นักวิทย์พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่คิดว่าสูญพันธุ์ไป 60 ปี ในป่าอินโดนีเซีย
สื่อนอกรานงานว่า "นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สายพันธุ์ที่คิดว่าสูญพันธุ์ไปนานถึง 60 ปี "แอตเทนบะระ อิคิดนา" [ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ] ในพื้นที่เทือกเขาไซคล็อปส์ ประเทศอินโดนีเซีย..." และ "ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคโบราณ เป็นสัตว์ทีมีลักษณะขนแหลมคล้ายเม่น ที่มีจมูกแบบตัวกินมด และ มีเท้าเหมือนตัวตุ่น..."
ตัวกินมดชนิดนี้ถูกพบครั้งแรกโดย นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อว่า "เซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ" จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งจากหลักฐานล่าสุดข้อสันนิษฐานในอดีต ได้ถูกลบล้างไป เพราะสัตว์สายพันธุ์นี้ไม่ได้สูญพันธุ์ อย่างที่หลายคนวิตกกัน...
นักชีววิทยา "ดร. เจมส์ เคมป์ตัน" ผู้นำทีมวิจัยลงสำรวจพื้นที่ ในเทือกเขาไซคลอปส์ ซึ่งเป็นป่าฝนที่อยู่สูง 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ของประเทศอินโดนีเซีย เขาได้พบภาพของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่กำลังเดินผ่านป่าพงบนการ์ดหน่วยความจำใบสุดท้าย ที่ดึงมาจากกล้องระยะไกลมากกว่า 80 ตัว จากความสำเร็จในครั้งนี้ เขากล่าวว่า "พวกเรารู้สึกอิ่มเอมใจเป็นอย่างมาก" และ "ยังโล่งใจที่ได้ใช้เวลาอยู่ในทุ่งนามายาวนาน โดยไม่มีรางวัลใดๆ จนกระทั่งวันสุดท้าย วินาทีที่เราได้เห็นภาพนี้ครั้งแรก ร่วมกับผู้ร่วมมือจากกลุ่มอนุรักษ์ YAPPENDA ของอินโดนีเซีย ผมตะโกนบอกเพื่อนร่วมงานที่ยังเหลืออยู่ว่า "เราเจอแล้ว!! เราเจอแล้ว!!""
*คลิปอยู่ในลิงก์เว็บข้างล่าง*
ที่มา: https://www.cbc.ca/news/science/echidna-video-1.7024966