วิธีการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก ถั่วงอก ถือว่าเป็นพืชที่มีความเป็นมงคล
วิธีการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก
ถั่วงอก ถือว่าเป็นพืชที่มีความเป็นมงคล และผัดถั่วงอก หมายถึง ความงอกงาม เจริญรุ่งเรือง แล้วอีกทั้ง ถั่วงอกยังเป็นพืชที่หลายๆคนชอบกินและนำมาทำเป็นอาหารอย่างหลากหลายด้วย
โดยการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกนับเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของ คุณนิมิตร์ เทียมมงคล ซึ่งเป็นบุคคลทีได้พัฒนา วิธีการเพาะถั่วงอกไร้สารพิษมาอย่างยาวนาน คุณนิมิตร์ได้เล่าว่า ตนเองได้แนวคิดการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกตอนช่วงของวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ถ้าในช่วงเวลานั้นเรามีเมล็ดถั่วเขียวที่หลายคนซื้อเก็บไว้ หรือมีชุดเพาะถั่วงอกหรือได้รับแจกเมล็ดพร้อมกับถุงยังชีพ สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอก เป็นแหล่งโปรตีนและเส้นใยที่ดีได้ และเราสามารถเพาะไว้กินเองได้ง่าย ๆ โดยใช้อุปกรณ์ไม่กี่อย่างที่หาได้จากถุงยังชีพที่เราได้รับบริจาค คุณนิมิตร์ได้เล็งเห็นว่าตอนน้ำท่วมนั้น มีการแจกน้ำดื่มเป็นจำนวนมาก มีขวดน้ำดื่มที่เหลือจากการดื่มน้ำหมดแล้วกันทุก ๆ บ้านในช่วงนั้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก
มาเริ่มวิธีการและขั้นตอนการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกกัน
โดยขั้นตอนแรกนำขวดน้ำพลาสติกแบบสี่เหลี่ยมมาเจาะรูระบายน้ำ 2 แถว แถวละ 5 รู รวมทั้งหมด 10 รู
เริ่มเจาะรูในร่องของขวดตั้งแต่ข้อที่ 4-8 และเจาะระบายอากาศบริเวณคอขวดอีก 3 รู
และใช้มีดคัตเตอร์เปิดเป็นที่ใส่เมล็ดถั่วและรดน้ำในบริเวณขวดด้านฝั่งตรงข้ามกับที่เจาะรู (10 รู) การเจาะรูขวด
ถ้ามีหัวแร้งจะเจาะรูได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้ธูปเจาะ แต่ถ้าไม่มีสามารถใช้ธูปแทนได้ โดยเวลาที่ใช้ธูปเจาะ
ควรเป่าธูปให้ไฟติดเป็นสีแดง จะทำให้เจาะได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำเมล็ดถั่วเขียวแห้งใส่ลงในขวด แล้วตั้งขวดขึ้น
ปริมาณของเมล็ดถั่วให้ใส่เท่ากับความสูงของรอยควั่นรอยแรก (หรือข้อแรกของก้นขวด) แล้วใส่น้ำสะอาดลงในขวด
ใช้นิ้วมือกดปิดฝาที่เราทำไว้สำหรับรดน้ำ จากนั้นนอนขวดลงแล้วเขย่าขวดไปข้างหน้าและถอยหลังเพื่อเป็นการล้างเมล็ดถั่วเขียวให้สะอาด
