สรุปมหากาพย์เรื่องของหมอบุญ กับโรงพยาบาลในเครือ THG มาถึงจุดนี้ได้ยังไง
หมอบุญเริ่มก่อตั้ง รพ. ธนบุรี ตั้งแต่ปี 2519 มีการขยายธุรกิจโรงพยาบาล ทั้งซื้อและลงทุน รวมไปถึงขยายโรงพยาบาลไปยังต่างประเทศ มูลค่าธุรกิจระดับหมื่นล้าน จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในปี 2537 และเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนในชื่อ THG ในปี 2560
ตลาดลือสะพัดว่า หมอบุญ แห่ง THG ขาดสภาพคล่อง เอาหุ้นไปจำนำทั้งในและนอกตลาด ด้านผลประกอบการ THG งวด 6 เดือนแรกปีนี้ มีกำไรสุทธิ 49.20 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 339.41 ล้านบาท ปัจจุบันบอร์ด THG คุมอำนาจโดยกลุ่ม รพ รามคำแหง
ช่วงที่มีการระบาดของ COVID ในปี 2564 หมอบุญได้ให้ข่าวว่า THG จะมีการนำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 อย่างไรก็ตามไม่มีการนำเข้าวัคซีนในช่วงเวลาดังกล่าว และไม่พบว่ามีสัญญาการซื้อขายจริง
กลต. พิจารณาว่าเป็นการให้ข่าวที่อาจก่อให้เกิดความสำคัญผิดเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของ THG ที่มีผลกระทบต่อราคาหรือการตัดสินใจลงทุนในหุ้น THG จึงสั่งปรับ 2.3 ล้านบาท และห้ามเป็นผู้บริหารบริษัท 42 เดือน
- หมอบุญไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารใดๆ ของ THG
- หมอบุญมีการลงทุนผ่านบริษัท ราชธานีพัฒนาการ(2014)
- คาดว่ามีการเอาทรัพย์สินส่วนตัวและ THG ไปลงทุนโครงการ จิณณ์ เวลบีอิ้งและธนบุรีบำรุงเมือง โดยรวมเป็นหนี้อยู่ราวๆ 7,000 ล้านบาท
- ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่ของ THG คือเครือ รพ. รามคำแหง
- THG มีบริษัทย่อยคือ บริษัทโรงพยาบาลธนบุรีบำรุงเมือง(THB) และ ทีเอชเฮลท์ (THH) THG รายงาน ตลท. ว่าพบความผิดปกติคือ
- THB และ THH ให้บริษัท ราชธานีพัฒนาการ(RTD) กู้เงินเป็นจำนวน 145 ล้านบาท ในช่วง ธค 2565-2566
- THB ให้บริษัทลูกของ RTD กู้เงิน 10 ล้านบาท
- THH สั่งสินค้าจากบริษัทที่สิงคโปร์ 55 ล้านบาท ในปี 2566 แต่จนถึงปัจจุบันไม่ได้รับสินค้าจริง
หมอบุญชี้แจงว่าการตรวจสอบในองค์กรครั้งนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิด โดยบอกว่า ไม่มีทุจริต ไม่มีเงินหาย ยอมรับว่ามีการสั่งซื้อสินค้าจากประเทศเยอรมันแต่ไม่ได้รับมอบสินค้า โดยมีบริษัทเข้ามารับผิดชอบแล้ว ค่าเสียหายจริง 110 ล้านบาท ไม่ถึง 210 ล้านบาท ให้ THG หยุดให้ข่าว
วันต่อมา THG แจ้งกับตลท. โต้หมอบุญ ว่าให้ผู้ถือหุ้นติดตามแค่แหล่งข่าวจาก THG เท่านั้น ไม่ต้องฟังตามที่หมอบุญ ออกมาให้ข้อมูล และได้มีมติบอร์ดให้ปลด นางจารุวรรณ วนาสิน ภรรยาของหมอบุญ จากประธานกรรมการ แต่งตั้งตั้งนายแพทย์เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ แทนเพื่อตรวจสอบธุรกรรมที่เกิดขึ้น
สิ่งที่น่าสนใจ
เงินที่พบว่าเป็นธุรกรรมน่าสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับหมอบุญหรือไม่นั้น ไม่ได้เป็นจำนวนที่มากเมื่อเทียบกับมูลค่าของเครือ THG อาจแปลได้ว่า
1. มีธุรกรรมอื่นที่น่าสงสัยอีกหรือไม่ เช่น งบการ Renovate รพ ธนบุรีบำรุงเมืองที่ค่อนข้างสูง
2. หรือปัญหาหนี้ของหมอบุญจะหนักมาก
มีแหล่งข่าวระบุว่า
1. หมอบุญมีการกู้เงินจำนวนมาก โดยมีทั้งที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันและกู้แบบ Clean loan (ไม่มีอะไรค้ำประกัน)
2. มีการเอาหุ้นของ THG ไปค้ำเพื่อกู้ วงเงินประมาณ 2,000 ล้านบาท
3. มีคนแจ้งไปทางข่าวหุ้นว่าหมอบุญกู้เงินเจ้าหนี้รายย่อยหลายราย หลัก 10 ล้าน พบว่าเช็คเด้ง
สิ่งที่น่ากังวล
ขณะนี้ครอบครัววนาสินถือหุ้น THG อยู่ราว 180 ล้านหุ้น จำนวนนี้ จะโดนเจ้าหนี้บังคับขายหรือไม่ ซึ่งอันที่จริงแล้วหากบังคับขายจะทำให้ราคาหุ้นตกลงมากและไม่เป็นผลดีกับเจ้าหนี้ แต่ว่าปัญหาคือเจ้านี้ไม่ได้มีคนเดียว หากมีใครเริ่มบังคับขายคนอื่นจะตาม ก็ไม่รู้ว่าจะกี่ Floor
คาดเดาว่าเงินทั้งหมดที่เอาไป เพราะธุรกิจไม่เป็นไปตามที่คาด ละต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ เพราะแกกู้แบบเซ็นต์เช็คไว้จ่ายดอก ถ้าเช็คเด้งมันจะกลายเป็นคดีอาญา ต้องติดคุก แกคงไม่อยากติด ละกู้วนไปวนมาจนเละเทะไปหมดแบบนี้
เครดิต : @LittleBirbMame