ทันตแพทย์สภาออกมาไขข้อข้องใจทำไมลุงถอนฟัน 12 ซี่ ก่อนเสียชีวิต
จากกรณีการเสียชีวิตของคุณลุงวัย 64 ปี จากการถอนฟันครั้งเดียว 12 ซี่ ซึ่งทางทันตแพทย์ได้ชี้แจงว่า เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อ
ในกระแสเลือดที่เป็นไปได้ว่ามีแหล่งของเชื้อมาจากฟันผุและฟันที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบจำนวนหลายซี่ ดังนั้นทันตแพทย์จึงได้ถอน
เพื่อกำจัดฟันที่เป็นแหล่งกำเนิดของเชื้อโรคออก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาศัลยศาสตร์ช่องปาดแลเมกซิลโลเฟเชียล
ราชวิทยาลัยทันตแพทย์แห่งประเทศไทยจึงได้เตรียมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่ตอบต่อข้อสงสัยของประชาชนที่ถามกันมาผ่านโซเชียลมีเดีย
ดังนี้
1. การถอนฟัน 12 ซี่ มากไปไหม ?
ในกรณีของคุณลุงท่านนี้มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องดำเนินการถอนอย่างเร่งด่วน เพราะมีการติดเชื้อจากฟันหรือมีโอกาสลุกลามไปยัง
บริเวณเนื้อเยื้อรอบข้างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดการกดการหายใจ การติดเชื้อในกระแสเลือด ฯลฯ จึงทำให้ต้องมีการถอนฟันจำนวนหลายซี่
ภายในระยะเวลาที่จำกัด โดยการถอนฟันเช่นนี้สามารถทำได้ในผู้ป่วยที่มีร่างกายแข็งแรง ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัวจะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ควรรับการถอนฟันจากโรงพยาบาลเท่านั้น หรือจำเป็นต้องได้รับการนอนโรงพยาบาลเพื่อดูแลหลังการถอนฟันอย่างใกล้ชิด
2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวไหม สามารถถอนฟันได้ไหม ?
ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรได้รับการควบคุมอยู่เป็นประจำ สามารถถอนฟันได้ตามปกติ โดยทันตแพทย์จะประเมินผลตรวจเลือด
ต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคประจำตัว ก่อนการถอนฟัน หรืออาจจะส่งไปพบแพทย์โรคประจำตัวก่อนการถอนฟัน
3. ถอนฟันแล้ว ทำให่้น้ำท่วมปอดได้อย่างไร ?
ในกรณีการถอนฟันนั้น ไม่เกี่ยวกับภาวะน้ำท่วมปอด ภาวะน้ำท่วมปอดนั้น เกิดจากการที่ผู้ถอนฟันมีโรคประจำตัว โดยเฉพาะ
โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น
4. สาเหตุที่ต้องถอนและการดูแลหลังถอน ?
สาเหตุการถอนจะมาจากฟันผุลุกลาม และ โรคเหงือก ที่มีการทำลายของอวัยวะปริทันต์และกระดูกรอบข้างจนไม่สามารถที่จะเก็บ
ฟันไว้ได้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่การติดเชื้อ ส่วนการดูแลแผลหลังถอนฟันปกติแพทย์จะให้ผู้ป่วยกัดผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด แต่กรณีผู้ป่วยที่ไม่
สามารถกัดผ้าก๊อซได้ เนื่องจากมีเลือดมากเกินไป ทางแพทย์จะใช้สารห้ามเลือดเพื่อให้เลือดหยุด
5. การสื่อสารกับญาติผู้ป่วยเรื่องการรักษา ?
ทันตแพทย์จะอธิบายการรักษากับผู้ป่วยโดยตรง ในกรณีที่ผู้ป่วยมีสติสัมปชัญญะปกติดี ไม่อยู่ในภาวะมึนเมาและภาวะจิตประสาท
ในกรณีที่ผู้ป่วยยังเป็นเด็ก จะต้องสื่อสารกับทางญาติของผู้ป่วย ยกเว้นแต่มีกรณีฉุกเฉิน จำเป็นจะต้องรีบทำโดยเร่งด่วน เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย
เช่นการติดเชื้อ หรือมีโอกาสติดเชื้อรุนแรงจากฟัน เป็นต้น