ทำการล้างทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง เตรียมน้ำอุ่น (โดยใช้น้ำเดือด 1 ส่วนผสมกับน้ำธรรมดา 3 ส่วน ก็จะได้น้ำอุ่นพอดี) เติมน้ำอุ่นลงไปให้สูงถึงข้อที่ 3 ของขวด
แล้วแช่เมล็ดถั่วเขียวทิ้งไว้ 6–8 ชม. เพื่อให้เมล็ดถั่วพองตัว กระตุ้นให้เมล็ดถั่วงอกดีและที่สำคัญเป็นการช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย
เมื่อแช่น้ำจนได้เวลา ให้เปลี่ยนใส่น้ำธรรมดาเพื่อทำความสะอาดเมล็ดอีก 1-2 ครั้ง โดยเขย่าล้างอย่างเบามือ
แล้วนอนขวดให้เมล็ดถั่วเขียวกระจายให้ทั่วขวด วางขวดในแนวนอน น้ำจะค่อย ๆ ไหลซึมผ่านรูที่เจาะไว้
จากนั้นนำตะแกรงเกล็ดปลามาม้วนหุ้มปิดทับขวด เพื่อช่วยพรางแสง ช่วยลดการปะทะของน้ำที่รดลงไป
และห่อทับอีกชั้นด้วยผ้าขนหนู หรือกระสอบ เพื่อไม่ให้แสงเข้า วันถัดมาให้รดน้ำด้วยฝักบัวหรือใช้ขันตักราด ให้น้ำค่อย ๆ ซึมผ่านรูที่เจาะไว้
ให้รดน้ำวันละ 3 เวลา คือเช้า-กลางวัน-เย็น ผ่านไป 2 วัน 3 คืน จะได้ถั่วงอกขึ้นแน่นเต็มขวดนำถั่วงอกออกจากขวดทางช่องที่เจาะไว้โดยขวดขนาด 1,500 ซีซี
จะได้ถั่วงอกประมาณ 6 ขีด หรือ 600 กรัม ส่วนขวดขนาด 750 ซีซี จะได้ถั่วงอกประมาณ 300 กรัม ส่วนขวดขนาด 600 ซีซี
จะได้ถั่วงอกประมาณ 200 กรัม และขวดขนาด 5 ลิตร จะได้ถั่วงอกประมาณ 4–5 กิโลกรัม
http://www.farmthailand.com/479
ถั่วงอก ถือว่าเป็นพืชที่มีความเป็นมงคล และผัดถั่วงอก หมายถึง ความงอกงาม เจริญรุ่งเรือง แล้วอีกทั้ง ถั่วงอกยังเป็นพืชที่หลายๆคนชอบกินและนำมาทำเป็นอาหารอย่างหลากหลายด้วย
โดยการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกนับเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุดของ คุณนิมิตร์ เทียมมงคล ซึ่งเป็นบุคคลทีได้พัฒนา วิธีการเพาะถั่วงอกไร้สารพิษมาอย่างยาวนาน คุณนิมิตร์ได้เล่าว่า ตนเองได้แนวคิดการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกตอนช่วงของวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ถ้าในช่วงเวลานั้นเรามีเมล็ดถั่วเขียวที่หลายคนซื้อเก็บไว้ หรือมีชุดเพาะถั่วงอกหรือได้รับแจกเมล็ดพร้อมกับถุงยังชีพ สามารถนำมาเพาะเป็นถั่วงอก เป็นแหล่งโปรตีนและเส้นใยที่ดีได้ และเราสามารถเพาะไว้กินเองได้ง่าย ๆ โดยใช้อุปกรณ์ไม่กี่อย่างที่หาได้จากถุงยังชีพที่เราได้รับบริจาค คุณนิมิตร์ได้เล็งเห็นว่าตอนน้ำท่วมนั้น มีการแจกน้ำดื่มเป็นจำนวนมาก มีขวดน้ำดื่มที่เหลือจากการดื่มน้ำหมดแล้วกันทุก ๆ บ้านในช่วงนั้น จึงเป็นที่มาของแนวคิดการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติก
