หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

นโยบายดิจิทัลรัฐบาลเศรษฐา น่าผิดหวัง สส. ก้าวไกล

เนื้อหาโดย Wut15

[ นโยบายดิจิทัลรัฐบาลเศรษฐา น่าผิดหวัง ‘คำสำคัญ’ ที่ควรมี กลับไม่ปรากฏในถ้อยแถลง หวั่น รมว.ดิจิทัล มานั่งคุมกระทรวง เพราะถูกส่งมาคุมดาวเทียม-คลื่นความถี่ ]



ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ - Natthaphong Ruengpanyawut สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายในการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ถึงนโยบายดิจิทัล โดยระบุว่า วันนี้ประชาชนต้องการความหวัง และตนคาดหวังจะเห็นรัฐบาลชุดนี้ ภายใต้คำแถลงนโยบาย 14 หน้า ที่มีคำว่า ‘ดิจิทัล’ ปรากฏอยู่ 5 ครั้ง จะใช้โอกาสของฝ่ายบริหารที่มีอยู่ วางแนวนโยบายทางด้านดิจิทัล ที่ถูกต้อง และมีความชัดเจนมากกว่านี้

แต่จากสิ่งที่เห็น ในคำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรีวันนี้ “ผมผิดหวัง”

ผิดหวัง ที่ไม่เห็นคำแถลงนโยบายทางด้านดิจิทัล ซึ่งเป็นการวางสถาปัตยกรรมและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างอื่น มากไปกว่า “Digital Wallet” หรือ กระเป๋าเงินดิจิทัล ซึ่งเป็นนโยบายของพรรคเพื่อไทย พรรคเดียว

ผิดหวัง ที่ไม่เห็นคำแถลงนโยบาย “Cloud First Policy” หรือ ‘นโยบายการเลือกใช้คลาวด์ก่อน’ ประกอบคำแถลงนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดการด้านความปลอดภัยไซเบอร์ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งบประมาณภาครัฐ ในด้านดิจิทัลเลย

ไม่เห็นคำว่า “Open Contracting Policy” หรือการเปิดเผย การใช้งบประมาณจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตลอดทั้งกระบวนการ ในคำแถลงนโยบายด้านความโปร่งใส และการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันเลย

ไม่เห็นคำว่า ‘Data Economy’ หรือ ‘เศรษฐกิจข้อมูล’ ประกอบคำแถลงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ หรือเศรษฐกิจแห่งอนาคตเลย

🔥ในคำแถลงนโยบายวันนี้ มีแต่ ‘คำสัญญา’ แต่ขาด ‘คำสำคัญ’ 🔥

ที่เป็นแบบนี้ เพราะ ‘รัฐบาลผสมพันธุ์ข้ามขั้ว’ ทำให้ ‘รัฐไม่เคยเปลี่ยนแปลง’ ใช่หรือไม่? เพราะเป็นรัฐบาล ที่มีการแบ่งเค้ก แบ่งกระทรวง ตามผลประโยชน์ของพรรคการเมือง มากกว่าความเชี่ยวชาญของ ‘ตัวรัฐมนตรี’ ใช่หรือไหม?

ภายใต้รัฐบาลผสมพันธุ์ข้ามขั้ว เศรษฐา ทวีสิน จะมี ‘อำนาจนำ’ จริงหรือ?
- อำนาจนำในการ ‘สั่งห้าม’ ไม่ให้ทุกกระทรวง ตั้งงบประมาณจัดซื้อจัดจ้างซอฟต์แวร์ หรือโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลที่ซ้ำซ้อน
- อำนาจนำในการ ‘สั่งทำ’ ให้ทุกกระทรวง ต้องเชื่อมระบบ เชื่อมข้อมูลเข้ามาที่แอปเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชน
- อำนาจนำในการ ‘สั่งแก้’ งบอุดหนุนเฉพาะกิจ ให้เปลี่ยนเป็นโครงการในการทำ Digital Transformation เพื่อนำเทคโนโลยี IoT เข้าไปแก้ไขปัญหาเมือง ให้กับท้องถิ่น
- ภายใต้รัฐบาลแบบนี้ ท่านจะทำได้หรือ?

