภาพอากาศของเมืองไทย ดังนั้นที่ประชุมสมาคมนิสิตเก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2506 จึงได้เลือกให้ต้นนนทรีเป็นสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และหลวงอิงคศรีกสิการอธิการบดีในขณะนั้นได้นำข้อสรุปของที่ประชุมกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินมายังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และทรงปลูกต้นนนทรี 9 ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 และมีพระราชดำรัสถึงบุคลากรและนิสิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในคราวนั้นว่า
ขอฝากต้นไม้นี้ให้มหาวิทยาลัยและนิสิตช่วยกันรักษาให้ดี อย่าให้หงอย ขอฝากนิสิตทั้งหลาย ขอให้ช่วยกันรักษาตัวเองให้ดี และอย่าลืมว่าตัวเองนั้นจะอยู่กันได้ก็ด้วยแผ่นดินไทย ขอให้ช่วยรักษาแผ่นดินไทยไว้ด้วย คนไทยถ้าไร้แผ่นดินก็จะหงอยกันหมด อยู่กันไม่ได้ และเราก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น
4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น/ต้นกัลปพฤกษ์
ภาพ: http://jaepaoflorist.lnwshop.com
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรียกกันมาแต่ดั้งเดิมว่า “กาลพฤกษ์” แม้ต่อมาจะมีการเรียกในทางพฤกษศาสตร์และพจนานุกรมว่า “กัลปพฤกษ์” แต่ชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ยังเรียกต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยว่า “กาลพฤกษ์” ด้วยเหตุที่ต้นไม้นี้ในปลายฤดูหนาวย่างเข้าฤดูร้อนจะทิ้งใบทั้งต้น ให้ดอกสีชมพูระเรื่อสลับขาวบานสะพรั่ง แลดูสวยงามอ่อนหวานยิ่งนัก ดอกกาลพฤกษ์บานคราใดก็ถึงเวลาสอบไล่ ปิดปลายภาคและจบการศึกษา กาลพฤกษ์จึงเป็นเสมือน ต้นไม้แห่งกาลเวลา ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/ดอกทองกวาว/ต้นสัก
ภาพ:https://www.flickr.com/photos/tik-th/4445634508
ปรากฏอยู่ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีค่าและมีความอุดมสมบูรณ์ในภาคเหนือ ดอกสักเป็นดอกไม้ขนาดเล็กและอยู่ในพวงใหญ่ มีสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร มีกลีบดอก 6 กลีบ
6.มหาวิทยาลัยทักษิณ/ต้นปาริชาต หรือทองหลาง
ภาพ: www.homedecorthai.com
มหาวิทยาลัยทักษิณมีต้นไม้และดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือ ต้นปาริชาต หรือทองหลาง (ชื่อสามัญ: Tiger’s Claw หรือ Indian Coral Tree ชื่อวิทยาศาสตร์:Erythrina variegata L.) เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในวงศ์ถั่ว (LEGUMINOSAE หรือ FABACEAE) ดอกมีลักษณะเป็นช่อสีแดงเข้ม เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในพระไตรปิฎก คนไทยโบราณเชื่อว่าเป็นไม้มงคล หรือต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ปลูกบนสวรรค์ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ต้นประวาลพฤกษ์ ซึ่งประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์จะเริ่มออกช่อดอกแล้วบานสะพรั่งเมื่อถึงปลายเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่นิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณสำเร็จการศึกษา
7.มหาวิทยาลัยนเรศวร /ต้นเสลา
ภาพ: http://pantip.com/topic/31793876
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก คือดอก เสลา หรือ อินทรชิต เป็นต้นไม้ขนาดกลางโตช้า ผลัดใบ สูง 10-20เมตร เรือนยอดทรงกลมทึบ ใบดก กิ่งโน้มลงรอบทรงพุ่ม เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มีรอยแตกเป็นทางยาวตลอดลำต้น ดอกสีม่วง ม่วงอมชมพู หรือม่วงกับขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง
8.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม/ต้นราชพฤกษ์
ภาพ: http://tonlarcha.blogspot.com/
ต้นไม้สัญญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม "ต้นราชพฤกษ์" หรือ ต้นคูน หมายถึง ความค้ำคูน หรือ ความรุ่งเรือง
9.มหาวิทยาลัยมหิดล /ต้นกันภัยมหิดล
ภาพ: www.forest.go.th
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
10. มหาวิทยาลัยแม่โจ้/ต้นอินทนิล
ภาพ: www.maledpun.net
ต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ อินทนิล
อินทนิล เป็นไม้ยืนต้นที่แข็งแรง อายุยาวนาน และเจริญเติบโตได้ทุกสภาพของประเทศไทย แทน ความแข็งแกร่ง อดทน ของศิษย์แม่โจ้
อินทนิลเป็นต้นไม้ที่เจริญได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย แทน ศิษย์แม่โจ้ที่มาจากทุกหนทุกแห่ง และกระจายกันออกไปเจริญเติบโตก้าวหน้าอยู่ทั่วทุกภาค
ต้น เปลือก และใบ ของอินทนิล ใช้เป็นยาสมุนไพรได้ แทน คุณค่าของศิษย์แม่โจ ที่ได้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม
11.มหาวิทยาลัยรามคำแหง/ดอกสุพรรณิการ์
ภาพ: http://pantip.com/topic/31798348
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานต้นสุพรรณิการ์ (ฝ้ายคำซ้อน) เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ขณะนี้ปลูกไว้บริเวณหน้าอาคาร หอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2542 สุพรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดียทางตะวันตกเฉียงเหนือของภูเขาหิมาลัย และเป็นไม้พื้นเมืองของพม่าด้วย ในศรีลังกามักปลูกบริเวณพระอุโบสถ เป็นดอกไม้บูชาพระ ในเมืองไทยทางเหนือ เรียกว่า ฝ้ายคำ นำเข้ามาประเทศไทยกว่า 50 ปีมาแล้ว
12. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ / ต้นสาละ
ภาพ: http://www.bansuanporpeang.com/node/27717
สาละ เป็นคำสันสกฤต อินเดียเรียกต้นสาละว่า "Sal" เป็นไม้ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรง ท้งตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน มีความสำคัญในพุทธประวัติ
13.มหาวิทยาลัยศิลปกร/ต้นจัน/ดอกแก้ว
ภาพ:http://pantip.com/topic/32109223
ต้นจันเป็นต้นไม้ใหญ่ ผลมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ยืนต้นเก่าแก่อยู่คู่กับวังท่าพระมาช้านาน และยังมีต้นเก่าแก่อีกต้นที่พระตำหนักทับขวัญ พระราชวังสนามจันทร์ มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ต้นจันเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เป็นที่มาของเพลงกลิ่นจัน ปัจจุบันมีการปลูกต้นจันที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรีเพิ่มขึ้นด้วย
ดอกแก้ว
ภาพ: www.fotorelax.com
ด้านข้างท้องพระโรง วังท่าพระ มีสวนแก้วอยู่ด้านใน
ยามเมื่อดอกแก้วออกดอก จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งไปทั่วทั้งวัง
14.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์/ต้นศรีตรัง
ภาพ: http://photo.fanthai.com/?p=5678
ศรีตรัง หรือ แคฝอย ดอก สีม่วงอ่อน มีกลิ่นหอมอ่อน ออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงตามกิ่งและซอกใบ ศรีตรังมีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ จะออกดอกประมาณเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นผลประมาณเดือนเมษายน-พฤษภาคม
15.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ พระนครเหนือ/ต้นประดู่แดง
ภาพ: http://2g.pantip.com/cafe/gallery/topic/G7467852/G7467852.html
ต้นประดู่แดง เป็นไม้เนื้อแข็งซึ่งแสดงถึงความแข็งแกร่งของสถาบัน กิ่งมีลักษณะโน้มลงแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไม้ป่าแสดงถึงความสามารถของบัณฑิตที่สามารถดำรงคงอยู่ได้อย่างอดทนแม้อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ดอกมีสีแดงเข้มเหมือนหมากสุก ซึ่งตรงกับสีประจำมหาวิทยาลัย และจะออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันสถาปนาสถาบันคือ วันที่ 19 กุมภาพันธ์ของทุกปี เปรียบคล้ายกับนักศึกษาในชั้นปีสุดท้ายที่ใกล้จะสำเร็จการซึ่งตรงกับต้นประดู่แดงที่กำลังจะออกดอก เป็นดอกประดู่แดงทีมีความสวยงามและทน
16. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช/ต้นทองหลางลาย
ภาพ: www.himabhangarden.co.th
มหาวิทยาลัยกำหนดให้ ต้นปาริชาตหรือต้นทองหลางลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย เนื่องจากมีใบเป็นสีเขียวและเส้นใบเป็นสีทอง ตรงกับสีเขียว-ทองซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
17. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี/ต้นกันเกรา
ภาพ: www.bloggang.com
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย “ต้นกันเกรา หรือ มันปลา” ชื่อสามัญ Anon, Tembusu ชื่อวิทยาศาสตร์ Fagraea fragrans Roxb. วงศ์ Fagraea เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นไม้ยืนต้น มีดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมขจรขจาย แม้ต้นกันเกราจะขึ้นอยู่ในดินอันขาดความอุดมสมบูรณ์ก็สามารถยืนต้น เจริญเติบโตอย่างงดงาม เนื้อไม้กันเกราแข็งแรงและทนทานมาก ปลวกไม่สามารถทำลายได้ ทั้งยังมีน้ำมันในเนื้อไม้ ซึ่งช่วยรักษาเนื้อไม่ได้ดีและขัดเงาได้สวยงาม เปรียบได้กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แม้เป็นมหาวิทยาลัยขนาดเล็ก แต่ละปีได้รับการจัดสรรงบประมาณของประเทศไม่มากนัก แต่ก็ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่ออำนวยคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศได้อย่างเต็มที่ นอกจากการออกดอกพรั่งพรูพร้อมกันทั้งต้นเปรียบได้กับความสามัคคี ความพรั่งพร้อม ความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรและนักศึกษาที่จะร่วมสร้างมหาวิทยาลัยให้เจริญก้าวหน้า
18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี/ต้นปีบทอง
ภาพ: www.bloggang.com
ต้นปีบทอง (Radermachera ignea (Kurz) Steenis) เป็นไม้ยืนต้น ที่ปลูกง่าย ทนทาน โตเร็ว มีทรงพุ่มกว้าง มีดอกสีแสด ซึ่งเป็นสีประจำหาวิทยาลัย สื่อความหมายถึง ความเรียบง่าย ความแข็งแกร่ง ความรุดหน้า และความร่มเย็น
19. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี/ต้นธรรมรักษา
ภาพ: www.homedec.in.th
ธรรมรักษา หรือ เฮลิโคเนีย มักมีช่อดอก (infloescemce) แทงออกที่ส่วนกลางของต้นเทียม ลำต้นประกอบด้วยกาบใบ (leaf sheath) วางซ้อนสลับไปมา สีสันสดใสสวยงาม
20.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง/ต้นแคแสด
ภาพ: https://panchanok211042.wordpress.com
แคแสดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 15-20 เมตร มีกลีบดอกยับย่น สีส้มแสดถึงสีแดงแสด ดอกทยอยบาน ร่วงง่าย ออกดอกราวเดือน ตุลาคม - กุมภาพันธ์