นักวิจัยพบรอยเท้าไดโนเสาร์ นับร้อยรอย ที่เหมืองหินในอังกฤษ
นักวิจัยได้ค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์หลายร้อยรอย ซึ่งมีอายุย้อนไปถึงยุคกลางจูราสสิก ในเหมืองหินแห่งหนึ่ง ในอ็อกซ์ฟอร์ดเชียร์ ทางตอนใต้ของประเทศอังกฤษ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสัตว์เลื้อยคลาน เช่น "เมกาโลซอรัส" ซึ่งเป็นนักล่าที่มีขนาด 9 เมตร เคลื่อนตัวไปตามรอยเท้าขนาดใหญ่นี้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและเบอร์มิงแฮม กล่าวร่วมกันว่า "การขุดค้นที่เหมืองหิน "ดีวอร์ ฟาร์ม" เราพบรอยเท้าขนาดใหญ่ 5 รอย โดยรอยหนึ่งมีความยาวมากกว่า 150 เมตร โดยรอยเท้า 4 รอยเกิดจากไดโนเสาร์กินพืชคอยาวขนาดยักษ์ ที่เรียกว่า "ซอโรพอด" ซึ่งน่าจะเป็น "เซติโอซอรัส" ซึ่งเป็นญาติห่างๆของ "ไดพลอโดคัส" โดยรอยเท้าที่ 5 เกิดจากไดโนเสาร์เทโรพอดกินเนื้อชื่อ "เมกาโลซอรัส" ซึ่งมีเท้า 3 นิ้ว และ กรงเล็บอันเป็นเอกลักษณ์"
นักวิจัยกล่าวว่า "รอยเท้าของสัตว์กินเนื้อและสัตว์กินพืช มีอายุประมาณ 166 ล้านปี โดยรอยเท้าพวกนี้ทำให้เกิดคำถามว่า "ไดโนเสาร์ทั้ง 2 ประเภทมีปฏิสัมพันธ์กันหรือไม่และอย่างไร?"
"เมกาโลซอรัส" เป็นไดโนเสาร์ตัวแรกที่ได้รับการตั้งชื่อ และ บรรยายลักษณะทางวิทยาศาสตร์ในปี 1824 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับไดโนเสาร์ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา และ ได้ความสนใจของสาธารณชน...
นักบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลัง "เอ็มมา นิโคลส์" จากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า "นักวิทยาศาสตร์รู้จักและศึกษา "เมกาโลซอรัส" มานานกว่าไดโนเสาร์ตัวใดๆบนโลก แต่การค้นพบล่าสุดเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นว่า ยังมีหลักฐานใหม่ๆเกี่ยวกับสัตว์เหล่านี้ ที่รอการค้นพบอยู่..."
จุดเริ่มต้นของการค้นพบ คือ คนงานเหมืองหิน "แกรี จอห์นสัน" รู้สึกถึงสิ่งผิดปกติ ขณะที่เขากำลังลอกกองดินเหนียวออก ซึ่งเมื่อกองดินเหนียวหลุดออก ก็พบว่ามันมีรอยเท้าของไดโนเสาร์อยู่นั่นเอง...
หลังจากนั้น "แกรี จอห์นสัน" ได้โทรแจ้งให้นักวิทยาศาสตร์มาตรวจสอบ ว่าใช่รอยเท้าของไดโนเสาร์จริงไหม ซึ่งทางนั้นได้ส่งนักวิจัยมา ซึ่งพวกเขาก็กล่าวยืนยันว่า เป็นรอยเท้าของไดโนเสาร์แน่นอน และ หลังจากนั้นเขากับนักวิจัยก็ทำการลอกกองดินเหนียวทั้งหมด แล้วพบว่ามีรอยเท้าไดโนเสาร์มากถึง 200 รอยเลยทีเดียว!!