การจุดธูป-เทียนบูชาพระรัตนตรัย
การจุดธูปเทียน
การจุดธูปเทียนเป็นการเริ่มต้นประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา เจ้าภาพควรเป็นผู้จุดธูปเทียนเอง หากได้เชิญให้บุคคลอื่นมาเป็นประธานในพิธี ควรเชิญให้ผู้เป็นประธานนั้นเป็นผู้จุด และการจุดธูปเทียน ให้จุดเทียนทางขวามือของพระพุทธรูปก่อน แล้วจึงจุดเล่มทางซ้ายมือ เมื่อจุดเทียนแล้ว ให้จุดธูปเป็นลำดับต่อไป โดยรวมธูปทั้ง 3 ดอกมาจุดต่อกับเทียนเล่มใดก็ได้ จากนั้นจึงปักธูปเรียงทีละดอก จากขวามือพระพุทธรูปไปทางซ้ายมือ ในกรณีที่มีผู้ส่งเทียนชนวน และปักธูปเรียงดอกชุบน้ำมันที่ปลายธูปไว้เรียบร้อยแล้ว ประธานจะใช้เทียนชนวนจุดเรียงดอกก็ได้
การจุดธูปเทียน
การจุดธูปเทียนบูชามีหลักในการจุดคือ ต้องจุดเทียนก่อนจุดธูป หากเทียนมี 2 เล่ม และมีกระถางธูปอยู่ตรงกลาง ให้จุดเล่มที่อยู่ด้านซ้ามมือของผู้จุดก่อนแล้วจึงจุดเล่มขวามือ จากนั้นจึงจุดธูป ดังน
วิธีจุดแบบนี้ใช้ทั่วไปในการจุดบูชาพระพุทธรูปทั้งงานมงคลและงานอวมงคล และจุดบูชาพระธรรมในงานศพ โดยมีเทียน 2 เล่ม รูป 3 ดอก
ส่วนการบูชาศพนั้น จะใช้ธูปเพียง 1 ดอก และไม่ต้องจุดเทียนบูชา แต่ที่หน้าศพจะมีเทียนหรือตะเกียงจุดอยู่เพื่อความสะดวกในการจุดธูปบูชาศพ
อนึ่ง ในงานศพจะมีสถานที่ที่ต้องบูชา 3 ที่คือ ที่โต๊ะหมู่ตั้งพระพุทธรูป ที่ตู้พระธรรม (ปกติจะตั้งอยู่ด้านหน้าของพระสงฆ์ที่สวดอภิธรรม) และที่บูชาศพ การจุดเครื่องบูชาทั้ง 3 ที่ มี 2 วิธี และมีความหมายต่างกัน คือ
วิธีที่ 1 จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา ที่ตู้พระธรรม และที่ศพ หมายถึงผู้จุดเป็นผู้บูชาเองทั้ง 3 แห่ง
วิธีที่ 2 จุดธูปที่หน้าศพ จุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา และที่ตู้พระธรรม หมายถึง ผู้จุดเชิญผู้ตายให้ทำความเคารพบูชาพระพุทธรูปและพระธรรม
เมื่อจุดธูปเทียนที่โต๊ะหมู่บูชา หรือที่ตู้พระธรรมให้กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ 3 ครั้ง แต่การจุดธูปบูชาศพเมื่อจุดแล้วจะต้องกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์สำหรับศพพระภิกษุ หากเป็นศพฆราวาสให้กราบครั้งเดียวไม่แบมือ และผู้จุดเป็นพระภิกษุให้กราบศพ 3 ครั้งสำหรับศพพระภิกษุ แต่ถ้าเป็นศพฆราวาสไม่ต้องจุดธูปเพียงแต่ยืนสำรวมจิตหน้าศพ ประมาณ 1-2 นาที
ผู้อยู่ร่วมพิธี จะต้องพนมมือทุกครั้งที่ประธานพิธีหรือเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปและพระธรรม