คุณคิดว่า "โดม ปกรณ์ ลัม" โพสรูปเบียร์ใน IG โดยไม่ได้ค่าโฆษณาจริงหรือมั้ย?
ความเห็นที่ 35 :
มาตรา32การโฆษณาจะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง
การโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์(วิทยุ,โทรทัศน์)
(1) การโฆษณาโดยผู้ใด(ทุกคน) ต้องเป็นไปตามประกาศของกรมประชาสัมพันธ์เรื่องหลักเกณฑ์การโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุ โทรทัศน์ (สามารถโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น.) และการโฆษณา นั้นจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 มาตรา32ด้วย(ต้องไม่อวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดย อ้อม)
(2) การโฆษณาโดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(เฉพาะผู้ผลิตเท่านั้น) ต้องเป็นไปตามประกาศของกรมประชาสัมพันธ์เช่นกัน (สามารถโฆษณาเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ได้ตั้งแต่เวลา 22.00-05.00 น.) ประกอบกับการโฆษณานั้นจะต้องเป็นไป ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ.2551มาตรา32วรรคหนึ่งและ มาตรา 32 วรรคสองด้วย คือต้องเป็นการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์ สังคมเท่านั้น โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลย(ภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกรูปแบบเช่น ขวด, กล่องกระดาษบรรจุ ขวดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์,กระป๋องเป็นต้น) การโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ(โรงภาพยนตร์,ป้าย,หนังสือพิมพ์,นิตยสารฯลฯ) ผู้ใดและผู้ผลิตมีหลักเกณฑ์เหมือนข้อ(1)ทั้งหมด นอกจากนี้การโฆษณาทุกสื่อต้องเป็นไปตามกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วยเช่น
* 1) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง หลักเกณฑ์ การโฆษณา เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์(ฉบับที่2)
* 2) กฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และ เครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์ และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547เช่น ต้องไม่ เป็นข้อความที่เชิญชวนให้บริโภคหรืออวดอ้างสรรพคุณ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (ใช้นักกีฬานักแสดงนักร้องภาพการ์ตูนเป็นต้น) เพื่อให้การดำเนินการในการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ พ.ศ.2551ตามมาตรา32หมวดที่4เรื่องการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นไป ด้วยความเรียบร้อย และเพื่อประโยชน์สาธารณะในการป้องกันการริเริ่มดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ของเยาวชนและประชาชนทั่วไป อันเนื่องจากโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนเพื่อให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออกแนวทางปฏิบัติถึงการกระทำที่มีลักษณะส่อหรือแสดงให้ เห็นว่ามีเจตนาที่จะโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรา32ดัง ต่อไปนี้
1. โฆษณาที่ทำให้เกิดทัศนคติว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ประสบ ความสำเร็จทั้งทางสังคมและทางเพศหรือทำให้สมรรถนะทางร่างกายดีขึ้น
2. การโฆษณาที่ชักจูง เชิญชวน หรือโน้มน้าวให้ซื้อหรือบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
(3) โฆษณาใช้ดารานักร้องนักกีฬาผู้ใช้แรงงานผู้มีชื่อเสียงในวงสังคมหรือเด็ก อายุต่ำกว่า 20ปีบริบูรณ์ เป็นผู้แสดงแบบโฆษณาโดยถือสถานภาพการเป็นดารานักร้อง นักแสดงณวันที่ออกอากาศเป็นครั้งแรก
(4) การโฆษณาที่ใช้ภาพการ์ตูน
(5) การโฆษณาที่มีการปรากฎภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์
(6) การโฆษณาที่มีลักษณะ แถมพก หรือให้รางวัลด้วยการเสี่ยงโชค หรือมีการให้ ของแถม
(7) การโฆษณาที่มีลักษณะอวดอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ หรือคุณภาพของ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
(8) การโฆษณาอื่นๆที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน การโฆษณาที่สามารถกระทำได้โดยผู้ผลิตจะต้องไม่ขัดต่อแนวปฏิบัติข้างต้นและ ให้ กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏ ภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเว้นแต่เป็นการปรากฏ ของภาพ สัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่ม แอลกอฮอล ์ นั้นเท่านั้นทั้งนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นๆที่มีผลใช้บัง คับในปัจจุบันด้วย