เปิดผลวิจัย Whoscall สาเหตุการตกเป็นเหยื่อแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์
Whoscall ร่วมกับองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลก (GASA) เปิดเผยรายงานสถานการณ์การหลอกลวงในประเทศไทยประจำปี 2567 พบว่า 28% ของคนไทยตกเป็น เหยื่อมิจฉาชีพ โดยมีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยสูงถึง 36,000 บาทต่อราย
การโทรศัพท์และส่งข้อความผ่านมือถือยังคงเป็นวิธีการหลอกลวงที่มิจฉาชีพลงมือกระทำมากที่สุด ตามด้วยโฆษณาออนไลน์ แอปพลิเคชันส่งข้อความ และโพสต์บนโซเชียลมีเดีย โดย 5 ช่องทางยอดนิยมของมิจฉาชีพ ได้แก่ Facebook (50%), Line (43%), Messenger (39%), TikTok (25%) และ Gmail (20%)
การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Identity Theft) โดยการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน เป็นกลลวงที่พบมากที่สุดถึง 22% ตามมาด้วยการหลอกลวงให้ซื้อสินค้า (19%) การออกใบแจ้งหนี้ปลอมหรือการหลอกให้ชำระหนี้ (16%) และการหลอกให้ลงทุน (14%)
รายงานยังเผยว่า 66% ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจว่าเคยได้รับข้อความที่เขียนโดยใช้เทคโนโลยี AI (ปัญญาประดิษฐ์) ซึ่งมิจฉาชีพนำมาใช้ในการเขียนข้อความ สร้างบทสนทนา เลียนแบบเสียง รวมถึงสร้างภาพของบุคคลหรือสถานการณ์หลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ซึ่งการได้รับคืนเงินที่ถูกมิจฉาชีพหลอกไปนั้นทำได้ยากขึ้น โดย 71% ไม่สามารถนำเงินที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้
มาตรการป้องกันที่ดีที่สุดคือ ใครให้ทำนิติกรรมโอนเงิน ที่เราไม่จำเป็นต้องทำ และไม่ใช่การใช้จ่ายประวำวัน หรือเป็นปกติ ก็อย่าให้เงินเราออกจากกระเป๋าและบัญชีง่าย ๆ
+++____________________________________+++
รูปภาพ : เครดิตบนภาพ