หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

“ยุคนี้ ใครๆ ก็ต้อง Productive” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่ไม่เกินจริงเลยสำหรับสังคมการทำงานในยุคนี้"

เนื้อหาโดย nattawut2544

“ยุคนี้ ใครๆ ก็ต้อง Productive” ประโยคนี้เป็นสิ่งที่ไม่เกินจริงเลยสำหรับสังคมการทำงานในยุคนี้ ที่เราต้องแข่งขันกับสภาพแวดล้อมรอบตัว ทั้งเพื่อนร่วมงานที่พัฒนาตัวอย่างไม่มีวันเหน็ดเหนื่อย หรือเทคโนโลยีที่เปลี่ยนจาก “ผู้ช่วย” มาร่วมลงสนามกลายเป็น “ผู้แข่ง” กับเราจนทำให้เราต้องใช้เวลาที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าในทุกวินาที

 

แต่เมื่อปีที่ผ่านมานี้ คำว่า “Productivity” กลับกำลังทำร้ายคนทำงาน ผ่านความคิดบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกกดดันมากจน

 

เกินไป กลายเป็นอาการหมดไฟ และมองข้ามคุณค่าที่แท้จริงของตัวเองไปเพียงแค่รู้สึกว่าตัวเองไม่ Productive มากพอ จนเส้นกั้นระหว่างคำว่า Productive และ Workaholic นั้นเริ่มเข้าใกล้จนกลายเป็นคำคำเดียวกันมากขึ้น อีกทั้งเริ่มมีคนทำงานที่กำลังได้รับผลกระทบจากการโหมงานหนักผ่านการตีความคำว่า Productive ไปในทางที่เป็นพิษจนทำให้รู้สึกไม่ดีกับการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ

 

ล้วงต้นตอของ Toxic Productivity เมื่อ​​วิกฤตกำลังสร้างคนขยันที่ไม่มีความสุข?

 

หากจะกลับไปที่ต้นเหตุของการเกิด Toxic Productivity ต้องยอมรับว่าสังคมการทำงานในไทยสมัยนี้มักจะคาดหวังให้พนักงานมีความ Productive ที่สูง สามารถใช้เวลาในทุกชั่วโมงอย่างมีค่า อีกทั้งยังมีวัฒนธรรมยกย่องการทำงานที่ไม่หยุดยั้ง ไม่อยู่นิ่ง พร้อมทำทุกอย่างเพื่อให้บรรลุความสำเร็จ ซึ่งจริงๆ แล้ววัฒนธรรมแบบนี้ไม่ใช่ธรรมชาติของการทำงานของคนไทย แต่กลับเป็นสิ่งที่ค่อยๆ ก่อร่างสร้างขึ้นมาจากวัฒนธรรมการทำงานแบบ Hustle Culture ที่ได้รับความนิยมหลังจากวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ (Great Depression) ในปี 2008 ที่สภาพเศรษฐกิจ การล้มละลายของบริษัทใหญ่ และการเลิกจ้างงานที่มหาศาลผลักดันให้ผู้คนต้องทำงานหนักขึ้น 

 

จนในยุค 2020s นี้ มรดกวัฒนธรรมจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนั้นก็ยังคงไม่หายไป ถ้าหากใครเคยติดตามทวิตเตอร์ของ Elon Musk ในปีที่แล้วอาจจะเคยเห็นทวีตหนึ่งที่โด่งดัง เป็นที่กล่าวขันในหมู่คนทำงานว่า “Nobody ever changed the world on 40 hours a week.” หรือ “ไม่มีใครสามารถเปลี่ยนโลกได้จากการทำงานแค่ 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์” ซึ่งเมื่อผู้ที่มีอิทธิพลบนโลกออนไลน์ออกมาแสดงความเห็นเช่นนี้ มันก็เป็นเรื่องยากถ้าหากเราจะรู้สึกว่าตัวเองทำงานเพียงพอแล้ว หรือหยุดอยู่นิ่ง โดยที่ไม่ลุกขึ้นสู้เหมือนคนทำงานอื่นๆ ในโลกที่เต็มไปด้วยความ Productive ใบนี้

 

นอกจากนี้ นักจิตวิทยาคลินิกอย่าง Kathryn Esquer ก็ได้ให้ความเห็นไว้ว่า “การทำตัว Productive ทำให้เราตัดขาดตัวเองจากสิ่งรบกวนต่างๆ และทำให้เราได้รับสารแห่งความสุขที่หลั่งออกมาชั่วคราว” หรือกล่าวได้ง่ายๆ ว่าเมื่อเราเริ่มรู้สึกไม่แน่นอนในชีวิต การทำตัวให้ Productive ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เรารู้สึกมีความมั่นคงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหันมาทำงานบ้านเมื่อคิดงานไม่ออก การพยายามทำผลงานให้ชนะคนอื่นๆ เพื่อให้ตัวเองรู้สึกมั่นคง หรือแม้กระทั่งในช่วงการระบาดของ Covid-19 ที่หลายคนพยายามใช้เวลาที่ว่างในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อไม่ให้ตัวเองรู้สึกว่างจนเกินไป

