เมืองคอนคอนเตรียมประกาศพื้นที่แพร่ระบาด“ปลาหกมอคางดำ” “เอเลี่ยนสปีชีส์”จากต่างแดน
เมืองคอนคอนเตรียมประกาศพื้นที่แพร่ระบาดปลาหมอคางดำ “เอเลี่ยนสปีชีส์”จากต่างแดน -สมาชิกสภาเกษตรกร ฯเรียกร้องให้ประกาศเขตภัยพิบัติเรียก อปท.สามารถอนุมัติงบประมาณสนับสนุนภารกิจไล่ล่ากำจัดและควรรีบเร่งดำเนินการก่อนที่สถานการณ์จะลุกลามรุนแรงยากจะแก้ไข
( 26 มิ.ย.) นายไพโรจน์ รัตนรัตน์ สมาชิกสภาเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช เขต อ.ปากพนัง กล่าวว่า ในที่ประชุมที่ป่านมาตนได้นำเสนอมาตรการเร่งด่วน อาทิ ให้จังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติ โดยแบ่งพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นพื้นที่แพร่ระบาดอย่างหนัก และสีเหลืองแพร่ระบาดเล็กน้อยเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง ให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับเกษตรกร ห้ามผู้ใดเเลี้ยงขยายพันธุ์อย่างเด็ดขาด ,ให้จัดชุดไล่ล่าจับปลาหมอคางดำอย่างจริงจังต่อเนื่องและให้ตั้งจุดรับซื้อ 6 จุด อำเภอปากพนัง 3 จุด อำเภอหัวไทร จะรับซื้อ กก.ละ 15 บาท เพื่อบริโภคและทำลายโดยส่งขายโรงงานปลาป่น ในที่ประชุมอนุมัติงบแก้ปัญหาในเบื้องต้นแค่ 20,000 บาท ซึ่งคงไม่เพียงพอกับการดำเนินการแก้ปัญหากำจัดปลาหมอคางดำอย่างแน่นอน
“อย่างไรก็ตามทราบว่าในขณะนี้จุดรับซื้อของราชการรับซื้อแบบคละไซส์แค่ กก.ละ 10 บาท ในขณะที่เอกชนบางรายรับซื้อเฉพาะตัวใหญ่ที่ได้ขนาดตามที่กำหนด กก.ละ 20 บาท ตนอยากให้ทางราชการรับซื้อแบบคละไซส์ กก.ละ 15 บาท เพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้ประชาชนทั่วไปออกมาไล่ล่าจับปลาหมอคางดำขาย สร้างรายได้เสริม หากเขาออกไล่ล่าจับได้วันละ 20 กก. อย่างน้อยเขาก็มีรายได้ 300 บาท ประชาชนจากทุกอำเภอก็อาจจะหันมารวมตัวกันไล่ล่าจับปลาหมอคางดำกันมากขึ้นมันก็จะหมดไปจากแห่งน้ำธรรมชาติได้รวดเร็วขึ้น”
นายไพโรจน์ กล่าวอีกว่า ในขณะที่ชาวประมงพื้นบ้าน ทั้งประมงน้ำจืด ได้รับผลกระทบเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะตามแห่งน้ำธรรมชาติ ปลาท้องถิ่นแทบไม่เหลือเลย เมื่อก่อนตาม ห้วย หนอง คลอง บึง แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ อ.ปากพนัง หัวไทร จะมีปลาท้องถิ่นหลายชนิด หลายขนาด อาทิ ปลาช่อน ปลาดุก ปลาชะโด ปลาซิว ประกระดี่ เป็นต้น แต่ในปัจจุบันมีแต่ปลาหมอคางดำเต็มพื้นที่ ตนเสนอในที่ประชุมและเรียกร้องให้จังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติการแพร่ระบาดของปลาหมดคางดำ โดยอาจจะแยกเป็นสีแดง คือพื้นที่แพร่ระบาดรุนแรง และพื้นที่สีเหลืองแพร่ระบาดไม่รุนแรงแต่เป็นพื้นที่เฝ้าระวัง หากประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ หรือพื้นที่สีแดง ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. หรือ เทศบาล เขาจะสามารถจัดงบประมาณสนับสนุนภาระกิจไล่ล่ากำจัดปลาหมอคางดำได้
“ หากไม่เร่งดำเนินการแก้ปัญหาโดยเร็ว หากปล่อยล่าช้า สถาการณ์ลุกลามรุนแรงจะยากในการแก้ปัญหา ซึ่งมาตรการและกิจกรรมที่มีการเสนอและตกลงกันในที่ประชุม 5 มาตรการ 10 กิจกรรม จะต้องเร่งนำไปสู่การปฏิบัติจริงโดยเร็วที่สุด เพราะหากไม่ดำเนินการใด ๆ อีกไม่กี่เดือนปลาหมอคางดำแพร่ระบาดขยายวงกวางไปทั่วจังหวัดนครศรีธรรมราชก็เป็นได้ และเมื่อถึงเวลานั้นทางราชการจะใช้งบประมาณมากขนาดไหนก็แก้ไขไม่ได้ง่าย ๆ แน่” นายไพโรจน์ กล่าวย้ำในที่สุด.
เครดิตภาพ:ไพฑูรย์ อินทศิลา/ นครศรีธรรมราช