ไม่ใช่ครั้งแรก!'ปางช้างเล็ก'เคยน้ำท่วมปี65!พบภาพคล้ายปล่อยช้างไว้ในคอก!โพสต์รับบริจาค!
ปี 2567 ไม่ใช่ครั้งแรกที่น้ำท่วมปางช้างของคุณเล็ก แสงเดือน! คลิปว่อน Elephant Nature Park หรือ ENP กับภาพมุมสูงคล้ายปล่อยช้างไว้ในคอกตอนน้ำท่วมปาง เมื่อปี 2565
เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ทาง ENP ได้เผยแพร่คลิปเหตุการณ์น้ำท่วมปางเพื่อเปิดรับบริจาค แล้วมีผู้สังเกตเห็นว่ามีช้างจำนวนหนึ่งที่อยู่ในคอกยังคงถูกกักให้แช่น้ำโดยไม่ได้ถูกย้ายออกไป เมื่อคลิปภาพเหตุการณ์สะเทือนใจถูกเผยแพร่ไปคนใจบุญทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างให้เงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือ โดยตั้งเป้าไว้ที่ประมาณ 4 ล้านบาทหรือ 1.2 แสนดอลลาร์ นอกจากนี้ยังมีการบริจาคที่กระจายผ่านอีกหลายเครือข่ายจึงอาจทำให้ยอดบริจาครวมทั้งหมดสูงกว่านี้
ชาวเน็ตตั้งข้อสังเกตจากคลิปนี้ว่า ENP รู้ดีอยู่แล้วว่าน้ำจะท่วมถึงบริเวณคอกขังช้าง เพราะเป็นสิ่งที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในปี 2565 แต่ในปีนี้ ENP กลับไม่ดำเนินการหรือแก้ไขใดๆ แม้ทางการจะประกาศให้อพยพช้างตั้งแต่ 23 ก.ย. แต่ ENP ยังเปิดรับนักท่องเที่ยว จนตัดสินใจย้ายสัตว์บางส่วนในวันที่ 3 ตุลาคม และระดับน้ำสูงกว่าเดิมมาก จนสูญเสียช้างไป 2 เชือก และอาจมีช้างที่ล้มหรือสูญหายมากกว่านั้น เพราะมีผู้ให้ข้อมูลว่ายังมีช้างสูญหายอยู่อีกประมาณ 5-9 เชือก
เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 67 เครือข่ายคนรักช้างได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อนายกรวีร์ ปริศนานันทกุล ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง เพื่อขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบการทำงานของปางช้าง Elephant Nature Park (ENP) ของคุณเล็ก แสงเดือน จึงได้นัดหมายให้ทุกฝ่ายมาชี้แจงกันในวันที่ 30 ต.ค. 67 แต่ปรากฏว่าคุณเล็ก แสงเดือนไม่มาร่วมประชุมในวันที่ 30 โดยระบุว่าไม่มาร่วมประชุมเพราะอยู่ระหว่างฟื้นฟูพื้นที่หลังน้ำท่วม
นอกจากนี้ยังมีชาวเน็ตโพสต์ภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายการทำกิจกรรมภายในปางช้างที่แสดงให้เข้าใจว่าทาง ENP มีการถมพื้นที่เพื่อเปลี่ยนทางน้ำ และมีการทิ้งมูลสัตว์ลงไปในน้ำซึ่งแม่น้ำสายนี้จะไหลลงไปยังแม่น้ำปิงซึ่งเป็นแหล่งน้ำประปาของชาวเชียงใหม่
สรุปแล้ว ENP ปางช้างของคุณเล็ก แสงเดือน ถูกเครือข่ายคนรักช้างเรียกร้องให้ตรวจสอบประเด็นต่างๆในการประชุมที่ทางกรรมาธิการการปกครอง สภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานการประชุม ดังนี้
1. การดูแลสัตว์ที่ไม่ได้มาตรฐาน
ENP ไม่สามารถเคลื่อนย้ายช้างหรือสัตว์อื่นเพื่อหลีกเลี่ยงภัยน้ำท่วมได้ เนื่องจากวิธีการเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีการควบคุมดูแลเอาใจใส่ การเลี้ยงด้วยวิธีการขังช้างในกรงอย่างไร้อิสรภาพเป็นระยะเวลาหลาย 10 ปี จนทำให้ช้างเกิดความเครียดสะสมและมีอาการดุร้าย ก่อเหตุทำร้ายและฆ่าผู้เลี้ยงมาแล้วหลายครั้ง