 

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อเราพยายามนำเอาความ Productive มาการันตีความมั่นคงของชีวิตและจิตใจมากเกินไป เราก็อาจจะหักโหมกับงานนั้นจนลืมหันมองดูจิตใจที่เป็นเนื้อแท้ของเรา จนทำให้เราได้รับความเจ็บปวดจากผลลัพธ์ที่ไม่ได้เป็นอย่างที่หวังมากกว่าเดิม

 

ความขยันแบบไหน ที่เป็นพิษเกินไปจนทำให้ใจเราพัง

 

จริงๆ แล้วความหมายของ Productivity ไม่ใช่การใช้เวลาที่มีอยู่ทั้งหมดไปกับการทำงานโดยไม่ยอมพักผ่อน แต่กลับเป็นการ Balance เวลางานและชีวิตให้สมดุลกัน แล้วจัดการเวลางานที่เราแยกออกมานั้นให้คุ้มค่าที่สุด แต่ก็มีพฤติกรรมบางอย่างที่ตีความคำว่า Productive ผิดไปจนกลายเป็นสิ่งที่บั่นทอนทั้งจิตใจและร่างกายไปในที่สุด

 

พฤติกรรมแรกคือ “การทำงานเกินชั่วโมงเป็นประจำ” การพยายามเข้างานก่อนคนอื่นเพื่อให้สามารถใช้เวลาทำงานมากกว่าคนทั่วไป การรู้สึกแย่เมื่อเข้าทำงานสายหรือตรงเวลาเกินไป ซึ่งรวมถึงการทำงานในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่ว่าเราจะได้รับโอทีหรือไม่ก็ตาม นั่นก็เป็นพฤติกรรมที่ทำให้ชีวิตการทำงานของเรากำลังครอบงำชีวิตในด้านอื่นๆ จนทำให้ความเครียดในการทำงานเป็นความเครียดหลักของชีวิต

 

พฤติกรรมที่ 2 คือ “รู้สึกผิดที่ไม่ได้ทำงานให้ดีกว่าปกติ” คนปกตินั้นจะรู้สึกพึงพอใจหากพวกเขาทำงานเสร็จตามปกติ แต่คนที่เป็น Toxic Productivity จะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลวหากไม่ได้ทำงานเสร็จและดีมากกว่าปกติ คนกลุ่มนี้จะมีความคาดหวังกับความสมบูรณ์แบบของงานมากเป็นพิเศษ และรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลวหากมีจุดผิดพลาดในงานใดงานหนึ่ง

 

พฤติกรรมที่ 3 คือ “ไม่อยากทำกิจกรรมอื่น นอกจากการทำงาน” อย่างเช่น ไม่อยากเสียเวลาไปดูหนัง เพราะรู้สึกว่าไร้สาระ, ไม่ต้องการทานข้าวเช้า เพราะรู้สึกว่าเสียเวลาเดินทาง เมื่อเราเริ่มมีความคิดแบบ Toxic Productivity เราจะเริ่มรู้สึกว่าการทำกิจกรรมอื่นๆ ทำให้เราเสียเวลาที่เราสามารถใช้ไปกับการทำงานเพื่อเป้าหมายของเราไป และมองว่ากิจกรรมที่ไม่เกี่ยวกับงานเช่น การเที่ยวกับเพื่อนและครอบครัว การพักผ่อน เป็นกิจกรรมที่ “ไม่ Productive” สำหรับตัวเอง 

 

และพฤติกรรมที่ 4 คือ “พยายามเปิดใจกับทุกเรื่อง แม้กระทั่งเรื่องที่ต้องฝืนทำ” แน่นอนว่าคนเราไม่ได้รู้สึกดีกับทุกอย่างบนโลก และไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวคนเดียว แต่คนที่เป็น Toxic Productivity จะรู้สึกว่าตัวเองต้องพยายามฝืนทำทุกเรื่อง แม้จะเป็นเรื่องที่ไม่ชอบก็ตาม ซึ่งการพยายาม "เปิดใจ" ตลอดเวลาก็สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้เช่นกัน เราอาจจะรู้สึกกังวลอยู่เสมอเกี่ยวกับงานทั้งหมดที่ต้องทำและกังวลว่าเราจะทำมันได้ไม่ดีพอ จนกลายเป็นอาการซึมเศร้า

 

เมื่อเรากดดันตัวเองมากเกินไปและเป็นเวลานานเกินไป พยายาม Productive จนทำร้ายจิตใจของตัวเองโดยไม่รู้ ความเหนื่อยหน่าย ความหมดไฟก็มักจะตามมาโดยที่เราไม่รู้สึกตัวเช่นกัน 

