รายงานจากที่ประชุม Cop 16 ที่ซาอุดิอารเบีย ระบุว่าแผ่นดิน 75% ของโลก จะแห้งแล้งกว่าเดิมอย่างถาวร
เป็นการรายงานข่าวมาจากสำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันนี้ (10 ธันวาคม 2567) ว่ารายงานที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งมีขึ้นตรงกับการประชุมอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (ยูเอ็นซีซีดี) ครั้งที่ 16 หรือ คอป16 ในซาอุดีอาระเบีย ระบุว่า พื้นดินของโลกประมาณ 75% ถูกปล่อยให้แห้งแล้งกว่าเดิมอย่างถาวร โดยผลการศึกษาของยูเอ็นซีซีดี พบว่าในปัจจุบัน พื้นที่แห้งแล้งครอบคลุมผืนดินของโลกประมาณ 40% ไม่รวมทวีปแอนตาร์กติกา พร้อมกับเตือนว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อาจส่งผลกระทบต่อประชากรมากถึง 5,000 ล้านคน ภายในปี 2643 พื้นดินของโลกประมาณ 77.6% มีสภาพที่แห้งแล้งยิ่งกว่าเดิม ในช่วงเวลาสามทศวรรษจนถึงปี 2563 เมื่อเทียบกับช่วง 30 ปีก่อนหน้านั้น รายงานระบุเสริม นอกจากนี้ รายงานยังบ่งชี้ถึงภัยคุกคามต่อการดำรงอยู่ อันเกิดจากแนวโน้มที่ดูเหมือนจะไม่สามารถย้อนกลับได้ และแสดงให้เห็นว่า พื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งหมายถึงภูมิภาคที่ทำการเกษตรได้อย่างยากลำบาก เพิ่มขึ้น 4.3 ล้านตารางกิโลเมตร ระหว่างปี 2533-2563 โดยพื้นที่ข้างต้นมีขนาดคิดเป็น 1 ใน 3 ของอินเดีย โดยคำเตือนดังกล่าวมีขึ้นระหว่างการประชุมคอป16 ระยะเวลา 12 วัน ในกรุงริยาด ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยรายงานระบุว่า ความแห้งแล้ง หรือการขาดแคลนน้ำอย่างเรื้อรัง ขยายวงกว้างครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 40.6% ของผืนดินโลก ไม่นับรวมทวีปแอนตาร์กติกา เมื่อเทียบกับ 37.5% ใน 30 ปีที่แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น รายงานยังเตือนว่า พื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ประเทศที่มีพรมแดนติดกับภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียน, แอฟริกาตอนใต้, ออสเตรเลียตอนใต้ และบางภูมิภาคของเอเชีย กับลาตินอเมริกา