ชุดซัมปอต ของกัมพูชา มีที่มาจากสยาม!
ชุดสมโภช เกิดขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 5 ที่พระราชทานให้กับเขมร หัวเมืองประเทศราช
โดยเขมรเอาไปเรียกว่า ชุดซัมปอต (Sampot)
เวลาผ่านไป 100 ปี เป็นยังไงก็เป็นอย่างนั้น ไม่เคยคิดที่จะปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
แต่พอชุดไทยที่มีการประดิษฐ์ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยมาตลอดและมีความสวยงาม ก็มาเคลมว่านี้คือชุดเขมรซะอย่างงั้น...
วิเคราะห์เรื่องการเคลมชุดไทย มันเกิดจากร้านเวดดิ้งสตูดิโอที่นำเอาชุดไทยไปให้คนเขมรเช่า..
จุดสำคัญมันอยู่ที่ร้านเขมรไม่ต้องออกแบบหรือคิดอะไรมากแค่กดสั่งซื้อรอรับของแล้วปล่อยเช่า..
ในขณะที่ชุดซำปอตที่หากจะเอาแบบสวยๆมาปล่อยเช่าร้านต้องหลังขดหลังแข็งปักชุดตัดชุด ไหนจะปวดหัวออกแบบให้สวยถูกใจลูกค้าและไม่ให้ซ้าร้านอื่นอีก...
การนำเข้าชุดไทยจนติดตลาดในประเทศแล้วพยายามเคลมจึงง่ายกว่าการคิดเองทำเอง...
🔸 สรุปต้นเรื่องของการเคลมชุดไทยคือร้านเวดดิ้งสตูดิโอที่มักง่ายนั่นเอง
ดั้งเดิมชุดซำปอต ก็คือชุดสมโภช ที่รับไปจากสยามนั่นแหละ แต่เขมรรุ่นปู่ย่าตายายพยายามพัฒนาจนเป็นเอกลักษณ์ของชาติไปแล้ว(ระยะหนึ่ง)กลับโดนด้อยค่าโดยลูกหลาน ไม่คิดจะรักษาสมบัติปู่ย่าตายายเอาไว้
ส่วนตัวชุดนี้เป็นอีกชุดหนึ่งที่น่ากลัวบนเวทีประกวดชุดประจำชาติอีกชุดหนึ่งเลยเพราะมันไม่มีกรอบในการพัฒนาหรืออกความคิดใหม่ๆในการตัดเย็บ แล้วทรงชุดก็เอื้อต่อคนเอเชียโดยเฉพาะเขมรเวลาสวมใส่ สังเกตุทุกชุดต้องมีมงกุฏไม่ว่าเล็กหรือใหญ่..
คือมันพร้อมจะสวมมงอยู่แล้ว หรือไม่หากแต่ชนชาตินี้เป็นประเภทไก่ได้พลอยหัวล้านได้หวี มีของดีในมือแต่ไม่รู้ค่า
อีกชุดหนึ่งที่เขาพากันด่าผู้เข้าประกวดนางงามที่สวมชุดเสื้อยาวสีทองสวมเครื่องหัวสีทองขึ้นเวที..
บอกเลยว่าชุดนี้เป็นอีกชุดที่น่ากลัวนะหากออกแบบดีๆเพราะไม่มีกรอบการพัฒนาที่ชัดเจนมาครอบเหมือนชุดไทยหากเปลี่ยนขนาดชุดให้เข้ารูปมากขึ้นเปลี่ยนผ้าเปลี่ยนสีผ้า(ไม่ใช้สีทองพร่ำเพรื่อ)เปลี่ยนวัสดุในการทำเครื่องหัวบอกเลยหากเอาชุดที่ว่านี้ให้ช่างไทยออกแบบรับรองมงลงแน่นอน..
ขนาดชุดไทยมีกรอบชัดเจนต้องนุ่งจีบต้องห่มสะไบต้องใส่ศิราภรณ์(ชฎา-เกี้ยว-รัดเกล้า)เรายังพัฒนาออกแบบได้สาระพัดชุด แล้วชุดที่ไม่มีกรอบมาบังคับมาก ดีไซเนอร์ไทยจะเอาจินตนาการเอาจุดเด่นชุดออกมาพรีเซนต์ได้สวยมากแค่ไหนไม่อยากคิด
แต่อย่างว่า รสนิยมมันสอนกันไม่ได้...เคยทองอย่างไรก็จะทองตลอดไปอย่างที่เห็นผ่านๆมาและจะได้เห็นต่อไปอีกนานเท่านาน...
https://www.facebook.com/groups/awcc4/permalink/443944711368165/
https://www.facebook.com/groups/awcc5/