เหตุผลที่อยู่เบื้องหลังของการดึงญี่ปุ่นเข้าไปร่วมในซ้อมรบทางทหารของสหรัฐฯ-อินเดีย
เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ Business Standard ของอินเดียเจ้าหนึ่งรายงานเมื่อเร็วๆนี้ว่า อินเดียกำลังเตรียมการประกาศว่าญี่ปุ่นจะกลายเป็นสมาชิกอย่างถาวรในการเข้าร่วมในปฏิบัติการมาลาบาหรือการซ้อมรบทางทะเลร่วมกันประจำปีของสหรัฐฯและอินเดีย โดยกระแสที่ว่ากันว่าญี่ปุ่นเองก็อยากที่จะเข้าร่วมในการซ้อมรบดังกล่าวนั้นก็มีมานานแล้ว
ซึ่งนักวิเคราะห์มีความคิดเห็นว่าการเชื้อเชิญให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมในการซ้อมรบครั้งนี้อาจจะมีปัจจัยที่ต้องการจะถ่วงดุลอำนาจกับประเทศจีนแต่ปัจจัยหลักๆคือการไตร่ตรองด้านยุทธศาสตร์ทางทะเลของอินเดียมากกว่า
【การลาดตระเวนทางทะเลที่ถูกจับตามอง】
ตั้งแต่วันที่วันที่ 14ตุลาคมเป็นต้นมา กองทัพเรือของสหรัฐฯ อินเดียและกองกำลังป้องกันตนเองญี่ปุ่นได้เริ่มจัดการซ้อมรบทางทะเลหรือปฏิบัติการมาลาบาขึ้นในอ่าวเบงกอลโดยมีการซ้อมทำลายเรือดำน้ำ เรือบนผิวน้ำและเครื่องบินรบของศัตรู และคาดว่าจะฝึกซ้อมจนถึงวันที่ 19 ตุลาคมนี้และที่น่าสนใจก็คือการซ้อมรบทางทะเลดังกล่าวจะจัดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกปีเว้นปี
และในปีนี้กองทัพเรือสหรัฐฯจะส่งเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ “Theodore Roosevelt” เรือพิฆาต"Normandy"เรือรบ “LCS” และเรือดำน้ำนิวเคลียร์ “USS City of Corpus Christ”เข้าร่วมในการซ้อมรบด้วย
ส่วนอินเดียจะส่งเรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีชั้นราชบุตร (Rajput-Class) เรือฟรีเกตINS Brahmaputra เรือฟรีเกตศิวลิค (INS Shivalik) เรือดำน้ำชั้นคิโล (Kilo-class) และเรือบรรทุกน้ำมันอีกหนึ่งลำ
ทางญี่ปุ่นก็จะส่งเรือพิฆาตฟุยุซุกิหนึ่งลำเข้าร่วมซ้อมโดยจุดเด่นของการซ้อมรบในปีนี้คือ“การลาดตระเวนทะเลทางอากาศที่ทันสมัยที่สุด" นอกจากนี้สหรัฐฯกับอินเดียได้ส่งเครื่องบินลาดตระเวน P-8 Poseidon ที่ทันสมัยที่สุดเข้าร่วมด้วย
【เหตุผลของในการร่วมซ้อมรบของอินเดีย】
สื่ออินเดียรายงานว่า เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการพัฒนาทางการทหารของจีนสหรัฐฯและอินเดียจึงได้เพิ่มระดับการซ้อมรบของทั้งสองประเทศจากแบบทวิภาคีให้เป็นพหุภาคีโดยดึงญี่ปุ่นเข้ามาร่วมด้วยโดยมีปัจจัยหนึ่งคือต้องการถ่วงดุลอำนาจกับประเทศจีน
นอกจากนี้ Business Standard ยังกล่าวว่า การขยายขอบเขตของการซ้อมรบครั้งนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการกำหนดนโยบายการป้องกันของอินเดียและเป็นก้าวใหญ่ของอินเดียในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
แต่ทว่าในวันนี้(15ต.ค.)อินเดียก็ไม่ได้ประกาศว่าจะเชิญญี่ปุ่นเข้ามาเป็นฝ่ายที่3ในการร่วมซ้อมรบอย่างถาวร
นาย หยู หย่งกังนักข่าวของซินหัวในอินเดียกล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการที่จะถ่วงดุลอำนาจกับจีนแล้ว ทางอินเดียดูเหมือนว่าจะคำนึงถึงกลยุทธ์ทางด้านการทหารมากกว่า จึงไม่ควรมองว่าการที่อินเดียร่วมซ้อมรบกับสหรัฐฯนั้นเป็นความต้องการที่จะปิดล้อมจีน
อย่างไรก็ดีเห็นได้ชัดว่าตั้งแต่ที่รัฐบาลที่นำโดยนายNarendra Modiได้ก้าวขึ้นมานั้นความสัมพันธ์สหรัฐฯและอินเดียได้เข้มแข็งขึ้นมากแต่ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์จีน-อินเดียก็แนบแน่นยิ่งขึ้นเช่นกัน การใช้นโยบายต่างประเทศเชิงรุกที่เข้มข้นนี้ก็เพื่อที่จะดึงดูดนักลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศของอินเดีย ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าอินเดียต้องการเป็นประเทศที่มีความคิดอิสระเป็นของตัวเองหาใช่เครื่องมือของสหรัฐฯไม่
(ข่าวโดย เจี่ยง ชงเซียว/บรรณาธิการ หลิน จิง / Xinhua International รายงาน)