นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นคว้ารางวัลอิกโนเบล จากการค้นพบการหายใจทางรูก้น
ศาสตราจารย์ "ทาคาฟุมิ ทาเคเบะ" และ กลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัย การแพทย์และทันตกรรมโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้รับรางวัล "อิก โนเบล" [รางวัลสำหรับนักวิจัยทางการแพทย์ ซึ่งเป็นรางวัลระดับโลก] สาขาสรีรวิทยา จากการค้นพบว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด สามารถหายใจผ่านทางรูก้นได้!! ซึ่งได้เปิดช่องทางและมุมมองใหม่ ให้กับการผลิตเครื่องช่วยหายใจ ในอนาคต...
"ทาคาฟุมิ ทาเคเบะ" และทีมของเขา เน้นไปที่สายพันธุ์บางชนิด เช่น ปลาไหลซึ่งสามารถดูดซับออกซิเจน ได้ผ่านลำไส้ผ่านทางรูก้น ซึ่งเราเริ่มการวิจัยจากตรงนั้น...
ในช่วงแรก พวกเขาทำการทดลอง โดยการฉีดก๊าซออกซิเจนเข้าไปในลำไส้ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโดยตรง อย่างไรก็ตาม ปริมาณออกซิเจนที่ดูดซับได้นั้น มีน้อยมาก และ มีความเสี่ยงที่ลำไส้จะแตก จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการอื่น... เนื่องจากเป็นสาขาการวิจัยใหม่โดยสิ้นเชิง จึงขาดการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน ซึ่งรวมถึงความท้าทายทางการเงินด้วย...
อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้พวกเขาเห็นว่า มีผู้ป่วยหลายคนหายใจไม่ออกและเสียชีวิต หลังจากติดโควิด ซึ่งนั่นทำให้พวกเขากลับมามีไฟ ในการวิจัยเพื่อหาทางเลือกใหม่ ให้ผู้ป่วยหายใจออกหาก หลอดลมถูกบีบหรือปิดกั้น...
พวกเขาเริ่มใช้ของเหลวพิเศษ ที่มีออกซิเจนสูงแทนก๊าซ ซึ่งพวกเขาพบว่ามันได้ผลกับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ประสบปัญหาระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ถึงแม้ว่าวิธีการช่วยหายใจทางลำไส้ จะไม่สามารถใช้ทดแทนการทำงาน ของปอดในผู้ป่วยที่ปอดล้มเหลวได้อย่างสมบูรณ์ แต่ทีมของเขาคาดว่า เมื่อนำไปใช้ในการรักษากับมนุษย์ วิธีการนี้อาจช่วยลดภาระที่ร่างกายต้องแบกรับ เมื่อเทียบกับเครื่องช่วยหายใจทั่วไป และ อุปกรณ์เอกโม่ [เครื่องให้ออกซิเจนผ่านเยื่อหุ้มเซลล์นอกร่างกาย]
การทดลองทางคลินิกในมนุษย์ได้เริ่มขึ้นแล้ว และ คาดว่าการรักษาโดยใช้วิธีการระบายอากาศในลำไส้ ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นในญี่ปุ่น ภายในประมาณปี 2028 ด้วยรางวัลนี้ ทำให้นักวิจัยชาวญี่ปุ่น สามารถคว้ารางวัล "อิก โนเบล" ได้ 18 ปีติดต่อกัน...