 

“ทำงานเป็น ไม่ใช่ทำงานหนัก” ออกจากวงจรใจพังด้วยการเลิก Productive แบบผิดๆ 

 

แม้ว่าการพยายามขยันและ Productive แบบผิดๆ จะทำให้เรารู้สึกถึงความมั่นคงมากขึ้น แต่สุดท้ายการที่พยายามมากเกินไป ก็ส่งผลเสียต่อเราได้อย่างมหาศาล และท้ายที่สุดแล้ว ความเป็นมนุษย์ก็เพียงต้องการการทำงานที่มีประสิทธิภาพในระดับหนึ่ง ไม่ใช่การทำงานหนักจนลืมความสุขของการใช้ชีวิตไปจนหมด

 

มีคำกล่าวที่ว่า “การทำงานให้มีประสิทธิภาพ คือการวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งระยะสั้น” และเราจะสามารถวิ่งมาราธอนได้สำหรับก็ต่อเมื่อเรารู้สึกผ่อนความหนักเบาของการทำงาน รู้จังหวะที่ควรเร่งมือ และจังหวะที่ควรพัก เพื่อให้เราเข้าถึงเส้นชัยได้สำเร็จ ซึ่งวิธีที่ทำให้เราสามารถออกจากวงจร Productive จนใจพัง และกลับมาสร้างความ Productive ที่เป็นบวกได้สำเร็จมีทั้งหมด 6 วิธีด้วยกันคือ 

 

[ ] กำหนดขอบเขตของการทำงาน: วางตารางให้ชัดเจนว่าเราจะทำงานเวลาไหนบ้าง หากเราเป็นหัวหน้าทีม ให้หลีกเลี่ยงการส่งและตอบกลับข้อความนอกเวลางาน ใช้วันลาให้คุ้มค่าและสนับสนุนให้ทีมทำแบบเดียวกับเรา 

 

[ ] ตั้งเป้าหมายการวัดผลที่สมจริงขึ้น: คนทำงานหลายคนต้องพบกับความเครียดและพยายามทำงานให้หนักกว่าปกติจากเป้าหมายของการวัดผลที่สูงมากจนเกินไป ลองกลับมาเปลี่ยนเป้าหมายนั้นให้มีความเฉพาะเจาะจง วัดผลได้ บรรลุผลได้ สมจริง และมีขอบเขตเวลาที่ชัดเจน

 

[ ] ใส่เวลาพักเข้าไปในตารางงานของเรา: ทุกคนต้องการเวลาพักและการหยุดพักไม่ใช่การอู้งาน แต่เป็นการเพิ่มคุณภาพของการทำงานในระยะยาว และช่วยให้เรามีสมาธิ คิดอย่างสร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งมีแนวคิดเรื่องการพักผ่อนแบบ 3M จากนักประสาทวิทยาอย่าง ดร. ซาฮาร์ ยูเซฟ ที่บอกว่ามนุษย์วัยทำงานควรแบ่งเวลาพักผ่อนออกเป็น 3 ประเภท คือ Macro break (ลาหยุดครึ่งวันหรือเต็มวันทุกเดือนเพื่อไปเที่ยวบ้าง), Meso break (พักผ่อน 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เพื่อทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เช่นการเล่นดนตรี ออกกำลังกาย ว่ายน้ำ) และ Micro break (พักสั้นๆ ไม่กี่นาทีต่อวันเพื่อยืดเส้นยืดสาย หรือทำสมาธิ)

 

[ ] ต้องมีวันที่ไร้ประโยชน์บ้าง: มนุษย์ Toxic Productive จะรู้สึกแย่หากตัวเองมีความผิดพลาดหรือไร้ประโยชน์ ซึ่งการที่จะลดความขยันแบบเป็นพิษนั้น ต้องเริ่มจากการ Normalize หรือมองเห็นความไร้ประโยชน์เป็นเรื่องปกติเสียก่อน ให้ลองกำหนดวันที่ไม่มีเป้าหมาย ไม่ต้องพยายามทำอะไรให้สำเร็จเลยสัก 1 วันต่อสัปดาห์ แล้วใช้เวลานั้นทำกิจกรรมที่เราชอบหรือแม้แต่ไม่ทำอะไรเลยก็ได้

 

[ ] จัดการกับความรู้สึกแย่ๆ ต่อตัวเองให้ได้: หลายครั้งที่ความ Toxic Productivity มักจะถูกใช้เพื่อลดความรู้สึกแย่ต่อตัวเอง ผ่านการทำงานให้หนักเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้ว่าตัวเองเป็นคนที่มีคุณค่า แต่กลับกัน หากเราเรียนรู้และสามารถจัดการกับความรู้สึกแย่เหล่านั้นได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาความ Toxic Productivity เราก็จะสามารถลดความเป็นพิษเหล่านั้นได้

 

[ ] หยุดพักจากหน้าจอบ้าง: การพกโทรศัพท์มือถือไปในทุกที่ จดจ่อกับหน้าจอทุกครั้งที่มีเสียงแจ้งเตือน หรือหยุดออกกำลังกายแล้วมาจดจ่อกับเรื่องงานทุกครั้งที่ Smart Watch สั่น ก็ไม่ต่างกับการสะพายกระเป๋าโน้ตบุ๊กไปในทุกที่ ให้เปลี่ยนนิสัยและหยุดพักจากหน้าจอบ้าง อย่างเช่นการวางโทรศัพท์ไว้ในกระเป๋าหรือลิ้นชักเพื่อไม่ให้มองเห็น, ไปเดินเล่นแล้วทิ้งโทรศัพท์ไว้, เปิดโหมด "ห้ามรบกวน" และปิดการแจ้งเตือนสำหรับแอปงานในเวลาหลังเลิกงาน

 

.

แม้ว่าสังคมและสภาพเศรษฐกิจในยุคนี้จะทำให้คนคนหนึ่งกลายเป็นคนที่ขยัน จดจ่อกับคำว่า Productivity เกินไปจนกลายเป็นพิษ แต่สิ่งหนึ่งที่อยากให้จดจำไว้เสมอก็คือ ไม่ว่าเราจะทำงานหนักมากเท่าไหร่ สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญเสมอและไม่ควรละเลยก็คือ “ความสุขของตัวเอง” เพราะอย่าลืมว่าการทำงานเพื่อเป้าหมายในชีวิต ก็เหมือนการวิ่งมาราธอน ถ้าหากเรามีชีวิตอยู่โดยปราศจากความสุขแล้ว นั่นก็เท่ากับว่าเรากำลังตัดเสบียงสำคัญในการวิ่งมาราธอนอยู่นั่นเอง

.

เพราะฉะนั้น อย่าทำงานมากเกินไปจนลืมให้ความสุขกับตัวเอง

เนื้อหาโดย: nattawut2544
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
nattawut2544's profile


โพสท์โดย: nattawut2544
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ลูกไก่กลายเป็นไก่ย่างเพราะใช้โคมไฟให้ความอบอุ่น ร้อนเกินไปเปิดพรีออเดอร์ “งูกินหาง” ชาวเน็ตแห่เม้นนึกว่ายางมอเตอร์ไซค์กรุงเทพ ชนะขาด สาวอังกฤษบอก ไทยปลอดภัยกว่า ลอนดอนเกาหลีเหนือเปิดแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เลขเด็ด "เสือตกถัง พลังเงินดี" งวดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 68..มาให้โชคแล้ว รีบส่องกันเลย!ลูกค้ารีวิวให้ร้านอาหาร 2 ดาว เหตุพนักงานไม่ตักข้าว ตักแกงให้ ชาวเน็ตถามไม่มีมือเหรอคะสาว?สาวบุกช่วยหมาจากแตน จนโดนต่อยแทน หมาเป็นห่วงเจ้าของพุ่งเข้าช่วยซ้ำ จบแบบเจ็บคู่ร้านพิซซ่าในอังกฤษ ไม่เห็นด้วยกับการมีสับปะรดบนหน้าพิซซ่า เเต่หากลูกค้าอยากได้ ต้องจ่าย 4,200 บาท“GeminiFourth กับโชว์สุดปังในคอนเสิร์ต ‘GF Run The World in Manila’ ที่ฟิลิปปินส์!”
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
“GeminiFourth กับโชว์สุดปังในคอนเสิร์ต ‘GF Run The World in Manila’ ที่ฟิลิปปินส์!”นนกุล ลงรูปยืนกินขนมปังที่เกาหลี แอฟ คอมเมนต์ด้วยประโยคนี้ เจอแฟนๆ แซวยับครอบครัว 4 คนเป็นหวัดกันหมด ตกใจเมื่อหมอเจอความลับหลังจากตรวจชาวกัมพูชาเบียดกันตายเพื่อแย่งอั่งเปา หน้าบ้านมหาเศรษฐี ดับ 4 ราย 😌หนุ่มน้อยใจยายบ่น ว่ากินข้าวไม่ล้างจานและไม่หาการงานทำ ผูกคอดับสลด
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ยายชา เถิดเทิง เสียชีวิตแล้ว จากไปอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งปอดญี่ปุ่นปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในรอบ 17 ปีทรัมป์ปฏิเสธคำวิจารณ์ของอีลอน มัสก์เกี่ยวกับการประกาศ AIสหรัฐฯ ระงับความช่วยเหลือจากต่างประเทศเกือบทั้งหมด
ตั้งกระทู้ใหม่