สารพิษปนเปื้อนเป็นเหตุทำปลาในแม่น้ำกกเป็นตุ่ม
เมื่อวันที่ 22 เมษายน สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต อ.เมือง จ.เชียงราย จัดเวทีพูดคุยฟังเสียงชาวบ้านกลุ่มน้ำกก : ในวันที่แม่น้ำไม่เหมือนเดิม ของเครือข่ายประชาชนลุ่มน้ำกก-อิง-โขง ผลกระทบจากปัญหามลพิษข้ามพรมแดน ที่กำลังส่งผลกระต่อวิถีชีวิต เศรษฐกิจและสังคม
ปลาแม่น้ำกก ผิวเป็นตุ่ม ผู้เชี่ยวชาญปลา ระบุ เคยเกิดมาแล้วตอนปี26 ที่มียาฆ่าหญ้าปนเปื้อนในน้ำ
มีช่วงหนึ่งชาวบ้านเชียงแสนน้อย อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่เป็นชาวประมงบริเวณปากแม่น้ำกก เล่าถึงสถานการณ์แม่น้ำกกว่า ปีนี้มีสีขุ่นและปนเปื้อนสารพิษ ส่งผลกระทบอย่างมากตั้งแต่เดือน มกราคม เป็นต้นมา ชาวประมงพื้นบ้านไม่สามารถนำเรือออกไปหาปลาเลย
ขณะเดียวกันในช่วง 1-2 ปีนี้ ชาวประมงบริเวณปากแม่น้ำกก พบปลาหนังหลายชนิดติดเชื้อด้วย โดยตั้งข้อสังเกตว่าจะเกี่ยวข้องกับสารพิษที่พบในแม่น้ำกกหรือไม่
1-2 ปีที่ผ่านมาชาวบ้านพบปลา เช่น ปลาแข้ ปลาคัง ปลากด มีลักษณะเป็นปุ่มบริเวณหัวและหนวดของปลา อาจจะเกี่ยวกับสารพิษในแม่น้ำกกหรือไม่
ด้านนายสมเกียรติ เขื่อนเชียงสา นายกสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต ระบุว่า กรณีพบปลาที่มีผิวเป็นตุ่ม บริเวณปากแม่น้ำกกที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ชาวบ้านและสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิตก็มีความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้น เตรียมส่งให้หน่วยงานเกี่ยวข้องตรวจสอบ
ดร.ชวลิต วิทยานนท์ นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปลาน้ำจืด กล่าวว่า เรายังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า ปลาที่ป่วยนั้นมีสาเหตุมาจากอะไร จนกว่าจะมีการพิสูจน์จากห้องปฏิบัติการเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ที่สามารถบอกได้ทันทีก็คือ หากน้ำดี สัตว์น้ำจะไม่เป็นอะไรแน่นอน
“แสดงว่าน้ำในแหล่งน้ำไม่ปกติ แต่ผมไม่รู้ว่า ปลาได้รับสารเคมี จนภูมิคุ้มกันตกแล้วป่วยตามมา หรือ ป่วยอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ปลาป่วยลักษณะนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในลุ่มน้ำโขง รวมถึงลุ่มน้ำกก เคยเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้วประมาณปี 2526 ตอนนั้นน้ำยังดีอยู่มากๆแต่เกิดปลามีอาการป่วยแบบนี้ ซึ่งไม่มีใครรู้ว่าเกิดจากอะไร แต่ในตอนนั้น เป็นยุคแรกๆที่มีการใช้ยาฆ่าหญ้าในพื้นที่เกษตรที่อยู่ริมน้ำ”ดร.ชวลิต กล่าว
ดร.ชวลิต กล่าวว่า ในกรณีแบบนี้ เพื่อให้เกิดความกระจ่าง ให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง อย่างกรมประมง จะต้องรีบเก็บตัวอย่างปลาไปพิสูจน์ และะแจ้งให้ประชาชนทราบโดยเร็ว...




















