นักโบราณคดีเผย "พีระมิดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ไม่ได้ถูกสร้างโดยมนุษย์"
พีระมิด "ดโจเซอร์ สเต็ป" ถือเป็นพีระมิดที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีการประมาณการว่า พีระมิดแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2,630 ปีก่อนคริสตกาล
อย่างไรก็ตาม มีบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร "การสำรวจทางโบราณคดี" กล่าวอ้างว่า "แหล่งโบราณคดี "ภูเขาปาดัง" ในอินโดนีเซีย อาจเป็นแหล่งโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุด!!" โดยนักวิจัยระบุว่า "น่าจะมีอายุย้อนกลับไปถึง 25,000 ปีก่อนคริสตกาล"
อย่างไรก็ตามในเวลานั้น มีความสงสัยอย่างแรงกล้าว่า โครงสร้างดังกล่าวเป็นฝีมือมนุษย์หรือไม่? โดยหลายคนในสาขานี้ไม่เห็นด้วยกับข้ออ้าง ของบทความเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของสถานที่ดังกล่าว
นักวิจัยของบทความดังกล่าว กล่าวว่า "พีระมิดแห่งนี้อาจสร้างขึ้น จากเนินลาวาธรรมชาติ ก่อนที่จะถูกแกะสลักและหุ้มด้วยสถาปัตยกรรม" และ "การศึกษานี้ทำให้เห็นถึงทักษะการก่ออิฐขั้นสูง ที่ย้อนกลับไปถึงยุคน้ำแข็งครั้งสุดท้าย การค้นพบนี้ท้าทายความเชื่อแบบเดิม ที่ว่าอารยธรรมของมนุษย์ และ การพัฒนาเทคนิคการก่อสร้างขั้นสูง เกิดขึ้นพร้อมกับการเกษตรเมื่อประมาณ 11,000 ปีที่แล้ว" และ "หลักฐานจากภูเขาปาดัง และ สถานที่อื่นๆ เช่น เกอเบคลีเตเป [ในตุรกี] แสดงให้เห็นว่าวิธีการก่อสร้างขั้นสูงมีอยู่แล้ว ในสมัยที่การเกษตร ซึ่งยังไม่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้น"
"ฟลินท์ ดิบเบิ้ล" จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ กล่าวว่า "วัสดุที่กลิ้งลงมาจากเนินเขา จะมีทิศทางของตัวเองโดยเฉลี่ย ไม่มีหลักฐานการทำงาน หรือ สิ่งใดที่บ่งชี้ว่าเป็นฝีมือมนุษย์" และ "หากคุณไปที่พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ แล้วหย่อนแกนดินลึก 7 เมตร ลงไปในพื้นดิน และ ดึงตัวอย่างดินขึ้นมา คุณอาจระบุอายุได้ว่ามีอายุ 40,000 ปี แต่ไม่ได้หมายความว่าพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ สร้างขึ้นเมื่อ 40,000 ปีที่แล้วโดยมนุษย์ยุคโบราณ มันหมายความว่ามีคาร์บอนอยู่ที่นั่น ซึ่งมีอายุกว่า 40,000 ปี เป็นเรื่องแปลกมากที่เอกสารฉบับนี้ ได้รับการตีพิมพ์..."
ขณะเดียวกัน "บิลล์ ฟาร์ลีย์" นักโบราณคดีจาก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐคอนเนตทิคัตใต้ กล่าวว่า "ตัวอย่างดินอายุ 27,000 ปีจากภูเขาปาดัง แม้จะมีการระบุวันที่อย่างถูกต้อง แต่ก็ไม่มีร่องรอยของกิจกรรมของมนุษย์ เช่น ถ่านไม้หรือชิ้นส่วนกระดูก"
ศาสตราจารย์ "แดนนี่ ฮิลแมน นาตาวิดจาจา" ผู้เขียนบทความดังกล่าว กล่าวว่า "ผมรู้สึกผิดหวังกับความคิดของคนพวกนี้จริงๆ..."