การแถลงนโยบายของรัฐบาล เป็นคำมั่นสัญญาว่าใน 4 ปีต่อจากนี้ รัฐบาลมี ‘ข้อผูกมัด’ อะไรต่อรัฐสภาบ้าง ตนเชื่อว่า ‘คำสำคัญ’ และชุดนโยบายทั้ง 3 กลุ่ม ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ถ้านายกฯ มี ‘อำนาจนำ’ จริง จะสามารถดำเนินการได้ภายใน 4 ปี
.
.
[ กลุ่มนโยบายที่หนึ่ง: วางโครงสร้างพื้นฐานด้านคลื่นความถี่ ]

เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเมืองในอนาคต อย่าง LoRaWAN หรือ NB-IoT โครงข่ายโทรคมนาคม ที่ใช้รองรับอุปกรณ์ IoT อย่าง Smart Sensor ที่กินพลังงานต่ำเป็นจำนวนมาก นอกเหนือจากสัญญาณ 5G

มีตัวอย่างดี ๆ ในต่างประเทศมากมาย ที่นำเอาเทคโนโลยี IoT มาใช้ในการจัดการปัญหาเมือง แต่สำหรับประเทศไทย ตัวอย่างที่ผมมีส่วนร่วม ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง คือระบบการผลิตน้ำประปาสะอาด ที่เทศบาลตำบลอาจสามารถ

ภายใต้พื้นที่ 7 ตร.กม. มีจำนวนประชากรราว 4,000 กว่าคน มีจำนวนผู้ใช้น้ำราว 1,400 มิเตอร์ วันนี้กระบวนการทั้งหมด ในการผลิตน้ำประปาสะอาด เป็นระบบอัตโนมัติทั้งหมด และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาทั้งหมด ‘หลายพันตัว’ นี้ สื่อสารกันผ่านเครือข่าย LoRaWAN

นี่เป็นตัวอย่างเพียงแค่เทศบาลเดียว ที่ใช้เงินลงทุนราว ๆ 10 ล้านบาท
ถ้าเราติดตั้งระบบแบบนี้ ให้กับทั้งประเทศ ถ้าเรานำเอาเครือข่าย LoRaWAN หรือ NB-IoT นี้ไปใช้ในการแก้โจทย์อื่น ๆ ที่เป็นปัญหาเมือง รัฐจะดึงดูดเม็ดเงินลงทุน ในอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ได้อีกขนาดไหน

นโยบายการวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญแบบนี้ เกี่ยวพันกับหลายกระทรวง ไม่ว่าจะเป็น
- การใช้งบประมาณ ผ่านเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ที่อยู่กับกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นโควตาของพรรคภูมิใจไทย
- การทำเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) ที่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานและอุปกรณ์ IoT ซึ่งเป็นภารกิจของกระทรวงเกษตร เป็นโควตาของพรรคพลังประชารัฐ
- การสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อผลิตอุปกรณ์ IoT ใช้ในประเทศ เป็นภารกิจของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นโควตาของพรรครวมไทยสร้างชาติ
- หรือ การจัดสรรคลื่นความถี่ และการวางโครงสร้างพื้นฐานทางด้านดิจิทัลอื่น ๆ ซึ่งเป็นภารกิจของ กสทช. และกระทรวงดิจิทัล ซึ่งเป็นโควตาของพรรคเพื่อไทย

การดำเนินนโยบายเช่นว่านี้ จะสามารถดำเนินการได้ ภายใต้รัฐบาลผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ที่นายกฯ ขาดอำนาจนำทางการเมืองหรือไม่

[ กลุ่มนโยบายที่สอง: วางสถาปัตยกรรม และแนวนโยบายด้านดิจิทัลที่ถูกต้อง ]

ก่อนหน้านี้ ประเทศไทยทำผิดมาแล้ว 9 ปีประยุทธ์ยังทำผิดอยู่ และรัฐบาลเศรษฐา 1 ทำท่าว่าจะทำผิดต่อไป นั่นก็คือ แนวนโยบายต่อไปนี้
(1) ด้านคลาวด์ภาครัฐ และความปลอดภัยไซเบอร์ - ที่มีคำสำคัญคือ ‘Cloud First Policy’
(2) ด้านรัฐโปร่งใส และการปราบปรามการทุจริตคอรัปชัน - ที่มีคำสำคัญคือ ‘Open Contracting Policy’
(3) ด้านคุณภาพซอฟต์แวร์ และ การเปิดเผย Source Code - ที่มีคำสำคัญคือ ‘Public Money Public Code’

ประเทศไทยในวันนี้ เวลาหน่วยงานภาครัฐ ต้องการทำแอปอะไรขึ้นมาสักหนึ่งแอป เขาจะไปจ้างผู้รับเหมา มาพัฒนาแอปให้แบบ Turnkey หรือการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ จ่ายเงินแล้ว ได้แอปพร้อมใช้ เปรียบได้กับเวลาที่หน่วยงานนั้น ต้องการสร้างอาคารสำนักงาน ก็จะไปจ้างผู้รับเหมา มาสร้างอาคารให้แบบ Turnkey เช่นเดียวกัน นี่เป็นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแบบปกติ เป็นกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน

ปัญหาอยู่ที่ทุกวันนี้ นอกจากจ้างผู้รับเหมามาสร้างแอปให้แล้ว ในหลาย ๆ ครั้ง หน่วยงานภาครัฐ ยังจ้างให้เขาดูแลรักษาความปลอดภัยแอปให้ด้วย เปรียบเสมือนการจ้างคนสร้างตึก มาเป็นยามเฝ้าตึกให้ด้วย
แล้วถ้าวันดีคืนดี ยามเฝ้าตึก แอบขโมยของที่เก็บรักษาอยู่ภายในตึกไปขาย ก็เท่ากับมีข้อมูลประชาชน หลุดออกไปสู่มือผู้ไม่หวังดีใช่หรือไม่?

จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมภาครัฐควรหันมาใช้ Cloud เหมือนไปเช่าตึกอยู่ และเอาทุกแอป มากองอยู่ในตึกเดียวกัน เพื่อให้รัฐบาล สามารถควบคุมดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับทุกแอป แบบหมดจด เบ็ดเสร็จ เป็นมาตรฐานเดียวกัน
.
แล้วอะไร คือ แนวนโยบายที่ถูกต้อง? สำหรับตน คือ ‘คำสำคัญ’ ต่อไปนี้
.
หนึ่ง ‘Cloud First Policy’ หรือ ‘นโยบายการเลือกใช้ Cloud ก่อน’ ซึ่งมีตัวอย่างของประเทศที่ดำเนินการ และประสบความสำเร็จแล้วหลายประเทศทั่วโลก
.
ประเทศอังกฤษ ภายหลังจากการทำ ‘Data Classification’ หรือ ‘การจำแนกชั้นความปลอดภัยข้อมูล’ พบว่า 90% ของข้อมูลที่ภาครัฐถืออยู่ สามารถขึ้น Public Cloud ได้ทั้งหมด ส่วนสหรัฐอเมริกา ตัวเลขอยู่ที่ 88% ส่วนประเทศไทย ยังติดลูปอยู่กับคำว่า ‘ข้อมูลภาครัฐ’ ขึ้น Cloud ไม่ได้ อยู่เลย
.
สอง ‘Open Contracting Policy’ หรือ การเปิดเผยข้อมูลการใช้งบประมาณ ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตลอดทั้งกระบวนการ ในรูปแบบสากล ที่ธนาคารโลกรับรอง
.
ขณะนี้ มีมากกว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศกลุ่ม G7 G20 ที่นำเอามาตรฐานสากลที่มีชื่อว่า OCDS หรือ Open Contracting Data Standard มาตรฐาน ที่ใช้ในการเปิดเผยข้อมูลการใช้งบประมาณ ตลอดทั้งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไปบังคับใช้แล้ว
.
ผลลัพธ์เช่น ยูเครน ประหยัดงบประมาณลงได้ 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากใช้ OCDS ช่วยให้ภาคประชาสังคมช่วยตรวจสอบ และระบุความผิดปกติของการประกวดราคาได้ 33,348 ครั้ง ช่วยลดการผูกขาดการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐไปได้ 45%
.
อังกฤษ ออสเตรเลีย รวมถึงเพื่อนบ้านในทวีปเอเชียด้วยกัน อย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไต้หวัน รัฐบาลเหล่านี้ได้ประกาศแนวนโยบายในการบังคับใช้ OCDS กันหมดแล้ว
.
นี่คือ ‘คำสำคัญ’ ไม่ใช่แค่ ‘คำสัญญา’ ว่ารัฐบาลจะบริหารประเทศด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตามคำแถลงในหน้าสุดท้ายของ นายเศรษฐา ทวีสิน
.
สาม ‘Public Money Public Code’ หรือ ‘เงินประชาชน โค้ดประชาชน’
.
ในปี 2016 หรือ 7 ปีที่แล้ว โอบามา - ประกาศนโยบาย ‘The People’s Code’ หรือ ‘โค้ดประชาชน’ บังคับให้ทุกหน่วยงานของสหรัฐ ต้องเปิดเผย Source Code ของหน่วยงานตัวเอง ขึ้น GitHub ของรัฐบาลสหรัฐ ไม่ต่ำกว่า 20% ของจำนวนซอฟต์แวร์ทั้งหมด ที่หน่วยงานนั้นจ้างเหมาพัฒนาขึ้นใช้เอง
.
ในประเทศอินเดีย - มีการประเมินว่า Open Source จะช่วยให้เกิดการ Reuse หรือ การนำซอฟต์แวร์กลับมาใช้ซ้ำ ไม่ต้องจ้างผลิตซ้ำ ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณลงได้ถึง 34,000 ล้านบาท
.
เว็บไซต์ GitHub.com รวบรวม Source Code ของหน่วยงานภาครัฐในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งเปิดเผยเป็น Open Source ตามนโยบาย ‘เงินประชาชน โค้ดประชาชน’ จะเห็นว่ามีกว่า 70 ประเทศ และกว่า 1,500 หน่วยงาน ที่เปิดเผย Source Code เป็น Open Source หมดแล้ว ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ก็มี แต่ ‘ไทย’ กลับไม่มี
.
นโยบายนี้ นอกจากจะช่วยในการประหยัดงบประมาณแล้ว ยังทำให้ประชาชน ภาคเอกชน สามารถนำซอฟต์แวร์ ที่ภาครัฐเป็นผู้พัฒนาจากเงินภาษีประชาชน ไปต่อยอดในระบบเศรษฐกิจได้ และทำให้ตัวซอฟต์แวร์ มีมาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากขึ้น
.
.
[ กลุ่มนโยบายที่สาม: วางรากฐานให้กับ ‘เศรษฐกิจแห่งอนาคต’ ]
.
‘คำสำคัญ’ ของกลุ่มนโยบายนี้ คือ (1) ‘Digital ID’ หรือ ‘บัตรประชาชนดิจิทัล’ เป็นโครงสร้างพื้นฐาน ที่ใช้เป็นสิ่งยืนยันตัวตนของเราในโลกออนไลน์ ในฐานะประชาชน ในฐานะผู้ใช้บริการภาครัฐ เป็น ‘คำสำคัญ’ ของเศรษฐกิจแห่งอนาคต ที่รัฐบาล ไม่พูด ไม่ได้
.
ในสิงคโปร์ มี ‘Digital ID’ ที่ชื่อว่า SingPass ทันทีที่ล็อกอิน ผ่านกระบวนการที่มีความปลอดภัย เพื่อยืนยันว่าผมเป็นชาวสิงคโปร์จริง ผมจะสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐได้กว่า 2,000 บริการ ไม่ว่าจะเป็นการเสียภาษี การจ่ายค่าปรับ การเซ็นเอกสาร เพื่อยืนยันธุรกรรมออนไลน์
.
อีกหนึ่งตัวอย่างคืออังกฤษ กว่า 7,000 บริการภาครัฐ ที่เคยถูกโฮสต์อยู่บนกว่า 2,000 เว็บไซต์ของรัฐบาล ที่กระจัดกระจาย ใช้เวลาเพียงแค่ 3-4 ปี ในสมัยรัฐบาลเดียว ในการยุบลงมาเหลือเพียงแค่เว็บเว็บเดียว นั่นคือ GOV.UK ทำให้ประชาชนชาวอังกฤษ อยากติดต่อธุรกรรมอะไรกับภาครัฐ เข้าไปที่เว็บไซต์นี้เว็บไซต์เดียว ล็อกอินด้วย ‘บัตรประชาชนดิจิทัล’ เข้าถึงบริการภาครัฐกว่า 7,000 บริการได้ทั้งหมด
.
การที่ประเทศไทย จะทำแบบสิงคโปร์หรืออังกฤษได้ ‘คำสำคัญ’ หนึ่งที่จำเป็นคือ ‘อำนาจนำ’ ของผู้เป็นนายกฯ
.
จาก 300-400 แอป ที่ 20 กระทรวงของไทย ต่างคนต่างทำ ทุกวันนี้ ก็มีคำของบประมาณ เป็นค่า MA หรือ ค่าบำรุงรักษาแอป ของผู้รับเหมาเจ้าของแอป ขอเข้ามาอยู่ทุกปี ๆ คำถามคือ นายกฯ เศรษฐา จะกล้าสั่งทุบโต๊ะ สั่งให้ทุกกระทรวง โยนงบประมาณทิ้ง ยกเลิกแอปเหล่านั้น แล้วเชื่อม API เข้าสู่แอปเดียว จบในที่เดียว ภายใน 3-4 ปี แบบ GOV.UK ได้หรือ?
.
คำสำคัญที่ (2) ‘Data Economy’ หรือ ‘เศรษฐกิจข้อมูล’ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลในเชิงเศรษฐกิจ และสังคม
.
จากผลการศึกษาของ Global Partnerships for Sustainable Development Data หน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับ UN ในส่วนของการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สรุปว่าการลงทุน 1 บาท ใน ‘Data Ecosystems’ หรือ ในระบบนิเวศน์ข้อมูล จะช่วยให้ได้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม เท่ากับ 32 บาทโดยเฉลี่ย
.
ตัวอย่างการใช้ประโยชน์ข้อมูลในอีกหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านสุขภาพ หรือที่เรียกว่า ‘Digital Health’ ผ่านการทำ HIE: Health Information Exchange เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพระหว่างโรงพยาบาล ที่ช่วยให้ไต้หวัน สามารถลดการจ่ายยาซ้ำซ้อนไปได้ 9 พันล้านบาท
.
.
[ ไม่อยากเห็น รมว.ดิจิทัล ถูกส่งมาคุมดาวเทียม-คลื่นความถี่ ]
.
ตนเชื่อว่าวันนี้ ได้อภิปรายเพื่อแสดงให้เห็นแล้ว ว่าประเทศไทยยังมีโอกาส ที่รัฐบาลจะนำเอาข้อเสนอเชิงนโยบายเหล่านี้ ซึ่งไม่ได้เป็น ‘ภารกิจ’ ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่ง แต่เป็น ‘พันธกิจ’ หรือ ‘เป้าหมายร่วม’ ที่ทุกกระทรวง ต้องรับไปดำเนินการร่วมกัน เพื่อวางสถาปัตยกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นอนาคตให้กับประเทศ นำเครื่องไม้เครื่องมือเหล่านี้ ไปผนวกเข้ากับการดำเนินนโยบายของทุกกระทรวง
.
“สิ่งที่ผมไม่อยากเห็น คือการแบ่งเก้าอี้ แบ่งเค้ก แบ่งกระทรวง ภาพของนายกรัฐมนตรีที่ขาดอำนาจนำ การดำเนินนโยบายต่างคนต่างทำ เครื่องไม้เครื่องมือทางด้านดิจิทัลกระจัดกระจาย ภาพที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล มานั่งคุมกระทรวง เพราะถูกส่งมาคุมดาวเทียม หรือคลื่นความถี่” ณัฐพงษ์กล่าว
.
จึงได้แต่หวังว่า คณะรัฐมนตรีจะรับนโยบายที่ผมได้นำเสนอในวันนี้ ไปปรับใช้ รวมถึงให้คำมั่นสัญญา เป็นบันทึกในที่ประชุมว่าท่านจะให้ความสำคัญ และหยิบเอา ‘คำสำคัญ’ ที่ผมได้เสนอไว้ ไปดำเนินการใน 4 ปีข้างหน้า

 


.
#ก้าวไกล #กระทรวงดิจิทัล #ประชุมสภา #แถลงนโยบาย

เนื้อหาโดย: Wut15
อ้างอิง:พรรคก้าวไกล
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Wut15's profile


โพสท์โดย: Wut15
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: Inthira
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท โอนซ้ำ 3 รอบ แจกรอบแรก ต.ค. นี้บ.ขายตรง ยกเลิกงาน BOOM ON TOUR
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ผู้เข้าประกวด Miss Grand 2024 ปลื้มไทยแลนด์ ดินแดนแห่งความอบอุ่นโยกหมดแล้ว! งัดเซฟ “แม่ตั๊ก-ป๋าเบียร์” 1 ชั่วโมง นาฬิกา 12 เรือน หายเกลี้ยงไทยโชว์เหนือ จัดงานมิสแกรนด์อินเตอร์ฯ เป๊ะปัง ในเวลาแค่วันเดียว หลังเจ้าภาพเดิมพังไม่เป็นท่ามิสแกรนด์กัมพูชาประกาศลั่น! จะไม่ให้เกิดการจัดประกวด MGI ในกัมพูชาอีก หลังดราม่าหนัก!
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
อัพเดทเงินดิจิทัล 10,000 บาทล่าสุด! คนทั่วไปเฟส 2 ตรวจสอบสถานะได้แล้ววันนี้เกาหลีเหนือสั่งประหารโสเภณี ผู้นำรู้สึกสงสารสั่งอภัยโทษทันทีพายุเฮอริถล่ม เจ้าหน้าที่ฟลอริดาขอให้ทุกคน เขียนประวัติบนร่างกายพายุเฮอริเคนถล่มมะกัน นายกเทศมนตรีเตือน "ไม่อพยพ ตายแน่"
ตั้งกระทู้ใหม่