ฝนถล่มภูเขาน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ เป็นครั้งแรก
ฝนถล่มภูเขาน้ำแข็งที่กรีนแลนด์ ฝั่งขั้วโลกเหนือ ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 4 กิโลเมตร ได้เกิดฝนตกกลางฤดูร้อน และ เป็นครั้งแรกนับจากปี 1989 ที่บนยอดเขามีฝนเจิ่งนอง แทนที่จะเป็นหิมะปกคลุม...
ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ กล่าวว่า "ฝนตกหนักที่สุดบนแผ่นน้ำแข็ง นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติตั้งแต่ปี 1950 ฝนที่กระหน่ำลงมาทำให้น้ำแข็งมหาศาลละลาย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 15 ส.ค. 2021 ซึ่งมากกว่าปริมาณปกติในช่วงเวลานี้ของปี ถึง 7 เท่าด้วยกัน!! โดยเริ่มตกจากทางตะวันออกเฉียงใต้ ของชายหาดกรีนแลนด์จนถึงซัมมิตสเตชัน..."
นักวิทยาศาสตร์อาวุโส "เท็ด สแกมโบส" จากศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติ กล่าวว่า "ปรากฎการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่ากรีนแลนด์อบอุ่นขึ้นอย่างรวดเร็ว อากาศอบอุ่นขึ้นผิดปกติใน 10-20 ปี เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน!!"
เจ้าหน้าที่โครงการสำนักงานโครงการขั้วโลก "เจนนิเฟอร์ เมอร์เซอร์" กล่าวว่า "เหตุการณ์ฝนตกหนักเป็นประวัติการณ์ ทำให้การปฏิบัติการที่ซัมมิตสเตชัน ต้องเปลี่ยนแปลง" ซึ่งหมายความว่า "เราจะต้องเฝ้าติดตามสภาพอากาศ ที่ไม่เคยรับมือมาก่อน!!"
"เจนนิเฟอร์ เมอร์เซอร์" กล่าวอีกว่า "เมื่อ 2 ปีก่อน หมีขั้วโลกตัวหนึ่งไปถึงยอดเขา ซึ่งเป็นสิ่งผิดปกติ เพราะหมีอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่ง ซึ่งหาอาหารกินได้ง่าย หมีต้องเดินทางหลายร้อยกิโลเมตร ผ่านดินแดนในประเทศข้ามแผ่นน้ำแข็งและเมื่อ 5 ปีที่แล้ว มีผู้พบเห็นหมีขั้วโลก 3 ตัว อยู่บนยอดแผ่นน้ำแข็ง ของกรีนแลนด์เช่นกัน"
"เท็ด สแกมโบส" กล่าวว่า "ฝนที่ตกยาวนาน ส่งผลต่อคุณสมบัติของหิมะ เพราะทำให้ชั้นผิวหิมะด้านล่าง ดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์มากขึ้น จนกระทั่งหิมะหลอมละลาย ดังนั้นชั้นผิวที่มีหิมะปกคลุมจะกั้น ไม่ให้น้ำแข็งละลาย และ เมื่อน้ำท่วมผิวแผ่นน้ำแข็ง ก็จะทำให้น้ำไหลบ่า จากระดับพื้นที่ที่สูงกว่า"
"เจนนิเฟอร์ เมอร์เซอร์" กล่าวอีกว่า "ชั้นน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้น ส่งผลทำให้ฝนตก..."
ที่มา: https://www.theguardian.com/world/2021/aug/20/rain-falls-peak-greenland-ice-cap-first-time-on-record-climate-crisis