คนดูแลช้างปางช้าง'เล็ก'หายไปจากโรงพยาบาล!ญาติช็อคไม่ทราบเรื่อง!
หลังจากคนดูแลช้างจากปางช้างของคุณเล็ก แสงเดือน ซึ่งกำลังเป็นประเด็นดราม่าถูกช้างทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บสาหัส และในเวลาต่อมาก็มีข่าวลือว่าทางปางช้างของคนเล็กส่งคนมาเฝ้าและห้ามญาติเยี่ยม จนล่าสุดคนดูแลช้างที่เจ็บสาหัสออกจากโรงพยาบาลไปแล้วโดยที่ญาติไม่ทราบเรื่องเลย!
อ่านย้อนข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ที่:
'คนดูแลปางช้างเล็กถูกช้างทำร้ายเจ็บสาหัส'
https://news.postjung.com/1579617
'ลือ!ห้ามญาติเยี่ยม'
https://news.postjung.com/1579952
โดยทางเพจเฟซบุ๊ก The Echo ได้สอบถามป้าของ"ไมแกะ"คนดูแลช้างที่ถูกช้างทำร้ายโดยทางคุณป้ากล่าวว่ารู้สึกเป็นห่วงหลานเนื่องจากไม่ทราบว่าขณะนี้น้องอยู่ที่ไหน อีกทั้งญาติไม่ได้รับแจ้งว่าออกจากโรงพยาบาลแล้วแต่อย่างใด
เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2567 ป้าแท้ๆ ของ “ไมแกะ” ได้ขอให้หัวหน้างานช่วยโทรสอบถามอาการของหลานชายซึ่งรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลนครพิงค์ แต่ฝ่ายนั้นแจ้งว่าหลานชายได้ออกจากโรงพยาบาลไปแล้วตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2567 โดยครอบครัวทั้งพี่ชายแท้ๆ รวมถึงลุงกับป้ากลับไม่ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาล
ขณะนี้คุณป้าเป็นห่วงหลานเนื่องจากไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหนจึงขอร้องให้ผู้ที่พา“ไมแกะ” ออกจากโรงพยาบาลติดต่อมาด้วยเพื่อที่ครอบครัวจะได้ทราบอาการ"ไมแกะ"
โดยคุณป้าของ “ไมแกะ” ทำงานที่ปางช้างแห่งหนึ่งมาเป็นเวลานานแล้วและพูดภาษาไทยได้เล็กน้อยทำให้การประสานงานติดตามตัวหลานชายเป็นไปอย่างยากลำบาก ตอนนี้ทางครอบครัวของคนดูแลช้างกังวลเป็นอย่างมากกับสถานการณ์ และก่อนหน้านี้ทางครอบครัวก็เคยให้สัมภาษณ์กับทางสื่อว่าต้องการพา"ไมแกะ"กลับเมียนมาร์
เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากมีข่าวลือว่าทางปางช้างของคุณเล็กส่งคนมาเฝ้าคนเจ็บและห้ามไม่ให้ญาติเข้าเยี่ยม และจากเดิมที่ญาติเข้าเยี่ยมคนเจ็บก็ถูกคนเจ็บปฏิเสธไม่ให้เข้าเยี่ยมหลังจากมีคนจากทางปางช้างของคุณเล็กมาหาผู้ป่วย
โรมาโน พี่ชายของไมแกะ อายุ 19 ปี
...
นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่ว่า"ไมแกะ"อายุเพียง 17 ปีเท่านั้น จึงทำให้มีผู้สงสัยว่าสามารถจ้างทำงานได้หรือไม่ โดยในทางกฎหมายสามารถจ้างได้ภายใต้ข้อกฎหมายดังนี้
ตามมาตรา 45 กำหนดว่า ต้องแจ้งการจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเด็กทำงาน หากฝ่าฝืนมีโทษอาญา
ทั้งนี้สถานประกอบกิจการต้องจัดทำบันทึกสภาพการจ้างกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจได้ในเวลาทำการ ตลอดจนต้องแจ้งการสิ้นสุดการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กนั้นต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 7 วันนับแต่วันที่เด็กออกจากงาน
ตามมาตรา 46 ในวันหนึ่ง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กมีเวลาพักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง หลังจากที่ลูกจ้างทำงานมาแล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง แต่ใน 4 ชั่วโมงนั้นให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กได้มีเวลาพักตามที่นายจ้างกำหนด
ตามมาตรา 47 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปีทำงานในระหว่างเวลา 22.00 - 06.00 น. เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
ตามมาตรา 48 ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในวันหยุดและทำงานล่วงเวลา