ยืนยันพระธาตุไร้เงา!ผอ.สดร.บรรยายทางวิชาการยืนยัน“พระบรมธาตุเจดีย์เมืองคอนไร้เงาจริง
ยืนยันพระธาตุไร้เงา!!ผอ.สดร.บรรยายทางวิชาการยืนยัน“พระบรมธาตุเจดีย์เมืองคอนไร้เงาจริง
กรณีที่สภาวัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมได้จัดเทศกาลมหาสงกรานต์ แห่งนางดานเมืองนคร โดยมีจุดศูนย์กลางการจัดงานที่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีการหยิบยกฟื้นฟูกิจกรรมโบราณมาจัดอย่างหลากหลาย เพื่อสนับสนุนโครงการพระบรมธาตุมรดกโลก กำหนดจัดกิจกรรมระหว่างวันที่ 11-15 เม.ย. 2568 โดยหนึ่งในกิจกรรมที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขว้างคือการพิสูจน์ตำนานพระธาตุไร้เงา โดยนายภาณุ อุทัยรัตน์ อดีต สว.และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ประสานงานติดต่อสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.)กระทรวง อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ยกคณะลงมาศึกษาวิจัยและยืนยันเรื่องพระธาตุไร้เงา ซึ่งมีอยู่จริง ตรงกับวันที่ 11 เม.ย. ของทุกปี ตามที่เดลินิวส์ได้นำเสนอข่าวมาแล้วนั้น
วันที่ 12 เมษายน 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงวันที่ 10 -11 เมษายน 2568 นางอรพิน รินาพร้าว ผู้เชี่ยวชาญและหัวหน้ากลุ่มวิจัยการศึกษาประวัติศาสตร์และมรดกทางดาราศาสตร์(สดร.) สถาบันวิจัย ดาราศาสตร์แห่งชาติ(องค์การมหาชน) กระทรวง อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม พร้อมคณะเกือบ 10 คน ได้เดินทางเข้าติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีและดาราศาสตร์ที่ฐานพระเวียนรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เพื่อถ่ายภาพพระบรมธาตุเจดีย์ และดาวรวงข้าวในมุมต่าง เพื่อนำไปประเมิน วิจัยคำนาณและวิเคราะห์และนำมาสู่การ บรรยายอธิบายทางวิชาการยืนยันเรื่อง “พระธาตุไร้เงา บทสะท้อนความมหัศจรรย์ของพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช “
ต่อมาเวลา 09.30 น.ที่ห้องประชุมศาลา 100 ปี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)(สดร)ได้เป็นตัวแทนสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติบรรยายพิเศษเรื่อง” พระธาตุไร้เงา บทสะท้อนความมหัศจรรย์ของพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช” โดยบรรยายอธิบายเรื่องการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันในรอบปีไม่ได้ขึ้นทางทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตกตลอดเวลา ซึ่งจะมีอยู่วันหนึ่งที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่มาและเส้นโคจรมาตรงและตั้งฉากกับพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เมื่อดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับองค์พระบรมธาตุเจดีย์จะเกิดปรากฏการณ์พระธาตุไร้เงาทันที จึงยืนยันได้ว่าตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมาว่าพระธาตุเมืองนครไร้เงานั่นเป็นเรื่องจริง แต่ไม่ได้ไร้เงาทุกวันทุกเวลา แต่พระธาตุจะไร้เงาเมื่อดวงอาทิตย์ตั้งฉากซึ่งเกิดขึ้นปีละ 1 ครั้งในวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากพอดีตรงกับวันที่ 11 เม.ย.ของทุกปี สำหรับในปีนี้ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับยอดพระบรมธาตุและทำให้พระธาตุไร้เงาในเวลา 12.21 น.
“ดวงอาทิตย์ตั้งฉากทำให้วัตถุไร้เงามีอยู่จริงแต่วันเวลาไม่ตรงกันเป็นไปตามการโคจรของดวงอาทิตย์ แต่สิ่งพบในการศึกษาวิจับ วิเคราะห์ คำนาณตามหลักวิชาการดาราศาสตร์โบราณคดีซึ่งพบและยืนยันชัดเจนว่าพระธาตุเมืองคอนไร้เงาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งในปีนี้พระธาตุไร้เงาในเวลา 12.21 น. ตามที่กล่าวว่าแล้วข้างต้น แต่สิ่งที่เราพบมันพิเศษมากกว่านั้นคือพระธาตุไร้เงาในวันเถลิงศก เปลี่ยนปีใหม่พอดีคือช่วงมหาสงกรานต์พอดี และเป็นวันรับเจ้าเมืองใหม่ของเมือวงนครศรีธรรมราชในอดีต มันจึงเป็น 3 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันที่ไม่มีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นมันเกิดได้ยากมาก ๆ บ่งบอกถึงความเป็นเลิศของบรรพบุรุษบรรพชนของชาวนครศรีธรรมราชในการวางผังฤกษ์การก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์”
ก่อนหน้านี้สถาบันวิจัยทางดาราศาสตร์เคยเดินทางมาศึกษาวิจัยและนำไปคำนวณ วิเคราะห์ศึกษารูปแบบการวางผังก่อสร้างยึดโยงเกี่ยวข้องกับหลักการใด เป็นไปตามคัมภีร์ไหน การวางผังฤกษ์ก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ตรงกับวันเถลิกศกสงกรานต์ เรียกว่า “ฤกษ์จิตรา” และตรงกับ“วันรับเจ้าเมืองใหม่” ของชาวนครศรีธรรมราชในครั้งโบราณ เราคำนวณได้แบบนี้เพราะเป็นการวางผังกับดวงรวงข้าวเหมือนพระมหาธาตุสุโขทัย และแม้แต่พระปฐมเจดีย์ก็วางผังแบบนี้วางผังกับดาวรวงข้าวตอนตกจากขอบฟ้า ซึ่งดาวรวงข้าวจะอยู่ตรงข้ามกับวันที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศรีเมษ ที่เราเรียกว่าวันเถลิงศก ซึ่งเวลาดวงอาทิตย์มันอยู่ดาวอะไรจะสว่างแค่ไหนก็จะมองไม่เห็นคนโบราณจึงใช้ดาวที่อยู่ตรงข้ามพอดาวรวงข้าวตกปุ๊บดวงอาทิตย์ก็จะสาดส่องขึ้นมาวันนั้นคือ”วันปีใหม่”หรือ”วันเถลิงศก” ซึ่งเราก็ถือว่าเป็นความพิเศษมากแล้ว จนได้รับการประสานงสานว่าให้มาพิสูจน์เรื่องพระธาตุไร้เงาเราจึงยกทีมกันมาอีกครั้ง จนได้ข้อสรุปชัดเจนว่าพระธาตุนครศรีธรรมราชไร้เงาในวันที่ 11 เม.ย. ของทุกปี และในปีนี้เกิดขึ้นในเวลา 12.21 น.ดังกล่าว
แต่ที่น่าแปลกใจคือบรรพบุรุษบรรพชนชาวนครศรีธรรมราช เขาเอาความรู้เรื่องฤกษ์เรื่องศาสตร์มาจากไหน คงไม่ใช่เอามาจากสุโขทัยเพราะสุโขทัยเพราะมีหลักศิลาจารึกว่าสุโขทัยเอาไปจากนครศรีธรรมราช แล้วนครศรีธรรมราชเอามาจากที่ไหนเป็นต้นแบบปรากฏว่าเมื่อเราลองไล่ดูในพิกัดภูมิภาคใกล้ ๆ กันที่มีการวางศิลปะสถาปัตยกรรมแบบเดียวกัน และไปเจอที่เมืองอนุราชปุระ คือพระมหาเจดีย์ เจดีย์รุวันเวลิ หรือ มหาถูปา หรือ มหาถูปา หรือ สุวรรณมาลิกเจดีย์ เป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองอนุราชปุระ และมีอีกแห่งที่เหมือนกันอยู่ที่เมืองโบโบนานุระ เมืองหลวงที่สองของประเทศศรีลังกา คือพระมหาธาตุเจดีย์เจดีย์กิริเวเหระ จะวางผังเหมือนกันคือเอียงไปทางทิศเหนือนิด ๆ หมายถึงเอียงจากทิศตะวันออกไปทางทิศเหนือนิด ๆ เป็นการเอียงไปตามตำแหน่งดาวรวงข้าวตอนตก ศาสตร์ทั้งหมดมีระบุอยู่ในตำราคัมภีร์พระเวทย์ เชื่อมโยงศรีลังกาและประเทศอินเดีย และพบว่าพระเจดีย์ในศรีลังกาก็ไร้เงาในวันที่ 11 เม.ย. เช่นกันแต่จะช้ากว่าพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช 1.30 ชม.ในปีนี้พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช เกิดปรากฏการณ์ไร้เงาในเวลา 12.21 ที่ประเทศลังกาเกิดเวลา 13.11 น.
ส่วนความเป็นพิเศษตรงนี้พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช คงจะเป็นต้นแบบของมหาธาตุที่สุโขทัยและพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เพราะฉนั้นองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชสำคัญมากที่เราอยากเปิดให้เด็ก เยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไปให้เขาได้ร่วมกันรักษาพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชสืบต่อจากรุ่นเราต่อไปให้ดำรงคงอยู่อย่างยาวนานที่สุด “ในชีวิตหนึ่งของเราก็อยากจะมากราบสักการะพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชสักครั้งหนึ่ง.