มาเริ่มวิธีการและขั้นตอนการเพาะถั่วงอกในขวดพลาสติกกัน
โดยขั้นตอนแรกนำขวดน้ำพลาสติกแบบสี่เหลี่ยมมาเจาะรูระบายน้ำ 2 แถว แถวละ 5 รู รวมทั้งหมด 10 รู
เริ่มเจาะรูในร่องของขวดตั้งแต่ข้อที่ 4-8 และเจาะระบายอากาศบริเวณคอขวดอีก 3 รู
และใช้มีดคัตเตอร์เปิดเป็นที่ใส่เมล็ดถั่วและรดน้ำในบริเวณขวดด้านฝั่งตรงข้ามกับที่เจาะรู (10 รู) การเจาะรูขวด
ถ้ามีหัวแร้งจะเจาะรูได้สะดวกและรวดเร็วกว่าการใช้ธูปเจาะ แต่ถ้าไม่มีสามารถใช้ธูปแทนได้ โดยเวลาที่ใช้ธูปเจาะ
ควรเป่าธูปให้ไฟติดเป็นสีแดง จะทำให้เจาะได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำเมล็ดถั่วเขียวแห้งใส่ลงในขวด แล้วตั้งขวดขึ้น
ปริมาณของเมล็ดถั่วให้ใส่เท่ากับความสูงของรอยควั่นรอยแรก (หรือข้อแรกของก้นขวด) แล้วใส่น้ำสะอาดลงในขวด
ใช้นิ้วมือกดปิดฝาที่เราทำไว้สำหรับรดน้ำ จากนั้นนอนขวดลงแล้วเขย่าขวดไปข้างหน้าและถอยหลังเพื่อเป็นการล้างเมล็ดถั่วเขียวให้สะอาด
ทำการล้างทำความสะอาดสัก 2-3 ครั้ง เตรียมน้ำอุ่น (โดยใช้น้ำเดือด 1 ส่วนผสมกับน้ำธรรมดา 3 ส่วน ก็จะได้น้ำอุ่นพอดี) เติมน้ำอุ่นลงไปให้สูงถึงข้อที่ 3 ของขวด
แล้วแช่เมล็ดถั่วเขียวทิ้งไว้ 6–8 ชม. เพื่อให้เมล็ดถั่วพองตัว กระตุ้นให้เมล็ดถั่วงอกดีและที่สำคัญเป็นการช่วยฆ่าเชื้อโรคบางชนิดด้วย
เมื่อแช่น้ำจนได้เวลา ให้เปลี่ยนใส่น้ำธรรมดาเพื่อทำความสะอาดเมล็ดอีก 1-2 ครั้ง โดยเขย่าล้างอย่างเบามือ
แล้วนอนขวดให้เมล็ดถั่วเขียวกระจายให้ทั่วขวด วางขวดในแนวนอน น้ำจะค่อย ๆ ไหลซึมผ่านรูที่เจาะไว้
จากนั้นนำตะแกรงเกล็ดปลามาม้วนหุ้มปิดทับขวด เพื่อช่วยพรางแสง ช่วยลดการปะทะของน้ำที่รดลงไป
และห่อทับอีกชั้นด้วยผ้าขนหนู หรือกระสอบ เพื่อไม่ให้แสงเข้า วันถัดมาให้รดน้ำด้วยฝักบัวหรือใช้ขันตักราด ให้น้ำค่อย ๆ ซึมผ่านรูที่เจาะไว้
ให้รดน้ำวันละ 3 เวลา คือเช้า-กลางวัน-เย็น ผ่านไป 2 วัน 3 คืน จะได้ถั่วงอกขึ้นแน่นเต็มขวดนำถั่วงอกออกจากขวดทางช่องที่เจาะไว้โดยขวดขนาด 1,500 ซีซี
จะได้ถั่วงอกประมาณ 6 ขีด หรือ 600 กรัม ส่วนขวดขนาด 750 ซีซี จะได้ถั่วงอกประมาณ 300 กรัม ส่วนขวดขนาด 600 ซีซี
จะได้ถั่วงอกประมาณ 200 กรัม และขวดขนาด 5 ลิตร จะได้ถั่วงอกประมาณ 4–5 กิโลกรัม