2. เลี้ยงสัตว์โดยไม่ถูกสุขลักษณะ
ENP เลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากในพื้นที่กลางชุมชน และพื้นที่ดังกล่าวนั้นเป็นแอ่งกระทะ มีแม่น้ำแม่แตงไหลผ่าน และเส้นทางน้ำดังกล่าว ไหลลงสู่แม่น้ำปิงเป็นลำดับต่อไป มีการปล่อยสิ่งปฏิกูล เช่น มูลช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข และแมว ที่ถูกขังและเลี้ยงในพื้นที่ต่าง ๆ ของปางลงสู่แม่น้ำเป็นจำนวนมาก
3.ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของสัตว์
จากสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทางราชการได้มีการแจ้งเตือนตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2567 แต่ ENP ยังคงดำเนินกิจการปกติ โดยมิได้มีการดำเนินการใด ๆ ที่จะทำให้สัตว์มีความปลอดภัย
อีกทั้งในวันที่ 3 ต.ค. 2567 ปรากฏภาพช้างเดินลุยน้ำท่วม และมีการถ่ายคลิปวีดีโอเอาไว้เพื่อการขอรับเงินบริจาค จนในวันที่ 4 ต.ค. ทำให้ช้าง 2 เชือกจมน้ำเสียชีวิต
4. มีการถมที่เพื่อเพิ่มพื้นที่ปาง ENP โดยไม่ได้รับอนุญาต
จากภาพถ่ายดาวเทียม ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าปาง ENP ได้มีการถมที่ เพื่อเพิ่มพื้นที่ของตนเองให้มีพื้นที่มากขึ้น จนทำให้ตลิ่งฝั่งตรงข้ามกับปางนั้นพังทลายลง เป็นการเปลี่ยนเส้นทางน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เมื่อเกิดเหตุอุทกภัย น้ำมีความเร็วในการไหลเชี่ยวกรากมากขึ้น
ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น ไม่ได้ผ่านขั้นตอนการทำประชาพิจารณ์ หรือขออนุญาตจากประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่ของตนเอง
5. ปิดกั้นทางเดินสาธารณะของประชาชนในพื้นที่
ปาง ENP มีการปิดกั้นทางเดินสาธารณะที่ประชาชนในพื้นที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน โดยกล่าวอ้างว่าได้มีการซื้อพื้นที่ดังกล่าวมาโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ซึ่งพบว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว
ในการประชุมข้างต้นมีการเชิญตัวแทนหน่วยงาน และเครือข่ายต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุมดังนี้
- อธิบดีกรมปศุสัตว์
- ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
- นายอำเภอแม่แตง
- สรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2
- มูลนิธิอนุรักษ์สัตว์และสิ่งแวดล้อม (ไม่เข้าร่วมการประชุม)
- ตัวแทนเครือข่ายคนรักช้าง
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/share/v/asF317FyoUoS6T8F/
https://www.facebook.com/share/p/bxPUS9AQMUzkVive/
https://www.facebook.com/share/p/7Y222PKh4Zq9sv1v/
https://news.postjung.com/1581719
https://news.postjung.com/1582731
https://www.facebook.com/share/p/qDEfNL4govSFrSeF/
https://www.facebook.com/share/n5PGp12yx13yv8g9/
https://www.facebook.com/share/p/7N49zVzev3xFr9WL/