26 ธันวาคม วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ สมัน กูปรี ให้บทเรียนอะไรกับคนรุ่นหลังทั้งๆที่สูญพันธุ์ไปแล้ว
ในโลกที่สังคมนั้นเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด การพัฒนาสังคมเมืองกระจายพื้นที่ขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าต่างๆ ส่งผลให้จำนวนของสัตว์ป่านั้นลดลงเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ่มครองสัตว์ป่า 2503 ซึ่งจะตรงกับวันที่ 26 ธันวาคม ของทุกๆที
รัฐบาลที่ดำรงตำแหน่งในขณะนั้นได้ตรากฎหมายว่า ด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าขึ้น คือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 โดยมีสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงลงนามในพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อาวุธทันสมัยที่ใช้ในสงคราม ได้ถูกเปลี่ยนมาเป็นอาวุธของคนที่ชอบการล่าสัตว์ป่า ขณะที่การพัฒนาประเทศและการเพิ่มจำนวนประชากร ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่ามากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ จึงทำให้จำนวนของสัตว์ป่าลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึงขั้นที่สัตว์ป่าบางชนิด กูปรี สมัน ต้องสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยอย่างน่าเสียดาย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2503 ขึ้น เนื่องจากมาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ในกฎหมายดังกล่าวไม่สามารถสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประกอบกับได้มีการตกลงระหว่างประเทศในการที่จะร่วมมือกันเพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าของท้องถิ่น หรืออนุสัญญาไซเตส (CITES) จึงมีการปรับปรุงให้มาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ
นายยุทธพล อังกินันท์ รองหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้โพสFacebook เล่าถึง ความเป็นมาของวัน คุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ทำให้สะท้อนจิตสำนึกอันเป็นส่วนรวมแล้วว่า หากเราได้ทำความเข้าใจถึงที่มาที่ไปของวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติแล้ว ก็ขอให้ร่วมใจกันรักษาสัตว์ป่าของไทยให้อยู่ตราบนานเท่านานเพื่อให้วันข้างหน้า ลูกหลานเราในอนาคตนั้นภูมิใจกับสิ่งที่พวกเรารักษาสัตว์ป่าไว้




















